ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

หวั่นโรงงานปิดกิจการหลังศาลพิพากษาให้ซับคอนแทรคได้สวัสดิการ-ค่าจ้างเท่าลูกจ้างประจำ

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานที่ปรึกษาสหพันธ์ยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวในการสัมมนาเรื่อง “จ้างเหมาตัดตอน ทอนความมั่นคง” จัดโดยคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ว่า ปัจจุบันสถานประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้แรงงานซับคอนแทรคมากกว่าร้อยละ 50 หลังศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ลูกจ้างเหมาช่วง (ซับคอนแทรค) ของบางบริษัทใน กทม. ต้องได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกับลูกจ้างประจำ ซับคอนแทรค ตามมาตรา 11/1 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

 

 

ทั้งนี้สถานประกอบการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่ได้รับการปรับให้เป็นพนักงานประจำ และบริษัทบางแห่งแรงงานซับคอนแทรคกำลังอยู่ระหว่างเจรจาต่อรองกับนายจ้าง เนื่องจากไม่ต้องการฟ้องร้องนายจ้าง เพราะเกรงจะกระทบกับระบบแรงงานสัมพันธ์ แต่ยังมีความมีความกังวลเรื่องที่นายจ้างบางแห่ง พยายามหลีกเลี่ยงโดยกำหนดสัญญาให้สิทธิประโยชน์แตกต่างจากลูกจ้างประจำ เช่น การทำสัญญาจ้างชั่วคราว 4 ปี โดยให้ค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเทียมกับลูกประจำแล้วให้สอบเพื่อบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ


อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดคือนายจ้างบางแห่งมีแนวคิดในการปิดกิจการ จึงอยากฝากไปยังนายจ้างขอให้เห็นใจลูกจ้างโดยปรับสถานะลูกจ้างซับคอนแทรคให้ เป็นลูกจ้างประจำ เนื่องจากลูกจ้างซับคอนแทรคกับลูกจ้างประจำทำงานเท่ากันและทักษะฝีมือก็ไม่ ต่างกัน แต่ค่าจ้างและสวัสดิการกลับไม่เท่าเทียมกัน ทำให้แรงงานซับคอนแทรคไม่มีความมั่นคงด้านรายได้และชีวิต รวมถึงเยียวยาแรงงานซับคอนแทรคที่ออกไปแล้วโดยจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างและสวัสดิการย้อนหลัง

 

 


ด้านนายแล ดิลกวิทยรัตน์ ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาแรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กระทรวง แรงงานจะต้องต่อยอดคำพิพากษาของศาลด้วยการออกมาตรการหรือกฎหมายให้เป็นไปตาม คำพิพากษา เช่น การกำหนดสัดส่วนของลูกจ้างซับคอนแทรคในแต่ละสถานประกอบการเพราะปัจจุบันบาง แห่งมีการมีการใช้ซับคอนแทรคถึงร้อยละ 60 การปรับให้ลูกจ้างซับคอนแทรคเป็นพนักงานประจำ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองของแต่ละสหภาพว่าจะเจรจาต่อรองให้มีหลัก เกณฑ์อย่างไร เช่น ปรับปีละกี่คน การออกเป็นกฎหมายเพื่อกำหนดว่าประเภทงานใดสามารถใช้ซับคอนแทรคได้ รวมทั้งสร้างหลักประกันไม่ให้มีการนำซับคอนแทรคมาใช้แทนลูกจ้างประจำโดยไม่ มีสาเหตุ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นายจ้างใช้ความมั่นคงของลูกจ้างมาเป็น เครื่องมือในการต่อรอง
       

 


น.ส.บงกช แจ่มทวี ประธาน ชมรมบริหารงานบุคคล จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ขณะนี้นายจ้างส่วนใหญ่ยังปรับตัวไม่ทันกับคำพิพากษาของศาลโดยนายจ้างชาว ญี่ปุ่น ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ต่างรอดูท่าทีของบริษัทญี่ปุ่นด้วยกันว่าจะดำเนินอย่างไร ทั้งนี้ ในฐานะฝ่ายบุคคลก็พยายามช่วยเจรจากับนายจ้างให้แรงงานซับคอนแทรคได้รับค่า จ้างและสวัสดิการเท่าเทียมกับแรงงานประจำ ส่วนการเลิกจ้างแรงงานซับคอนแทรคนั้น คงเป็นทางออกสุดท้ายเพราะสถานประกอบการยังมีความต้องการแรงงานในการ ผลิตอย่างมาก
       

 


นายวิสูตร พันธวุฒิยานนท์ กรรมการผู้จัดการเอชอาร์.ไดเจสท์ จำกัด ผู้แทนบริษัทรับเหมาช่วง (เอาต์ซอร์ส) กล่าวว่า ตนเป็นจำเลยร่วมกับนายจ้างถูกแรงงานฟ้องร้อง แต่ถูกยกฟ้อง เพราะไม่ใช่นายจ้างโดยตรง ต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาออกมา ทั้งนี้ คิดว่าทางออกที่ดีที่สุดในเรื่องคำพิพากษาของศาลนั้นสถานประกอบการต่างๆ ควรปรับค่าจ้างและสวัสดิการแรงงานซับคอนแทรคให้เท่าเทียมกับลูกจ้างประจำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฟ้องร้อง ซึ่งปัจจุบันคาดว่ามีแรงงานซับคอนแทรคทั้งหมดประมาณ 2 ล้านคน และเชื่อว่าปัญหาคงนี้คงไม่กระทบถึงขั้นสถานประกอบการญี่ปุ่นจะย้ายฐานการ ผลิตไปจากไทย เพราะส่วนใหญ่มองว่าไทยมีความเหมาะสมในการลงทุน

 

ผู้จัดการ 21 สิงหาคม 2557



27/Aug/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา