ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
สาระสำคัญ คือ
1. สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการประกันสังคมมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนแรงงานนอกระบบที่สมัครใจเข้าเป็นผู้ประกันตน สามารถเลือกส่งเงินสมทบ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ 2 ทางเลือก จากนโยบายของรัฐบาลที่ประสงค์จะให้ประชาชนแรงงานนอกระบบมีการออม เพื่อเป็นหลักประกันรายได้เมื่อสูงอายุ
ประกอบกับบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดให้มีสิทธิเงินบำเหน็จและบำนาญชราภาพแก่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตนภาคบังคับที่เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการจะเริ่มได้สิทธิ ในเดือนธันวาคม 2556 แต่ผู้ประกันตนซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบได้รับสิทธิเงินบำเหน็จชราภาพตามทางเลือกที่ 2 เพียงกรณีเดียว
2. ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำในระหว่างผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาฯ ให้สิทธิเงินบำนาญชราภาพ ตามความเหมาะสม แก่ผู้ประกันตนซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ และเป็นไปตามข้อเสนอของประชาชนแรงงานนอกระบบ
โดยการปรับปรุงสิทธิประโยชน์เดิม และเพิ่มทางเลือกที่ 3 ในระบบประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งมีหลักการจัดเก็บเงินสมทบจาก 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ประกันตนและรัฐบาลในอัตราเดือนละ 200 บาท (ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท/เดือน และรัฐบาลสมทบ 100 บาท/เดือน) เพื่อให้ได้รับสิทธิเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งจะส่งผลให้มีหลักประกันความมั่นคงในชีวิต
3. กลุ่มเป้าหมาย กำหนดให้ประชาชนทั่วไป เช่น เกษตรกร ผู้ขับรถรับจ้าง ค้าขาย หาบเร่ แผงลอย ฯลฯ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15-60 ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40
และมีบทเฉพาะกาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ หากในวันที่ประชาชนสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ผู้ใดมีอายุเกิน 60 ปี ให้มีสิทธิเป็นผู้ประกันตนได้ และสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 เพื่อเป็นของขวัญให้แก่แรงงาน ซึ่งขาดโอกาสในการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนในช่วงที่ประเทศประสบอุทกภัย สามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้
4. สิทธิประโยชน์ มีการปรับปรุงเป็น 3 ทางเลือก ดังนี้
ทางเลือก 1 จ่าย 100 บาท (สมทบจากผู้ประกันตน 70 บาทและจากรัฐบาล 30 บาท)
- กรณีเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วัน (บริการทางการแพทย์ใช้สิทธิสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
- กรณีทุพพลภาพ เงินทดแทนการขาดรายได้ระหว่างเดือนละ 500 บาท ถึง 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 15 ปี (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาส่งเงินสมทบ)
- กรณีตาย เงินค่าทำศพ 20,000 บาท (กรณีถึงแก่ความตายจ่ายเงินสมทบเพียง 1 เดือน)
ทางเลือก 2 จ่าย 150 บาท (สมทบจากผู้ประกันตน 100 บาท และจากรัฐบาล 50 บาท)
- ประโยชน์เช่นเดียวทางเลือกที่ 1 และเพิ่มเงินบำเหน็จกรณีชราภาพ
- จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ ประกอบด้วยเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่าย และผลประโยชน์ตอบแทนรายปี คืนให้แก่ผู้ประกันตน เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน
ทางเลือก 3 จ่าย 200 บาท (สมทบจากผู้ประกันตน 100 บาทและจากรัฐบาล 100 บาท) ให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีชราภาพเท่านั้น
- ผู้สมัครต้องมีอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ (มีบทเฉพาะกาลในปีแรก ผู้อายุเกิน 60 ปี ขึ้นไป มีสิทธิสมัครและจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้)
- ประโยชน์ทดแทน 1 กรณี คือ กรณีชราภาพ โดยผู้ประกันตนจะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
ทั้งนี้ เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีทางเลือก ได้แก่ เลือกชุดที่ 1 หรือ ชุดที่ 2 หรือ ชุดที่ 3 อย่างใดอย่างหนึ่ง เลือกชุดที่ 1 และ 3 หรือเลือกชุดที่ 2 และ 3
อ่านพระราชกฤษฎีกาทั้งฉบับได้ ที่นี่ ครับ
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...