ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน แม้ว่ากองทุนเงินทดแทนจะกำหนดจ่ายสูงสุดเพียง 35,000 บาท แต่ก็สามารถเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17884/2555

นายภาณุ  อินทพัตร์     โจทก์

สำนักงานประกันสังคม     จำเลย

 

1.โจทก์ฟ้องว่า  โจทก์เป็นผู้ประกันตนโดยเป็นลูกจ้างของบริษัทรีเฮิร์บ ตำแหน่งพนักงานทั่วไป  เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549  โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปส่งเอกสารเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนท้ายได้รับบาดเจ็บและหมดสติ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลไทยนครินทร์และส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลวิภารามตามบัตรรับรองสิทธิ 

 

แพทย์วินิจฉัยว่ากระดูกซี่โครงทั้งสองข้างหักหลายซี่  ปอดช้ำทั้งสองข้าง  กระดูก    ไหปลาร้าหัก  กระดูกสะบักซ้ายหัก  รับไว้เป็นผู้ป่วยใน 4 วัน  พักรักษาโดยการให้ยาอยู่ในโรงพยาบาล     ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2549  จากนั้นย้ายไปเข้ารักษาต่อที่โรงพยาบาลสิรินธร แพทย์รับไว้เป็นผู้ป่วยใน       รักษาโดยการให้ยาตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 11 มีนาคม  2549  รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดเป็นเงิน  65,055  บาท 

 

โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทน 

 

สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 มีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนคือค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน  35,000  บาท  และค่าทดแทนตามมาตรา 18 (1)  เป็นเวลา 3  เดือน เป็นเงิน  12,153.60  บาท 

 

โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงยื่นอุทธรณ์ ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 และมีคำสั่งให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมาย

 

2.จำเลยให้การว่า  แม้โจทก์จะมีอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งแต่ไม่ได้มีการผ่าตัดแก้ไข  จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข  และไม่ใช่กรณีที่โจทก์ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นรุนแรงและเรื้อรัง  ทั้งไม่เข้าหลักเกณฑ์ใดๆ ของกฎหมายดังกล่าว

 

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน  ที่ 54/2550  ที่มีมติยืนตามคำวินิจฉัยของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 ให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นไม่เกิน  35,000  บาท  จึงชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายแล้ว  ขอให้ยกฟ้อง

 

 

3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว  พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งเงินทดแทนของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนที่ 54/2550 โดยให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลตามกฎกระทรวงกำหนดค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน  พ.ศ.2537  พ.ศ.2548  ข้อ 3 (2)  และ (7)

 

 

4. ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า  เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549  โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์ชนท้ายรถจักรยานยนต์คันที่โจทก์ขับไปส่งเอกสารได้รับบาดเจ็บและหมดสติ  เข้ารักษาที่โรงพยาบาลไทยนครินทร์และส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลวิภารามตามบัตรรับรองสิทธิ 

 

จากนั้นย้ายไปเข้ารักษาต่อที่โรงพยาบาลสิรินธร  แพทย์รับไว้เป็นผู้ป่วยใน  รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดเป็นเงิน  65,055  บาท  สำนักงานประกันสังคมมีคำสั่งว่าการประสบอันตรายของโจทก์เกิดเนื่องจากการทำงาน  มีสิทธิได้รับเงินทดแทนคือค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน  35,000  บาท  และมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามมาตรา  18 (1)  เดือนละ  4,051.20  บาท  เป็นเวลา  3  เดือน 

 

โจทก์ยื่นอุทธรณ์  โจทก์ได้รับบาดเจ็บกระดูกซี่โครงหัก  กระดูกไหปลาร้าหัก  ขาซ้ายมีบาดแผล  มีเลือดออกในช่องปอด  แพทย์ต้องรักษาโดยส่ง  X – ray  เจาะท่อระบาย (ICD) ที่ปอด  เย็บแผลที่ขาซ้าย  ผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูก  รับเป็นผู้ป่วยหนัก (ICU) 6 วัน  ผู้ป่วยใน 9 วัน 

 

ปัจจุบันกระดูกไหปลาร้าผิดรูป  เจ็บบริเวณหน้าอก  ขาซ้ายมีรอยแผลเป็นนูน 

 

ซึ่งคณะกรรมการแพทย์  มีมติว่าโจทก์สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานอย่างถาวรร้อยละ 2  เนื่องจากกระดูกไหปลาร้าข้างขวาผิดรูป  มีอาการนูนบวม  หน้าอกขวามีอาการเจ็บเวลาขยับตัว  กดเจ็บบริเวณแผลเป็นที่ใส่ท่อระบายในช่องอก    และขาซ้ายมีรอยแผลเป็นนูน  มีอาการเจ็บเวลากด 

 

แพทย์ผู้ตรวจรักษามีความเห็นว่า  ต้องพักรักษาตัว 90 วัน     โดยต้องมีการรักษาทางกายภาพบำบัดด้วย  กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูก     หลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข ทั้งยังเป็นการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งรุนแรงและเรื้อรัง         

 

ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน  พ.ศ.2537   พ.ศ.2548 ข้อ 3 (2) และ (7)  กรณีมีเหตุสมควรแก้ไขเปลี่ยนแปลง  เพิกถอนคำสั่งเงินทดแทนของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนดังกล่าว  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

 

พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย
 

 

 


หมายเหตุ : ข้อมูลสรุปบางส่วนจากบริษัทไพบูลย์นิติ
 



17/Jun/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา