ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
มีคำพิพากษาฎีกาที่ 13806/2555 ระหว่างนายสันติพงศ์ แจ่มทวีกุล โจทก์ กับบริษัท แฟร์ดีล เซอร์วิส จำกัด จำเลย กรณีที่โจทก์ทำร้ายร่างกายผู้อื่นในบริเวณบริษัท ทำให้บริษัทเลิกจ้างโดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ยังต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่
สาระสำคัญของคำพิพากษา
(1) โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2547 จำเลยจ้างโจทก์เข้าเป็นลูกจ้างตำแหน่งพนักงานสำรวจอุบัติเหตุ ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 6,500 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างให้ทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 20 มกราคม 2549 จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
(2) จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549 ขณะที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานของจำเลย ได้ก่อเหตุทำร้ายร่างกายนายอรรถพร ในบริเวณสถานที่ทำงานของจำเลย ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงและการดำเนินธุรกิจของจำเลย เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าชดเชย ขอให้ยกฟ้อง
(3) ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จำนวน 8,449.99 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จำนวน 19,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 มกราคม 2549 จนกว่าจะชำระเสร็จ
(4) จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
(5) ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 05.30 นาฬิกา โจทก์กับนายอรรถพรพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุเพื่อนร่วมงานของโจทก์ได้โต้เถียงกันอยู่ประมาณ 5 นาที ในสถานที่ทำงานของจำเลย แล้วโจทก์ใช้กำลังชกต่อยนายอรรถพร 2 ครั้ง ครั้งแรกเฉียดแก้ม และครั้งที่สองถูกที่ท้ายทอย ไม่ปรากฏบาดแผล
ต่อมาโจทก์ถูกพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรัก ปรับ 1,000 บาท ในข้อหาใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ซึ่งแม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดที่ 7 ข้อ 3.9 ระบุว่าการทำร้ายหรือพยายามทำร้ายร่างกายผู้อื่นในบริเวณบริษัทฯ เป็นการกระทำผิดวินัยกรณีร้ายแรงก็ตาม แต่การจะเป็นความผิดวินัยกรณีร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นประกอบด้วย หาใช่ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแต่อย่างเดียวไม่
การที่โจทก์ใช้กำลังทำร้ายเพื่อนร่วมงานนั้น เหตุเกิดขึ้นในห้องพนักงานสำรวจอุบัติเหตุในเวลาประมาณ 05.30 นาฬิกา เป็นเวลาก่อนการทำงานตามปกติของพนักงานทั่วไป และเมื่อมีผู้เข้าห้ามปรามก็เลิกรากันไป จึงไม่เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของจำเลย การกระทำของโจทก์จึงเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยไม่เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ จำเลยจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
แต่การที่โจทก์ใช้กำลังทำร้ายเพื่อนร่วมงาอันเป็นการฝ่าฝาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
(6) พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...