ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คู่มือการปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

กรณีถูกเรียกให้ไปรายงานตัว ผู้ถูกเรียกตัวและญาติควรปฏิบัติ ดังนี้
 
• แจ้งญาติ เพื่อน คนใกล้ชิด 
• เมื่อไปรายงานตัวควรมีญาติหรือคนใกล้ชิดเดินทางไปด้วยมากกว่าหนึ่งคน
• ควรจะนัดหมายให้ผู้ถูกเรียกตัวคนอื่นๆ ที่รู้จักไปพร้อมกัน
• ญาติ เพื่อน บุคคลใกล้ชิด ควรสร้างความรู้จักกันเพื่อติดตามสถานการณ์
• ผู้ถูกเรียกตัวและญาติควรทำบันทึกรายละเอียดวัน เวลา สถานที่ที่ไปรายงานตัว ชื่อและยศของเจ้าหน้าที่ผู้รับรายงานตัว เบอร์โทรศัพท์ และรายละเอียดเท่าที่มีให้ได้มากที่สุด
• ก่อนไปรายงานตัวควรเก็บหลักฐานข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและสภาพร่างกาย เช่น การถ่ายรูปส่วนต่างๆ ของร่างกาย ใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี) เป็นต้น
• สอบถามระยะเวลาที่ใช้ในการรายงานตัว ถ้าไม่ปล่อยตัว ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ว่าจะควบคุมตัวที่ไหน กี่วัน
• ให้ญาติสอบถามเจ้าหน้าที่เรื่องช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้ถูกเรียกตัว 
• ให้ผู้ถูกเรียกตัวนำของใช้ส่วนตัว ยาประจำตัวติดตัวไปด้วย
• ถ้าถูกปล่อยตัว ให้ทำบันทึกเวลา สถานที่ และสภาพร่างกายทันที ถ่ายรูปบันทึกสภาพร่างกายเพื่อเป็นหลักฐาน
 
 
 
 
 
 
 
กรณีถูกซักถามโดยเจ้าหน้าที่ ผู้ถูกซักถามควรปฏิบัติ ดังนี้
 
• ถ้าแน่ใจว่าข้อเท็จจริงที่เจ้าหน้าที่กล่าวหาไม่ถูกต้อง ต้องปฏิเสธ
• ให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็น
• ไม่ควรพูดคุยกับเจ้าหน้าที่เกินกว่าที่จำเป็น ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม
• หากเจ้าหน้าที่ให้ลงชื่อ ควรอ่านเอกสารให้ครบถ้วน และดูว่าตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ ต้องไม่ใช่สิ่งที่ผู้ถูกควบคุมคิดหรือคาดเดาไปเอง หากไม่ถูกต้องให้เจ้าหน้าที่แก้ไขให้ถูก หากเจ้าหน้าที่ปฏิเสธ ผู้ถูกควบคุมตัวมีสิทธิไม่ยอมลงชื่ได้ 
• โปรดระวังว่าเอกสารทุกชนิดถูกนำมาใช้ในชั้นศาลได้
 
 
มาตรการเตรียมตัวเมื่อมีความเสี่ยงที่จะถูกจับกุม (เช่น กรณีจะไปชุมนุม)
 
• ผู้มีความเสี่ยงก่อนออกไปควรแจ้งสถานที่ที่จะไป และการติดต่อต่างๆ 
• ควรถ่ายรูปขณะเดินทางหรือขณะชุมนุม เพื่อให้คนอื่นติดตามที่อยู่ได้
• ควรบันทึกการแต่งกาย ของมีค่าและของใช้ที่ติดตัวไป
 
 
 
 
 
กรณีถูกจับกุม
 
• ผู้ถูกจับกุมควรบอก ชื่อ นามสกุล เบอร์ติดต่อญาติหรือคนใกล้ชิด ให้คนที่อยู่บริเวณที่ถูกจับกุมทราบ
ควรสอบถามว่าจะถูกควบคุมตัวไปไว้ที่ไหน
ควรแชร์ตำแหน่งที่อยู่ของตนเป็นระยะ 
ขออนุญาตเจ้าหน้าที่แจ้งญาติทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมตัวในโอกาสแรก หากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตก็ขอให้เจ้าหน้าที่ติดต่อให้
ควรแจ้งให้ญาติหรือคนใกล้ชิดมาขอเยี่ยมทันทีที่ถูกกักตัว
 
