ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
"ศาลรธน." ได้มีคำวินิจฉัย ล้มร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล.ล. พบหลักฐาน "ส.ส.พท." เสียบบัตรแทนกันขัดต่อม. 122 และ 136 ประเด็นที่ 2 ร่างดังกล่าวขัด ม.8 เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกู้เร่งด่วน ทำให้ขัดวินัยการเงิน พรบ.ดังกล่าวมีอันต้องตกไปตาม 154
เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ....(ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน) 2 ประเด็นตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นคำร้อง คือ ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว สรุปผลการวินิจฉัยได้ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่
ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติได้ ว่า นายนริศร ทองธิราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ได้ใช้บัตรแสดงตนและออกเสียงลงคะแนนในระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่น ในการประชุมสภาฯเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2556 พิจารณาร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน
ซึ่งเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญมาตรา122 บัญญัติว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใด และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชน ชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และมาตรา 126 วรรคสาม บัญญัติว่า สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนนแล้วเห็นว่า
การลงคะแนนเสียงแทนกันในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 122 และ มาตรา 126 วรรคสาม ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเสียงข้างมาก เห็นว่า ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
ประเด็นที่สอง ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ หรือไม่
ก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นนี้ มีปัญหาที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยก่อนว่า เงินกู้ตามร่างพ.ร.บ.นี้เป็นเงินแผ่นดินตามความหมายของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ เห็นว่า คำว่า "เงินแผ่นดิน" ไม่ได้มีการกำหนดความหมายไว้โดย รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด แต่เมื่อพิจารณาจากพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 4 ประกอบกับความเห็นของพยานบุคคลซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการเงิน การคลัง และงบประมาณ ตลอดจนบรรดากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า เงินกู้ตามร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน เป็นเงินแผ่นดินตามความหมายของรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยต่อไปมีว่า ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลังและงบประมาณ หรือไม่
พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อเงินกู้ตามร่างพระราชบัญญัตินี้มีลักษณะเป็นเงินแผ่นดิน การใช้จ่ายจึงต้องขึ้นอยู่ในบังคับแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณ หรือ กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณี “จำเป็นเร่งด่วน” รัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมาย บัญญัติและต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติรายจ่ายเพิ่มเติม หรือ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าการดำเนินการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนสงของประเทศตามที่ร่างพ.ร.บ.นี้มุ่งประสงค์ ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
การใช้จ่ายเงินแผ่นดินต้องเป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง เพื่อรักษาเสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และความเป็นธรรมในสังคม ดังนั้นการที่ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน บัญญัติให้เงินกู้ตามร่างพ.ร.บ.นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์โดยไม่ต้องนำส่งคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และบัญญัติให้คณะรัฐมนตรี รายงานการกู้เงิน ผลการดำเนินงาน และการประเมินผลการดำเนินการตามแผนงานในแต่ละยุทธศาสตร์ต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อรับทราบเท่านั้น
ซึ่งแตกต่างจากที่พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณพ.ศ.2502 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินแผ่นดินบัญญัติไว้ ทำให้การควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายเงินดังกล่าวไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและ กฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยกรอบวินัยการเงินการคลังดังที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ ร่างพ.ร.บ.ในส่วนดังกล่าวจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเอกฉันท์ว่าร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลจึงมีคำวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงมีผลให้ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน เป็นอันตกไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคสาม
โดย TnewsOnline เมื่อ 12 มีนาคม 2557
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...