ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

 

ทั้งนี้ ให้ ยธ. ไปดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอจัดตั้ง การดำเนินงาน และการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2557 ข้อ 8 และให้แจ้งผลการดำเนินการตามระเบียบดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป

 

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

 

1. กำหนดให้มี “กองทุนยุติธรรม” มีวัตถุประสงค์เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความ ยุติธรรม การประกันตัวบุคคล การช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา การช่วยเหลือ     ผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ ประชาชน

 

2. กำหนดให้กองทุนประกอบด้วยเงินหรือทรัพย์สิน เงินทุนประเดิมที่รัฐจัดสรรให้ เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินสมทบประเภทค่าธรรมเนียมศาล  ที่ได้รับการจัดสรรประจำปี เงินสมทบประเภทเงินและทรัพย์สินที่ได้จากการบังคับหลักประกันตัวผู้ต้องหา และจำเลยในคดีอาญาที่หลบหนีการปล่อยชั่วคราวที่ได้รับการจัดสรรประจำปี เงินสมทบประเภทค่าปรับในคดีอาญาที่ได้รับการจัดสรร เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับช่วงสิทธิเพื่อไล่เบี้ยกับผู้กระทำความผิด อาญาหรือผู้ก่อให้เกิดความเสียหายที่แท้จริง เป็นต้น และให้เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม ประกันตัวบุคคล สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นต้น

 

3. กำหนดให้จัดตั้ง “สำนักงานกองทุนยุติธรรม” ขึ้นใน ยธ. โดยให้สำนักงานมีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการให้แก่คณะกรรมการ คณะกรรมการอิสระ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการอิสระแต่งตั้ง และรับคำขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม คำขอรับการช่วยเหลือการประกันตัวบุคคล คำขอรับการช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา คำขอรับการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และคำขอรับการสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และ คำอุทธรณ์ เป็นต้น

 

4. กำหนดให้มี “คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม” มีอำนาจและหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางดำเนินงานของกองทุน

 

5. กำหนดให้คณะกรรมการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ” อย่างน้อยหนึ่งคณะให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ยื่นคำขอใน ทุกภารกิจของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด โดยคำนึงถึงความรวดเร็วและประสิทธิภาพของการช่วยเหลือประชาชนเป็นสำคัญ

 

6. ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการประจำจังหวัด” ขึ้นทุกจังหวัดเพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ไม่ได้รับความเป็น ธรรมเฉพาะกรณีการให้ค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม การประกันตัวบุคคล และการช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา

 

7. กำหนดให้ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมอาจยื่นคำขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการใน การเข้าถึงความยุติธรรมในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีอื่นใด โดยยื่นคำขอที่สำนักงานหรือสำนักงานยุติธรรมจังหวัด

 

8. ผู้ต้องหา จำเลยในคดีอาญาหรือบุคคลที่ถูกคุมขังตามกฎหมายอาจยื่นคำขอรับการประกันตัว บุคคลโดยยื่นคำขอที่สำนักงานหรือสำนักงานยุติธรรมจังหวัด

 

9. ผู้ต้องหาหรือจำเลยคดีอาญาและผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจ ยื่นคำขอรับความช่วยเหลือโดยยื่นคำขอที่สำนักงานหรือสำนักงานยุติธรรม จังหวัด

 

10. กำหนดให้คณะกรรมการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการอุทธรณ์” อย่างน้อยหนึ่งคณะให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์คำขอรับค่าใช้จ่ายในการ เข้าถึงความยุติธรรมคำขอรับการประกันตัว คำขอรับความช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา คำขอรับความช่วยเหลือจากบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และคำขอรับการสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

 

11. กำหนดให้จัดตั้ง “คณะกรรมการอิสระ” ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุน

 

12. กำหนดบทเฉพาะกาลให้โอนบรรดาเงินงบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิและหนี้สินของกองทุนยุติธรรมในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2553 ไปเป็นของกองทุนยุติธรรมตามพระราชบัญญัตินี้



01/Dec/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา