ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เปิดเพลงลิขสิทธิ์ของบริษัทในร้านอาหาร แต่ไม่ปรากฎว่าเพื่อหากำไร ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

ถ้าท่านเปิดเพลงให้ลูกค้าฟังในร้านอาหาร แต่ไม่ได้นำเพลงไปสร้างผลกำไรให้แก่ร้านตนเอง ตัวอย่างเช่น นำไปจัดทำเป็นคาราโอเกะ , มีการเล่นดนตรีสดในร้านอาหาร ถือว่าไม่ผิด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ทั้งสิ้น เพราะมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่   8220/2553 ที่ชัดเจนแล้วในเรื่องนี้

 

หากตำรวจจะเข้ามาจับกุมท่านต้องมีหมายค้นที่อนุมัติโดยศาลจังหวัดเท่านั้น หากถูกสั่งให้ไปโรงพักท่านมีสิทธิ์ที่จะไม่ไป ให้ขอดูหมายค้นเป็นสำคัญเท่านั้น หรือยื่นเอกสารฉบับนี้ให้ตำรวจคนนั้นรับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ทั้งนี้หมายค้นต้องมาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นสัญญาบัตร ที่มีชื่อระบุในหมายค้น ผู้ประกอบการสามารถอนุญาตให้เฉพาะคนที่มีชื่อในหมายค้นเข้าตรวจสอบภายในร้าน ผู้ที่ไม่ปรากฎชื่อในหมายค้น ท่านไม่ควรให้เข้าไปในร้าน
 

เมื่อพนักงานอัยการจังหวัดระยองเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางสุรินทร์ คำพวง ในฐานะจำเลย

 

โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรง จากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลง โดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด

 

การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์

 

แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

 

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 27, 28, 29, 30, 31, 69, 70, 75, 76 ริบโทรทัศน์สี เครื่องเล่นซีดี ดีวีดี และให้แผ่นซีดีเพลงจำนวน 19 แผ่น ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ของกลางตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และสั่งจ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่ง เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

 

จำเลยให้การรับสารภาพ

 

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ของกลางคืนให้แก่เจ้าของ

 

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เห็นว่า

 

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน...”

 

ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน “เพื่อหากำไร” ซึ่งหมายความว่า กำไรนั้นหากจำเลยได้มาหรือจะได้มาจะต้องเกิดจากการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

 

แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลง โดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลง หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด

 

การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อ หากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธี พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

 

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

 

พิพากษายืน

(ไมตรี ศรีอรุณ - อร่าม เสนามนตรี - สมควร วิเชียรวรรณ )

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายวราคมน์ เลี้ยงพันธุ์

 

ข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

 

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการหลายรายถึงพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่อ้างสิทธิในการดำเนินคดีกับผู้ประกอบการร้านอาหาร สถานบันเทิงที่ใช้งานลิขสิทธิ์เพลงสากลในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ เช่น เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวจะร่วมกันเป็นทีมไม่ต่ำกว่า 5 คน โดยอ้างว่าเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงสากล เข้าตรวจสอบสถานประกอบการร้านอาหาร ผับ บาร์ ที่เปิดเพลงสากลและเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ โดยเรียกเก็บค่าเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงสากลเพลง หากไม่จ่ายก็จะถูกจับกุมและนำตัวไปสถานีตำรวจพร้อมเรียกค่ายอมความในอัตราที่สูง


กรมทรัพย์สินทางปัญญา จึงขอแจ้งเตือนผู้ประกอบการที่ใช้งานลิขสิทธิ์เพลงสากลให้ระวังกรณีดังข้างต้นและขอให้ผู้ประกอบการดำเนินการ ดังนี้


1.ขอดูหลักฐานว่ามีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือไม่ และจับกุมดำเนินคดีข้อหาใด


2. ขอดูเอกสารหลักฐานว่าผู้แจ้งความร้องทุกข์เป็นตัวแทนรับมอบอำนาจจริวหรือไม่ โดยดูจากหนังสือมอบอำนาจว่าให้สิทธิในการดำเนินคดีหรือไม่ หนังสือมอบอำนาจหมดอายุหรือไม่ กรณีมอบอำนาจช่วงหนังสือมอบอำนาจจะต้องไม่ขาดสาย (มีหนังสือมอบอำนาจครบทุกช่วงที่มีการมอบอำนาจ) หนังสือรับรองสิทธิจากเจ้าของลิขสิทธิ์ระบุยืนยันลิขสิทธิ์เพลงอะไรบ้าง


3. สอบถามให้ชัดเจนว่าเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ลิขสิทธิ์ชื่อเพลงอะไร ของค่ายเพลงใด


4. ทุกครั้งที่มีการกล่าวหาว่ากระทำผิดจะต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมจับกุมด้วย


5. ควรบันทึกภาพเสียงและพฤติกรรมของผู้แจ้งความร้องทุกข์ กลุ่มบุคคลที่ร่วมจับกุม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่มาจับกุมไว้ด้วย


ทั้งนี้หากไม่มีการแสดงหลักฐานข้างต้น ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ตรวจสอบหลักฐานของผู้แจ้งความร้องทุกข์ก่อน และควรตรวจสอบข้อมูลการแจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงต่อคณะกรรมการกลางว่า ด้วยราคาสินค้าและบริการ(กกร.) ในเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาก่อนเจรจาจ่ายค่ายอมความคดี
 

ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักลิขสิทธิ์ โทร. 02-547-4633 ,02-547-4634



09/Jan/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา