ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
30 เม.ย.2557 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานที่ปรึกษา ศอ.รส. กล่าวภายหลังการหารือระหว่างรัฐบาลกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ว่า รัฐบาลรับ 5 ข้อเสนอของ กกต. ในการจัดการเลือกตั้งทั่วไป โดยเฉพาะข้อเสนอด้านความมั่นคง ซึ่งทาง ศอ.รส. ยืนยันที่จะดูแลความสงบเรียบร้อยในช่วงการเลือกตั้ง โดยประสานกับกระทรวงมหาดไทยและทหาร ซึ่งมั่นใจว่า ผู้ขัดขวางการเลือกตั้งจะลดลง เพราะได้มีการดำเนินคดีไปแล้ว ทั้งยังเชื่อมั่นว่า ทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ขณะที่ นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ โดยรัฐบาลยินดีที่จะให้การสนับสนุนในเรื่องที่ กกต. ร้องขอ เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งผ่านไปอย่างเรียบร้อย
ทั้งนี้ พลตำรวจเอก วรพงศ์ ชิวปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตำรวจ พร้อมดูแลให้เกิดการเลือกตั้ง และเชื่อทุกส่วนจะช่วยกันทำความเข้าใจให้การเลือกตั้งผ่านไปได้ โดยจะนำเอาบทเรียนจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วมาศึกษา ทั้งนี้ยังไม่มีการลดกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ตามที่เคยมีข้อเสนอ และจะเร่งทำแผนการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเต็มที่
กกต. เตรียมเสนอ รัฐบาล 5 เงื่อนไข
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. เตรียมเสนอเงื่อนไข 5 ข้อ ให้รัฐบาลพิจารณา ได้แก่ รัฐบาลต้องรับประกันให้บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม รวมถึงฝ่ายความมั่นคงต้องสนับสนุนให้การเลือกตั้งสำเร็จเรียบร้อย รัฐบาลต้องวางตัวเป็นกลางไม่ใช้อำนาจในฐานะรัฐบาลรักษาการก่อให้เกิดความได้ เปรียบในการเลือกตั้ง หาก กกต.เห็นว่าการเลือกตั้งไม่เป็นธรรม หรืออาจจะก่อให้เกิดความไม่สงบ กกต.ขอใช้สิทธิเลื่อนวันลงคะแนนเลือกตั้งในพื้นที่มีปัญหา และสุดท้ายรัฐบาลต้องยอมรับสภาพ หากไม่สามารถเปิดสภาได้ 30 วัน หลังการเลือกตั้ง
นายกฯ หวังประเทศหลุดพ้นขัดแย้ง-เดินหน้าเลือกตั้ง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘Yingluck Shinawatra’ เมื่อเวลา 13.45 น. เกี่ยวกับการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงว่า ได้ติดตามปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนและการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากผลของการชุมนุมทางการเมือง และปัจจุบันการเลือกตั้งได้ล่าช้ากว่ากรอบการเลือกตั้งไปกว่า 3 เดือนแล้ว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่า รัฐบาลมองเห็นถึงปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศจากสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำงบประมาณปี 2558 ที่ต้องล่าช้าออกไป แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ที่ลดลง ความมั่นคงไฟฟ้าในภาคใต้จากการปิดแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศมาเลเซีย การส่งออกที่ยังอยู่ในภาวะหดตัว ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยวที่ลดลง การจัดทำรายงานการค้ามนุษย์ (TIP report) รวมทั้งการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและการจัดทำเกษตรโซนนิ่ง
แม้ว่าในปัจจุบันการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลจะดำเนินการได้อย่าง จำกัดภายใต้เงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 181 เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศและไม่มีผลผูกพันต่อรัฐบาลต่อไป แต่ได้เร่งรัดให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหา ของประชาชนอย่างเร่งด่วน โดยได้สั่งการให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตั้งคณะทำงานฯ ประกอบด้วย สภาพัฒน์ กระทรวงคลัง สำนักงบประมาณ กฤษฎีกา เพื่อเร่งรัดโครงการที่ค้างการพิจารณาอยู่ในปัจจุบันให้ดำเนินการได้โดยเร็ว ไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชน
“สุดท้ายนี้ดิฉันหวังว่าประเทศจะหลุดพ้นจากความขัดแย้งและทุกฝ่ายหันหน้า พูดคุยกันอย่างสันติ รวมทั้งเดินหน้าจัดการเลือกตั้งได้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้รัฐบาลที่มาจากความต้องการของประชาชนที่แท้จริงโดยเร็ว” น.ส.ยิ่งลักษณ์
‘พงศ์เทพ’ เผย กกต.ส่งร่าง พ.ร.ฎ.เลือกตั้งให้ ครม.วันที่ 6 พ.ค.
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมจะส่งร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ให้กับรัฐบาลในช่วงเช้าวันที่ 6 พ.ค.นี้ ซึ่งตรงกับการประชุม ครม. และจะมีการพิจารณาในวันนั้นทันที โดยกรอบเวลาการเลือกตั้งที่ กกต.เสนอคือวันที่ 20 ก.ค. ทางรัฐบาลเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจาก กกต.จะมีเวลาแก้ไขกฎระเบียบการเลือกตั้งบางส่วนได้ ส่วนข้อกังวลที่ทางศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยสถานะนายกรัฐมนตรีและ ครม.ให้พ้นจากตำแหน่ง จากกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เชื่อว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้นกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรี มีความมั่นใจต่อหลักฐานและคำชี้แจงที่ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
นายพงษ์เทพ กล่าวว่า ยังไม่มีการวางตัวนายกรัฐมนตรีสำรอง เนื่องจากเชื่อว่านายกรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เช่นเดียวกับกระแสข่าวที่วางตัวให้ตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็ยังไม่มีการพูดคุยเรื่องนี้เช่นกัน
สำนักข่าวประชาไท
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...