ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ในงานเสวนา 25 ปี ประกันสังคมพร้อมเปลี่ยนแปลงสู่ทศวรรษหน้า ปฏิรูปอย่างไร จึงจะโดนใจผู้ประกันตน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้นั้น พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เดินทางมาเป็นประธานในงาน พร้อมกล่าวปาฐกถา ระบุว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะต้องมีการปฏิรูปใน 4 ประเด็นด้วยกัน
หนึ่ง ต้องเปิดเผยข้อมูลการทำงานต่อสาธารณชนในทุกเรื่อง
สอง ตรวจสอบได้จากองค์กรเอกชนที่เชี่ยวชาญ มั่นคง ยั่งยืน พึ่งพิงได้ และเพิ่มสิทธิให้กับผู้ประกันตน เนื่องจากผู้ประกันตนต้องการรับบริการที่ดี
สาม ต้องมีการสำรวจความพึงพอใจจากผู้ประตนอย่างสม่ำเสมอ เพราะเงินกองทุนเป็นของผู้ประกันตนและผู้ประกอบการ และสี่ ต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารไปสู่อนาคต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน บอกว่า เรื่องเหล่านี้สามารถทำได้ทันที และจะติดตามงานอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้ นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้กองทุนประกันสังคมและกองทุนทดแทนต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารงาน
ด้าน นายรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิตย์ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม บอกว่า โดยรวมแล้วทุกคนก็อยากจะมุ่งไปสู่ความพึงพอใจของผู้ประกันตน ประชาชนและสังคม ให้ทุกฝ่ายชื่นชมประกันสังคมกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามในที่ประชุมบางส่วนก็มองว่า ในบางเรื่องที่ทำอย่างถูกต้องมา แต่อาจจะมีการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่เข้าถึง ไม่ตอบโจทย์ และไม่โดนใจ ซึ่งต้องมีการเพิ่มเสริมการประชาสัมพันธ์ต่อไป
นอกจากนั้น บางส่วนเห็นว่า กฎ ระเบียบ กฎหมายที่ไม่ใช่พระราชบัญญัติก็ต้องมีการมาสำรวจตรวจสอบแก้ไข เพื่อให้เหมาะสมด้วย ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะรวบรวมไว้เพื่อนำไปดำเนินการต่อไป
นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เห็นว่า ควรปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ทั้งระบบ เพราะอีก 30 ปีข้างหน้า เงินกองทุนจะหมดลงจากการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ
เขาเสนอว่า ควรมีการขยายอายุเกษียณของผู้ประกันตน จาก 55 ปี เป็น 60 ปี เพิ่มฐานเงินเดือนขั้นต่ำที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้มากกว่า 1,650 บาท และขยับเพดานเงินเดือนที่เรียกเก็บออกไปให้สูงกว่า 15,000 บาท
เพิ่มอัตราเงินสมทบที่เรียกเก็บมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และต้องลงทุนต่อปี ให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10 นอกจากนี้ สปส.ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ซึ่งพบว่า มีวงเงินใช้จ่ายมากถึง 4,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2 ของเงินกองทุน
ขณะที่ นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ย้ำว่า สปส.ต้องเป็นองค์กรอิสระ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน และต้องเปิดกว้างให้นายจ้างและลูกจ้างจากกลุ่มต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร และตรวจสอบ นอกจากนี้ สปส.ต้องนำข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการชุดต่างๆ รวมทั้งการลงทุน และผลตอบแทน เปิดเผยให้ผู้ประกันตนทราบต่อเนื่อง
อย่างไรตามในวันเดียวกับที่มีการจัดงานเสวนาดังกล่าวก็มีเสียงสะท้อนปัญหาระบบประกันสังคมจากฝ่ายของนักวิชาการ โดย รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะเลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ระบุว่า บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษากว่า 1 แสนคนที่ไม่ใช่ข้าราชการอยู่ในกองทุนประกันสังคมด้วย
เมื่อรวมเงินจากทั้ง 3 ส่วนคือ ลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ ต้องจ่ายเข้ากองทุนจำนวน 1,925.50 บาทต่อเดือน ซึ่งมากกว่ารัฐแบกภาระต่อหัวข้าราชการเดือนละ 1,000 บาทต่อสิทธิ์ข้าราชการ 1 ราย แต่เมื่อเปรียบเทียบสิทธิการรักษาโดยเฉพาะการได้รับยากลับได้รับสิทธิที่ด้อยกว่ามาก
เขายกตัวอย่าง ยา 5 กลุ่ม คือ 1.ยาไขมันในบัญชียาหลักแห่งชาติ 2.กลุ่มยาไวรัสตับอักเสบบีและซี 3.ยาลดกรด 4.ยาต้านเชื้อรา และ 5.ยาแก้ปวด โดยรวมข้าราชการได้ใช้ยาที่ดีกว่า แต่ประกันสังคมใช้ยาราคาถูกแต่ต้องเพิ่มขนาดรับประทานและมีผลข้างเคียงต่อร่างกายมากกว่า
"บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาจำนวนกว่าแสนคนที่ไม่ใช่ข้าราชการ นอกจากจะมีสัญญาจ้างแบบพนักงานมหาวิทยาลัย มีความเสี่ยงในหน้าที่การงานสูงแล้ว ต้องมาเสี่ยงเพิ่มกับการได้รับยา ร่วมชะตากรรมกับพี่น้องผู้ประกันตนอีกหลายล้านคน เรียกว่า เสี่ยงเบิ้ลสองเด้ง ถึงเวลาหรือยัง ที่จะปฏิรูประบบประกันสุขภาพ คืนความสุขให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศอย่างเท่าเทียมกัน"
กรุงเทพธุรกิจ 21 พฤศจิกายน 2557
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...