ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ความหมายของสภาพการจ้างนั้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 หมายความว่า เงื่อนไขการจ้าง หรือการทำงาน การกำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการทำงาน นิยามดังกล่าวนี้มีความหมายที่กว้างขวางมาก เสมือนกับว่าอะไรที่เกี่ยวกับการทำงานแล้วล้วนแต่เป็นสภาพการจ้างทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าข้อตกลงที่ให้นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างส่งสหภาพแรงงานเป็นคำบำรุงสหภาพแรงงานและค่าฌาปนกิจสงเคราะห์เป็นข้อตกลงอย่างอื่นที่ไม่ใช่สภาพการจ้าง [คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680//2532]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2532 |
|
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพโจทก์ที่ยินยอมให้หัก แล้วส่งให้ประธานหรือเหรัญญิกของโจทก์เพื่อเป็นค่าบำรุง ค่าฌาปนกิจ ดังนี้ เป็นข้อตกลงอย่างอื่น มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ในบังคับพ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม
โจทก์ฟ้องว่า
จำเลยได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับโจทก์โดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับการหักค่าจ้างจากสมาชิกสหภาพแรงงานยางไฟร์สโตน (ประเทศไทย) ในแต่ละเดือนเพื่อเป็นค่าบำรุงและค่าฌาปนกิจ ตามรายชื่อและลายมือชื่อยินยอมจากพนักงานของจำเลยที่เป็นสมาชิกแต่ละคนไม่เกินคนละ 75 บาท มอบให้แก่ประธานหรือเหรัญญิกของสหภาพโจทก์เดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับ 1 ปี
ต่อมาระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยได้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โดยจำเลยแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงโดยมิชอบ จำเลยได้ออกประกาศจำเลยจะไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยอีกต่อไป แต่จะให้สมาชิกสหภาพซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยชำระค่าสมาชิกให้กับสหภาพโจทก์โดยตรง และหลังจากนั้นเป็นต้นมา จำเลยไม่ยอมหักค่าจ้างจากสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยทำให้โจทก์และสมาชิก สหภาพซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์
โจทก์ได้ร้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนประกาศของจำเลยที่ 4/2532 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 และให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 4 มีนาคม 2530 ข้อ 3.6 โดยหักค่าจ้างของสมาชิกแต่ละเดือนเพื่อเป็นค่าบำรุงและค่าฌาปนกิจให้แก่ สหภาพโจทก์ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวตั้งแต่เดือนมีนาคม 2532 เป็นต้นไปทุกเดือนส่งมอบให้แก่โจทก์
จำเลยให้การว่า
บันทึกข้อตกลงนั้น ไม่ใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเพราะไม่เป็นไปตามคำจำกัดความของคำว่าสภาพการจ้างและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงนำพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาใช้บังคับไม่ได้ ความผูกพันตามข้อตกลงจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในลักษณะ นิติกรรมสัญญาทั่ว ๆ ไปและตามบันทึกข้อตกลง ระยะเวลาที่ใช้บังคับก็สิ้นสุดลงไปแล้ว กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่จะนำมาตรา 12 มาใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี ข้อตกลงดังกล่าวได้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาสิ้นสุดไว้แน่นอน เมื่อครบกำหนดย่อมสิ้นสุดทันทีโดยไม่ต้องแจ้งหรือบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยไม่มีหน้าที่หรือข้อผูกพันที่จะต้องหักค่าจ้างจากสมาชิกสหภาพในแต่ละเดือนดังกล่าวได้
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 บัญญัติไว้ว่า ในการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด นายจ้างจะนำหนี้อื่นมาหักมิได้ คำว่าหนี้อื่นนั้น ศาลฎีกาได้พิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานว่า หมายถึงหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง และหนี้ตามข้อตกลงข้อ 3.6 นั้นเป็นหนี้ค่าบำรุงสหภาพแรงงานและค่าฌาปนกิจซึ่งเป็นหนี้ระหว่างสหภาพแรงงานกับสมาชิก ไม่ใช่เป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้าง จึงเป็นหนี้อื่น ห้ามมิให้นำมาหักจากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ผู้ฝ่าฝืนมีโทษตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 8 ดังนั้นแม้ลูกจ้างจะตกลงยินยอมให้นำหนี้อื่นมาหักจากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 30 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "โจทก์อุทธรณ์ว่า บันทึกข้อตกลงข้อ 3.6 ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งได้เสนอและเจรจาตกลงกันโดยชอบกับได้จดทะเบียนต่อกรมแรงงาน ทั้งสมาชิกของสหภาพโจทก์ก็ยินยอมเห็นชอบและยินยอมให้หักค่าจ้างตามข้อตกลง นี้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 5 และมาตรา 12 จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องปฏิบัติตาม
พิเคราะห์แล้ว ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "สภาพการจ้าง" หมายความว่าเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้างสวัสดิการ การเลิกจ้างหรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการทำงาน และคำว่า "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง"หมายความว่าข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือระหว่างนายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
แต่ตามบันทึกข้อตกลงข้อ 3.6 เป็นเรื่องตกลงให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพโจทก์ตามรายชื่อและลายมือชื่อที่ยินยอมให้หักค่าจ้างไม่เกินคนละ 75 บาทต่อเดือน แล้วส่งให้ประธานหรือเหรัญญิกของสหภาพโจทก์เพื่อเป็นค่าบำรุงค่าฌาปนกิจ ซึ่งเป็นข้อตกลงอย่างอื่นไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้างหรือลูกจ้างอัน เกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานแต่อย่างใดบันทึกข้อตกลงข้อ 3.6 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยหักค่าจ้างดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก เมื่อได้วินิจฉัยเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ต่อไป..."
พิพากษายืน
(ศักดา โมกขมรรคกุล - มาโนช เพียรสนอง - นำชัย สุนทรพินิจกิจ )
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...