ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ศาลสั่ง กทม.สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการทุกสถานีบีทีเอส

วันที่ 21 ม.ค. เวลา 13.30 น. ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ในคดีที่นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอภาค กับพวกจำนวน 3 คน ฟ้อง กทม. ผู้ว่าฯ กทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม. และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ในข้อหาร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่กำหนดให้ต้องจัดสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกทั่วบริเวณสถานี และบนขบวนรถสำหรับคนพิการที่มาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนบีทีเอส    

โดยมีคำสั่งให้ กทม.จัดทำลิฟต์ขึ้นลงสำหรับผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้ง 23 สถานี และให้จัดทำอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทั้ง 23 สถานี และให้ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส

 

โดยให้เว้นที่สำหรับจอดเก้าอี้เข็นคนพิการ ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 120 ซม. และให้ราวจับสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. บริเวณทางขึ้นลง และติดสัญลักษณ์คนพิการไว้ทั้งในและนอกตัวรถที่จัดให้สำหรับคนพิการ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 และตามระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามคำสั่งศาลให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี หลังจากมีคำพิพากษา

 

พลังคนพิการ


โดยศาลปกครองสูงสุด พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ กทม. โดย ผู้ว่าฯ กทม. และบีทีเอส ได้ทำสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2534 ก่อนที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจะออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกความตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ และคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ จะออกระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่ง อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. 2544 ไม่อาจใช้บังคับสัญญาสัมปทานดังกล่าวก็ตาม  

 

แต่เมื่อกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของ กทม. ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารสถานีขนส่งมวลชนที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย

 

แต่ในข้อเท็จจริงคดีนี้ ปรากฏว่า กทม.ได้จัดทางขึ้น-ลง และลิฟต์อำนวยความสะดวกแก่คนพิการเพียง 5 สถานี จากสถานีขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี และไม่ได้แสดงให้ศาลเห็นว่า เหตุที่ไม่ได้จัดทางขึ้น-ลง และลิฟต์อำนวยความสะดวกแก่คนพิการในอีก 18 สถานี เกิดจากข้อจำกัดอันใด  

 


นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามเอกสารสรุปการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าฯ กทม. รายงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามหนังสือที่ กท 4000/3314 ลงวันที่ 4 พ.ค.2542 แสดงให้เห็นว่าอยู่ในวิสัยที่ กทม. โดยผู้ว่าฯ กทม.จะจัดอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ให้เป็นไปตามกฎหมายได้

 

อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2552 ศาลปกครองกลางได้พิพากษายกฟ้องในคดีนี้ โดยระบุว่า แม้ขณะนั้นจะมี พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ใช้บังคับ แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดรายละเอียดของอาคาร สถานี และยานพาหนะ ที่จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่อย่างใดนั้น การที่กทม. ผู้ว่าฯกทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม. และ บมจ.บีทีเอส ไม่ได้ก่อสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวก จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายในขณะนั้นใช้บังคับและไม่อาจถือว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรแต่อย่างใด

 

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 21 ม.ค. 2558

 



22/Jan/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา