ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คู่มือการเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวที่กองปราบ

หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 มีบุคคลจำนวนมากถูกควบคุมตัว เพราะใช้เสรีภาพในการแสดงออก คัดค้านการรัฐประหาร ทั้งโดยการชูสามนิ้วตามหนังดัง ชูกระดาษเขียนข้อความรณรงค์หรือชูกระดาษเปล่า รวมทั้งแสดงออกด้วยการอ่านหนังสือหรือกินแซนวิชในที่สาธารณะ 
 
 
หลังถูกควบคุมตัว บุคคลที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออก และตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าทำความผิดตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามมิให้มั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป จะถูกส่งตัวไปสอบสวน ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง เพื่อสอบสวนโดยคณะทำงานที่มีทั้งทหาร ตำรวจ และกอ.รมน. ก่อนถูกส่งตัวไปฝากขังที่กองบังคับการปราบปราม หรือที่สั้นๆ ว่า "กองปราบ" 
 
 
กองปราบตั้งอยู่บริเวณ ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามเยื้องกับเซ็นทรัลลาดพร้าว ติดกับโลตัสลาดพร้าว และแดนเนรมิตเก่า 
 
 
เมื่อไปถึงกองปราบ ผู้ต้องสงสัยจะถูกควบคุมตัวไว้ที่อาคารสีฟ้าซึ่งตั้งอยู่ด้านในสุดของกอง ปราบ โดยพวกเขาอาจจะถูกควบคุมตัวที่กองปราบอาจนานมากสุดถึง 7 วัน ซึ่งเป็นอำนาจที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. กฎอัยการศึก พ.ศ.2457
 
 
 
 
 
 
แผนที่ไปกองปราบ
 
 
โดยปกติแล้วญาติสามารถเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวได้ โดยแจ้งความจำนงกับเจ้าหน้าที่เวรที่หน้าห้องควบคุมตัว จากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาผู้มาเยี่ยมเข้าไปในห้องควบคุมตัวด้านหลัง ซึ่งเวลาเยี่ยม คือ เวลา 8.00 – 9.00 น. 12.00 – 13.00 น. และ 16.00 – 17.00 น. ของทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
 
 
 
ผู้ถูกควบคุมตัวจะได้รับการแจกอาหารตามเวลาที่กำหนด แต่น้ำดื่มและสิ่งของจำเป็นต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ยา ขนม ฯลฯ ญาติหรือผู้เข้าเยี่ยมควรซื้อไปให้เอง
 
 
สำหรับบรรยากาศในห้องขังก็ไม่ได้ดูน่ากลัวและอย่างที่หลายคนจินตนาการ ถึงจะเป็นห้องขังแต่ก็สะอาดสะอ้าน และมีพัดลมเปิดคลายความร้อน ผู้ชายและผู้หญิงจะถูกควบคุมตัวรวมในห้องขังเดียวกัน แต่เวลานอนจะแยกห้องกัน 
 
 
 
แม้ว่าเวลาเยี่ยมผู้ถูกควบ คุมตัวและผู้มาเยี่ยมจะอยู่ห่างกันเพียงลูกกรงกั้น แต่บางครั้งการสนทนากันก็ต้องอาศัยทักษะการแยกประสาทที่ดี เพราะบ่อยครั้งก็มีคนมาเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวพร้อมกันหลายคน ทำให้เสียงพูดคุยดังเซ็งแซ่ไปหมด สิ่งที่ต้องทำคือต้องเอาใจจดจ่อกับคู่สนทนาและต้องระวังไม่พูดดังจนเสียงรบกวนคนอื่น 
 
 
 
เมื่อหมดเวลาเยี่ยม จะมีเจ้าหน้าที่เวรเดินมาแจ้ง แต่หากยังสนทนากันไม่จุใจ ก็สามารถรอเข้าเยี่ยมรอบต่อไปได้ เพราะที่กองปราบไม่มีการจำกัดรอบเยี่ยมเหมือนเรือนจำที่ผู้ต้องขังหนึ่งคนพบ ญาติได้เพียงหนึ่งครั้งต่อวันเท่านั้น
 
 
                
แม้การเยี่ยมในแต่ละรอบจะมีเวลาให้ไม่นานนัก และผู้มาเยี่ยมบางคนก็ต้องใช้เวลาเดินทางนานแสนนานก่อนจะฝ่าการจราจรที่ติด ขัดมาถึงกองปราบ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ต้องสูญสิ้นอิสรภาพเพราะถูกควบคุมตัวแล้ว กำลังใจและการได้เห็นหน้าคนห่วงใย ย่อมเป็นเหมือนเปลวไฟที่หล่อเลี้ยงเปลวไฟไม่ให้มอดดับ แม้ในห้วงเวลาที่แสนมืดมน
 
 
 


หมายเหตุ : ข้อมูลจาก Ilaw เมื่อ 23 มิถุนายน 2557


30/Jun/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา