ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

วิเคราะห์กฎหมายมาตรา 75 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับความคาบเกี่ยวกับ มาตรา 52 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 นายจ้างต้องขออนุญาตศาลแรงงานก่อนหรือไม่ ?

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

1. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

 

มาตรา 75 ในกรณีที่นายจ้างมีความจําเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สําคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทําให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทํางานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทํางาน

 

2. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

 

มาตรา 52 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงาน อยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน

 

วิเคราะห์ข้อกฎหมายผ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา

ฎีกาที่ 8880-8886/2542 (มาตรา 75,139)

 

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่งมีเจตนารมณ์คุ้มครองนายจ้างที่ต้องประสบวิกฤติการณ์ในการดำเนินกิจการซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ส่งผลกระทบกระเทือนกิจการของนายจ้างอย่างรุนแรงจนถึงขั้นมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว อันเป็นสิทธิแก่นายจ้างที่จะไม่ให้ลูกจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนทำงานเป็นการชั่วคราว โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าลูกจ้างที่จะให้หยุดงานชั่วคราวนั้นเป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่


ทั้งนี้เพื่อให้นายจ้างมีโอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดไปหรือบรรเทาลง แต่นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินแก่ลูกจ้างในระหว่างที่หยุดกิจการชั่วคราวเพียงไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 (ปัจจุบัน 75) ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน



แม้กฎหมายจะให้สิทธิแก่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ได้ กฎหมายก็ไม่ยอมให้นายจ้างกระทำไปโดยอิสระ แต่ได้กำหนดมาตรการควบคุมไว้ในมาตรา 75 วรรคสอง หากปรากฏในภายหลังว่านายจ้างกล่าวอ้างยกเหตุจำเป็นต้องหยุดกิจการตามมาตรา 75 เป็นความเท็จเพื่อเอาเปรียบลูกจ้าง ลูกจ้างก็ชอบจะใช้สิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกค่าเสียหาย รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ หากมีตามสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจากนายจ้างได้

 

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 มีเจตนารมณ์แตกต่างกันอย่างชัดเจนจากบทบัญญัติ มาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้าง โดยเฉพาะให้พ้นจากการเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งจากนายจ้างด้วยการเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใดที่อาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ อันเป็นสถานการณ์ปกติของนายจ้าง ไม่ใช่กรณีที่นายจ้างประสบวิกฤติการณ์ จนจำเป็นต้องหยุดการดำเนินกิจการไว้ชั่วคราวตามมาตรา 75

 

ที่ผู้ร้องนายจ้างในคดีนี้อ้างว่า มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการบางส่วนชั่วคราวโดยสาเหตุที่มิใช่เหตุสุดวิสัย และขอจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างทั้งเจ็ดซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างร้อยละ 50 (ปัจจุบัน 75) ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับ เป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องด้วยมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ ที่จะต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน กรณีตามคำร้องยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิและไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาล ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องชอบแล้ว

 

บทวิเคราะห์

คดีนี้นายจ้างเป็นผู้นำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาล ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในแนวเดียวกันคือเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องด้วยมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ จึงไม่ต้องขออนุญาตศาลแรงงานก่อน

 

บทสรุป

นายจ้างสามารถใช้สิทธิตามมาตรา 75 ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตศาลแรงงานก่อน ทั้งนี้ การใช้สิทธิตามมาตรา 75 ก็จะต้องดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องก่อนการดำเนินการด้วย

 

วิเคราะห์โดยทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 1 ส.ค. 57



01/Aug/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา