ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประกาศใช้แล้ว : กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557

เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ได้มีการประกาศใช้กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๕๗

 

เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดให้นายจ้างอาจจ้างลูกจ้างอายุตั้งแต่สิบสามปีบริบูรณ์ทำงานในช่วงระยะ เวลาโรงเรียนปิดภาคเรียนหรือนอกเวลาเรียนได้ในงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพอนามัยหรือเป็นงานที่ไม่ขัดต่อการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็ก โดยได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็ก ซึ่งไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการให้ความคุ้มครองแรงงาน ที่เป็นเด็กมากขึ้น ตามอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๓๘ ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้จ้างงานได้  ค.ศ. ๑๙๗๓ และอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๘๒ ว่าด้วยการห้ามและการปฏิบัติ

 

โดยฉับพลันเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็กค.ศ.๑๙๙๙ ซึ่งกำหนดอายุขั้นต่ำของแรงงานทั่วไปตั้งแต่อายุสิบห้าปีขึ้นไป ประกอบกับได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

 

ในกรณีดังกล่าวแล้ว จึงสมควรปรับปรุงมาตรฐานการคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมซึ่งเป็นเด็ก ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมายว่าด้วยการ คุ้มครองแรงงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานซึ่งเป็น นโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

กฎกระทรวง ระบุว่า    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้


ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๔๗


ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้ “งานเกษตรกรรม” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์การป่าไม้ การทำนาเกลือสมุทร และการประมงที่มิใช่การประมงทะเล


 

ข้อ ๓ ให้นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกษตรกรรมตลอดปีปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑


 

ข้อ ๔ ในงานเกษตรกรรมซึ่งมิได้จ้างลูกจ้างตลอดปีและมิได้ให้ลูกจ้างทำงานในลักษณะที่ เป็นงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากงานดังกล่าว ให้นายจ้างปฏิบัติตามมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๒  มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ มาตรา ๓๗ มาตรา ๔๐  มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๓  มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๗๐ มาตรา ๗๖ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔  มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๒๓ มาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๔  มาตรา ๑๓๖ มาตรา ๑๓๗ มาตรา ๑๓๙ มาตรา ๑๔๐ มาตรา ๑๔๒ และมาตรา ๑๔๓  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑  มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ มาตรา ๕๑ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๔/๑  มาตรา ๑๒๕ มาตรา ๑๓๕ และมาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้


ข้อ ๕ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งร้อยแปดสิบวันมีสิทธิหยุดพักผ่อนได้ไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่ นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

 

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดพักผ่อนเสมือนว่าลูกจ้างมาทำงานตามปกติในวันหยุดพักผ่อนนั้น


ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดพักผ่อนตามวรรคหนึ่งให้นายจ้างจ่ายค่าทำงาน ในวันหยุดแก่ลูกจ้างเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อ ชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่า จ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่า จ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย


ข้อ๖ ในกรณี ที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนหรือจัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนน้อย กว่าที่กำหนดไว้ตามข้อ ๕ ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าหนึ่ง เท่าของอัตราค่าจ้างในวันทำงานเสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด

 

ข้อ ๗ ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจ แสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้
ให้ลูกจ้างชี้แจงนายจ้างทราบ


ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันทำงาน


ข้อ ๘ ให้นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มโดยมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้าง

 

 

กรณีลูกจ้างพักอาศัยอยู่กับนายจ้างนายจ้างต้องจัดหาที่พักอาศัยที่สะอาดถูกสุขลักษณะและปลอดภัยให้แก่ลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดสวัสดิการอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกำหนด


ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

 

ดูกฎกระทรวงทั้งฉบับได้ที่นี่ครับ click ตรงบริเวณนี้ครับ

 



23/Dec/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา