ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

การเล่นการพนันในบริเวณบริษัท ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานอย่างร้ายแรง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่  1839/2554 ระหว่าง นายเล็ก นาแฉล้ม ในฐานะโจทก์ และบริษัทยานากาว่า เทคโนฟอร์จ (ไทยแลนด์) จำกัด ในฐานะจำเลย

 

สาระสำคัญ

 

โจทก์กับเพื่อนพนักงานรวม 7 คน ร่วมกันเล่นการพนันในบริเวณบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้าง เป็นการกระทำฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าพนักงานต้องประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่ประพฤติตนไปในทางนำความเสื่อมเสียมาสู่ตนและหมู่คณะ ต้องไม่กระทำการผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญาโดยเจตนาถึงแม้ว่าจะไม่ถูกดำเนินคดีก็ตาม ต้องไม่เล่นการพนันขันต่อทุกชนิด

 

การฝ่าฝืนมีโทษทางวินัยโดยการไล่ออก การเล่นการพนันนอกจากเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดอาชญากรรม เป็นชนวนให้เกิดการวิวาทบาดหมางในหมู่ลูกจ้างด้วยกัน ทำลายความสามัคคีของหมู่คณะ ทั้งยังทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำผิดครั้งแรกและโจทก์สำนึกผิดหรือไม่ก็ตาม

 

การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นเพียงการกระทำผิดวินัยที่ทำให้เสียหายด้านชื่อเสียงต่อจำเลยเพียงอย่างเดียวอันจะลงโทษด้วยการตักเตือนเท่านั้น

 

แต่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49

 

 

คำพิพากษาฉบับย่อ

 

โจทก์ฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย จำนวน 147,550 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 23,116.17 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์และให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิม หรือในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าเดิมอัตราค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเดิม หรือไม่ต่ำกว่าเดิมพร้อมทั้งให้นับอายุงานต่อเนื่องให้โจทก์เสมือนไม่มีการเลิกจ้าง หากจำเลยไม่สามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมได้ ขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวน 250,835 บาท

 

จำเลยให้การว่า ขอให้ยกฟ้อง

 

ศาลแรงงานภาค 2 พิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

 

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่หัวหน้างานส่งเสริมการผลิต เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2549 เวลา 3.30 นาฬิกา โจทก์กับเพื่อนพนักงานรวม 7 คน รวมกันเล่นการพนันประเภทไฮโลว์ บริเวณโรงเก็บเหล็กของจำเลย

 

เมื่อพิจารณาจากประเภทของการพนันและการรวมกลุ่มกันเล่นการพนันของโจทก์กับพนักงานรวมถึง 7 คน ประกอบกับผู้ร่วมเล่นการพนันถือธนบัตรและวางเงินบนแผ่นอุปกรณ์การเล่นไฮโลว์เป็นจำนวนเงินไม่น้อย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีที่ร้ายแรง

 

จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119(4) และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่มีเหตุสมควรหรือไม่

 

โดยโจทก์อุทธรณ์ว่าการกระทำของโจทก์เป็นกระทำผิดฐานเล่นการพนันเป็นครั้งแรกและเป็นการกระทำผิดทางวินัยในด้านชื่อเสียงต่อบริษัท จึงต้องลงโทษโดยการตักเตือนด้วยวาจาหรือตักเตือนเป็นหนังสือหรือพักงาน หาอาจลงโทษโดยการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ไม่

 

ทั้งนี้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 8.2 เรื่องบทลงโทษ 8.2.1 ถึง 8.2.5 การเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่มีเหตุอันสมควร 

 

เห็นว่า ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย บทที่ 8 วินัยและการลงโทษ การประพฤติปฏิบัติซึ่งถือว่าผิดวินัยของจำเลยมีดังนี้.....8.1.7 ความประพฤติ 8.1.7.1 “พนักงานต้องประพฤติตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่ประพฤติตนไปในทางที่จะนำความเสื่อมเสียมาสู่ตนและหมู่คณะ หรือบริษัท” 8.1.7.5 “พนักงานต้องไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญาโดยเจตนา ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกดำเนินคดีก็ตาม” 8.1.7.10 “พนักงานต้องไม่เล่น.......การพนันขันต่อทุกชนิด.....”

 

ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณาลงโทษทางวินัย ตามข้อ 8.2.5 โดยการไล่ออก (เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย)

 

ผู้มีอำนาจลงโทษมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาลงโทษดังนี้....เมื่อพนักงานได้กระทำการอันเป็นการผิดวินัยร้ายแรง นอกจากนี้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ยังให้อยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะนำหลักตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาบังคับใช้ได้เพื่อประโยชน์ของจำเลยในการบริหาร โดยให้เกิดความเป็นธรรมและเสมอภาคแก่พนักงานทุกคน

 

 

การที่โจทก์กับพวกเล่นการพนันประเภทไฮโลว์ในบริเวณบริษัทจำเลย นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดอาชญากรรม เป็นชนวนให้เกิดการวิวาทบาดหมางในหมู่พนักงานด้วยกันทำลายความสามัคคีของหมู่คณะทั้งยังทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลงและอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำผิดครั้งแรกและโจทก์สำนึกผิดหรือไม่ก็ตาม

 

การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการผิดวินัยร้ายแรงตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยและเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีที่ร้ายแรง

 

จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)

 

การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นเพียงการกระทำผิดวินัยที่ทำให้เสียหายด้านชื่อเสียงต่อจำเลยเพียงอย่างเดียว อันจะลงโทษได้โดยการตักเตือนเท่านั้น

 

เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีที่ร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลสมควร

 

การเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

 

พิพากษายืน

 

(สุนทร ทรงฤกษ์ - ดิเรก อิงคนินันท์ - อนันต์ ชุมวิสูตร)

ศาลแรงงานภาค 2 - นายศิริชัย คุณจักร



29/Dec/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา