ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

(ไม่) มีสิทธิใช้ไฟฟ้า ... เพราะว่าอยู่ในที่ดินโดยไม่ชอบ

การมีไฟฟ้าใช้เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่รัฐพึงบริการให้ประชาชนอย่างเสมอภาคและเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่รัฐควรคุ้มครอง แต่การที่ราษฎรบุกรุกที่ดินอันเป็นที่ราชพัสดุและทางราชการผู้ครอบครองที่ราชพัสดุมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในราชการ จะได้รับความคุ้มครองจากสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวหรือไม่

 

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีไฟฟ้าใช้ ผู้ฟ้องคดีซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจึงฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าภายในหมู่บ้าน

 

ข้อเท็จจริงในคดีนี้ คือ ผู้ฟ้องคดีเป็นชาวบ้านของหมู่ที่ 8 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ได้มีหนังสือร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่เนื่องจากไม่มีไฟฟ้าและประปาใช้ หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยมีหนังสือถึงผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองและรักษาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการทหาร ขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขยายเขตปักเสาพาดสายระบบกระแสไฟฟ้าในพื้นที่หมู่ที่ 8

 

แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กองทัพบก) โดยศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ แจ้งว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน และการขยายเขตปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ อาจกระทบต่อการแก้ปัญหาทั้งในปัจจุบันและอนาคต จึงขอให้ชะลอการดาเนินการปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าไว้ก่อน

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงยังมิได้ดำเนินการ แต่ได้ทำการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับหมู่บ้านดังกล่าว

 

ผู้ฟ้องคดีจึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรมธนารักษ์) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กองทัพบก)  อนุญาตให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคติดตั้งไฟฟ้าเพื่อให้ชาวบ้านได้มีไฟฟ้าใช้

 

การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่อนุญาตให้ดำเนินการขยายเขตปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?

 

โดยกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2545 ข้อ 14 วรรคสอง และข้อ 18 วรรคหนึ่ง กำหนดให้กรมธนารักษ์พิจารณาอนุญาตให้ผู้ขอใช้ที่ราชพัสดุใช้ประโยชน์ในทางราชการได้ตามความจำเป็น และผู้ใช้ที่ราชพัสดุ มีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาที่ราชพัสดุนั้น

 

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ที่ดินที่ขอปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าได้ขึ้นทะเบียน เป็นที่ราชพัสดุ จึงเป็นที่ราชพัสดุที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยกรมธนารักษ์มีอำนาจอนุญาตให้กองทัพบกโดยศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ เป็นผู้ครอบครองและรักษาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการทหาร ศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ จึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปกครองดูแลและระวังรักษาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์และภารกิจของราชการทหาร  และมีสิทธิที่จะอนุญาตให้ทำการติดตั้งเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าในเขตพื้นที่

 

เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงของประเทศ และการบุกรุกหรือการขยายแนวเขตปักเสาพาดสายสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าอาจกระทบต่อภารกิจของกองทัพบก และเมื่อพิจารณาขอบเขตของการจัดทำบริการสาธารณะภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ประกอบกับเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินในราชการทหารและความมั่นคงของประเทศ รวมถึงการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินแล้ว เห็นว่า

 

การปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการติดตั้งแบบถาวร จึงย่อมส่งผลกระทบต่อภารกิจของศูนย์การทหารราบในการฝึกกำลังพลและศึกษา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ อีกทั้งได้มีการขยายเขตบริการไฟฟ้าด้วยระบบผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้มีไฟฟ้าใช้เบื้องต้นแล้ว

 

การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่อนุญาตให้ปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่พิพาท จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่มีเหตุผลและอยู่ในกรอบของกฎหมาย จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 813/2556)

 

คดีนี้ถือเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสาหรับประชาชนโดยทั่วไปเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้รัฐคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองและคุ้มครองไว้ว่า แม้รัฐจะมีหน้าที่จัดให้มีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน แต่การใช้สิทธิของประชาชนก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ทั้งการเป็นผู้มีสิทธิโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย และการใช้สิทธินั้นต้องไม่กระทบต่อการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลหรือหน่วยงานอื่น

 

นอกจากนี้ยังเป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจอย่างเหมาะสมของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะว่า จะต้องพิจารณาทั้งในด้านอำนาจหน้าที่ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบกันด้วย

 

 

 

 หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2557



24/Mar/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา