ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
สรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
๑. พระมหากษัตริย์
- บทบัญญัติของหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ยังคงใช้บังคับอยู่ต่อไป
- ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล
- ทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- ทรงมีพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายและร่างรัฐธรรมนูญ
- ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนดและพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ และแต่งตั้งข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
- ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการอื่นตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒. คณะองคมนตรี
- เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งยังคงใช้บังคับอยู่ต่อไป
๓. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
- สมาชิกจำนวนไม่เกิน ๒๒๐ คน
- หัวหน้า คสช. คัดเลือกจากบุคคลภาคส่วนต่างๆ แล้วนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงแต่งตั้ง
- สมาชิกต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น ต้องไม่ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่ง ตั้ง
- จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในขณะเดียวกันไม่ได้
- สมาชิก สนช. ไม่น้อยกว่า ๒๕ คน มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
๔. คณะรัฐมนตรี
- ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหนึ่งคน และรัฐมนตรีอื่นอีกจำนวนไม่เกิน ๓๕ คน
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของ สนช. แต่งตั้งรัฐมนตรีตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
- คณะรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่
- นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามมติของ สนช. ที่เสนอโดย คสช.
- นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี และสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองภายในเวลาสามปี ก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
- นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิก สนช. สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
๕. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
- ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศ คสช. ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗
- ในกรณีจำเป็น สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน ๑๕ คน และสามารถกำหนดให้หน่วยงานใดทำหน้าที่หน่วยธุรการของ คสช. ได้ตามที่เห็นสมควร
- สามารถแจ้งให้ ครม. ทราบ เพื่อดำเนินการใดๆ ที่เห็นสมควรได้
- ก่อนที่ ครม. จะเข้ารับหน้าที่ อำนาจของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นของหัวหน้า คสช.
- ในกรณีจำเป็น เช่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูป เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคง หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. มีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าการนั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด แต่ให้รายงานให้ประธาน สนช. และนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
๖. สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
- ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนไม่เกิน ๒๕๐ คน ซึ่ง คสช. คัดเลือกจากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ โดยในจำนวนนี้ให้คัดเลือกจากบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน
- สมาชิกต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
- ให้มีคณะกรรมการสรรหาบุคคลด้านต่าง ๆ ๑๑ คณะ และให้มีคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด ๆ ละ ๑ คณะ เพื่อสรรหาจากบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น ๆ
- รายละเอียดกระบวนการสรรหาและคัดเลือกเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
- อำนาจหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
(๑) จัดทำแนวทางและข้อเสนอการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ เพื่อเสนอ สนช. ครม. คสช. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องตรากฎหมาย ก็เสนอร่างกฎหมายนั้นต่อ สนช. หรือ ครม. ได้ด้วย
(๒) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
(๓) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น
- ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร
๗. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
- ประกอบด้วยกรรมาธิการ จำนวน ๓๖ คน ดังนี้
(๑) ประธานกรรมาธิการตามที่ คสช. เสนอ
(๒) กรรมาธิการ จำนวน ๒๐ คน ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ
(๓) กรรมาธิการตามที่ สนช. ครม. และ คสช. เสนอฝ่ายละ ๕ คน
- ต้องไม่เป็นสมาชิกและไม่ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
- ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องแต่งตั้งกรรมาธิการฯ ให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปฯ เป็นครั้งแรก
- ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากการเป็นกรรมาธิการยกร่างฯ
- ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน ๑๒๐ วัน ถ้าทำไม่เสร็จต้องพ้นจากตำแหน่งและจะกลับมาเป็นอีกไม่ได้
๘. กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ
- ให้สภาปฏิรูปฯ ส่งความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปฯ เป็นครั้งแรก
- คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน ๑๒๐ วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปฯ
- คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องส่งร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำเสร็จแล้วให้สภาปฏิรูปฯ ครม. และ คสช.
- สภาปฏิรูปฯ มีเวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ๑๐ วัน แล้วมีเวลายื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมภายใน ๓๐ วัน ครม. หรือ คสช. ก็สามารถเสนอความเห็นหรือยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายใน ๓๐ วัน
- คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องพิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน
- สภาปฏิรูปฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับภายใน ๑๕ วัน
- กรณีเห็นชอบ ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาตินำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้
- รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ประมาณ ๑๐ เดือน นับแต่วันที่สภาปฏิรูปฯ เริ่มประชุมครั้งแรก
- กรณีสภาปฏิรูปฯ ไม่เห็นชอบหรือพิจารณาไม่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือพระมหากษัตริย์ไม่เห็นชอบด้วย ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป และต้องแต่งตั้งสภาปฏิรูปฯ และคณะกรรมาธิการฯ ชุดใหม่ขึ้นมาแทน โดยที่คนเดิมจะกลับมาเป็นอีกไม่ได้
- กรณีคณะกรรมาธิการฯ ยกร่างไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ให้แต่งตั้งกรรมาธิการชุดใหม่ขึ้นมาแทนภายใน ๑๕ วัน โดยที่คนเดิมจะกลับมาเป็นอีกไม่ได้
๙. อื่นๆ
- ครม. และ คสช. สามารถร่วมกันเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) นี้ ต่อ สนช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของสมาชิก สนช. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
- ให้บรรดาประกาศและคำสั่ง คสช. ที่มีระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ครม. เข้ารับหน้าที่ รวมทั้งการกระทำตามประกาศและคำสั่งดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด และให้บรรดาประกาศและคำสั่ง คสช. ที่ยังใช้บังคับอยู่มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก
- นิรโทษกรรมให้แก่บรรดาการกระทำทั้งหลายของหัวหน้าและ คสช. รวมทั้งบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน ไม่ว่าจะกระทำในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ก่อนวันนั้น หรือหลังจากวันนั้น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
หรือเข้าใจรายมาตราได้ดังนี้ครับ
• มาตรา 2 ให้หมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญ2550 ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป และเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้
• มาตรา 6 ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไม่เกิน 220 คน ทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
• มาตรา 19 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ดำเนินการปฏิรูป และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของคนในชาติ
• มาตรา 27-31 ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่เกิน 250 คน มาจากคสช.แต่งตั้งกรรมการสรรหา คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิบุคคลจากด้านต่างๆ และกรรมการสรรหาประจำจังหวัด คัดเลือกบุคคลจากจังหวัดต่างๆ สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนวทางปฏิรูป และให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ (ไม่ต้องผ่านประชามติ)
• มาตรา 14 การเสนอร่างพระราชบัญญัติมีสามช่องทาง คือ 1.สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเข้าชื่อกัน 25 คน 2.คณะรัฐมนตรี 3.สภาปฏิรูปแห่งชาติ (ไม่มีช่องทางเสนอกฎหมายโดยประชาชน)
• มาตรา 32 ให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คน มาจากการแต่งตั้งของสภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคสช.
• มาตรา 36 เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ให้สภาปฏิรูปพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้ส่งให้คณะรัฐมนตรีและคสช.เสนอความเห็นขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
• มาตรา 42 หากคสช.เห็นว่าคณะรัฐมนตรีควรดำเนินการเรื่องใด ให้แจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการ หรืออาจขอให้มีการประชุมร่วมกันหรือปรึกษาหารือกันเป็นครั้งคราวได้
• มาตรา 44 ในกรณีที่หัวหน้าคสช.เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิ รูป เพื่อความสมานฉันท์ หรือความสงบเรียบร้อย ให้สั่งการระงับ หรือให้กระทำการใดๆ ได้ ทั้งในทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย
• มาตรา 47 ให้ประกาศหรือคำสั่งคสช. ยังมีผลใช้บังคับอยู่ และชอบด้วยกฎหมาย
• มาตรา 48 การกระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของคสช. และการกระทำที่เกี่ยวเนื่อง หากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...