กรณีถูกซักถามโดยเจ้าหน้าที่
 
ถ้าแน่ใจว่าข้อเท็จจริงที่เจ้าหน้าที่กล่าวหาไม่ถูกต้อง ต้องปฏิเสธ
ให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็น
ไม่ควรพูดคุยกับเจ้าหน้าที่เกินกว่าที่จำเป็น ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม
 
 
 
 
กรณีถูกกักตัว
 
• เจ้าหน้าที่ทหารมีอำนาจเต็มในการกักตัวได้ไม่เกิน 7 วัน ตามพ.ร.บ.กฎอัยการศึก มาตรา 15 ทวิ หากมีการควบคุมเกินกว่านั้น จะเป็นอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งต้องอาศัยหมายจากศาล
• กรณีที่ญาติอยู่ด้วยระหว่างมีการจับกุม ญาติควรตามไปเพื่อให้ทราบสถานที่กักตัวหรือควบคุมตัว
• กรณีไม่ทราบสถานที่กักตัว ให้ญาติติดต่อสอบถามหน่วยงานทหารที่เกี่ยวข้องโดยแจ้งจุดที่ถูกจับให้เจ้าหน้าที่ทราบ 
• ญาติควรเจรจากับเจ้าหน้าที่เพื่อขอให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมในโอกาสแรก
• ญาติควรเข้าเยี่ยมผู้ถูกกักตัวตั้งแต่วันแรก และ บ่อยเท่าที่เป็นไปได้
• เมื่อครบ 7 วัน ญาติควรไปรับตัวจากสถานที่ควบคุมตัว หากครบ 7 วัน ยังไม่มีการปล่อยตัวให้ติดต่อทนายความเพื่อยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัว เนื่องจากเป็นการควบคุมตัวมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม มาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
• ในระหว่างการกักตัว หากมีการนำตัวผู้ถูกเรียกให้รายงานตัวและถูกจับไปที่สถานีตำรวจเพื่อแจ้งข้อ กล่าวหา ให้ขอตำรวจแจ้งญาติทันที และให้เตรียมหลักทรัพย์มาประกันตัว
• เมื่อถูกแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว มีสิทธิขอประกันตัวต่อพนักงานสอบสวน
 
 
สิทธิของผู้ถูกจับ 
 
• กรณีการจับกุมตามกฎหมายพิเศษ เจ้าหน้าที่ใช้กำลังดำเนินการได้เท่าที่จำเป็น
• ผู้ถูกจับมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้ วางใจ  ทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมตัวในโอกาสแรก
• ผู้ถูกจับมีสิทธิพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว 
• ผู้ถูกจับมีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนในชั้นสอบสวนได้
• ผู้ถูกจับมีสิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อญาติได้ตามสมควร
• ผู้ถูกจับมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
• ผู้ถูกจับมีสิทธิได้รับแจ้งสิทธิจากเจ้าพนักงานหรือตำรวจในโอกาสแรก
• ได้รับแจ้งข้อกล่าวหาหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ทราบ  หากมีหมายจับ  ต้องแสดงหมายจับให้ผู้ถูกจับทราบขณะจับกุม การจับตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ  และตามป.วิฯอาญา จะมีหมายจับ  เว้นแต่เป็นการกระทำผิดซึ่งหน้า หากจับตามกฎอัยการศึกไม่ต้องมีหมายจับ
• ผู้ถูกจับมีสิทธิมีสิทธิจะไม่ให้การหรือให้การก็ได้
• ผู้ถูกจับมีสิทธิมีสิทธิได้รับสำเนาบันทึกการจับกุม
 
 
 
 
ข้อมูลจาก iLAW


30/May/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา