ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

จริงหรือคนเสียเปรียบ! ก.ม.คุ้มครองสัตว์ EP.1 เปิดปฐมบท ทำไมต้องมี

"เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากสัตว์เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกและเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งแวดล้อม จึงควรได้รับการคุ้มครองมิให้ถูกกระทำทารุณกรรม และเจ้าของสัตว์ซึ่งนำสัตว์มาเลี้ยงจะต้องจัดสวัสดิภาพให้เหมาะสมตามประเภท และชนิดของสัตว์ ทั้งในระหว่างการเลี้ยงดู การขนส่ง การนำสัตว์ไปใช้งาน หรือใช้ในการแสดง ดังนั้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้สัตว์ได้รับการคุ้มครองตามธรรมชาติอย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"

 

นี่คือหมายเหตุทิ้งท้าย ในราชกิจจานุเบกษา ของ พ.ร.บ.ป้องการการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ ปี 2557 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือ และ คุ้มครองสัตว์ และนี่เอง! คือเครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือชีวิตน้อยๆ เพื่อนร่วมโลกของเรา

 

เรียกว่าเฮกันทั่วบ้านทั่วเมือง สำหรับ "คนรักสัตว์" เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ หลังจากเกิดเหตุสะเทือนใจกับเหตุการณ์สัตว์เลี้ยงแสนรักถูกทำร้าย หลายครั้งหลายครา แต่กฎหมายไทยในฉบับเก่า ก็เอาผิดอะไรไม่ได้มากกับผู้ลงมือ ทำได้เพียงแค่ลงโทษปรับเงินกี่บาทแล้วก็ต้องปล่อยตัวไป แต่ปัจจุบัน เรียกว่า พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือแล้ว เพราะกฎหมายใหม่ หนักหน่วงรุนแรง เรียกว่าหากจะลงมือทำอะไร ควรตระหนักไว้สักนิดว่า "การเตะหมา โทษหนักกว่าการเตะคนอีกนะ"

 

ที่มาที่ไปของการผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ ในครั้งนี้ ต้องเล่าย้อนไปถึงเมื่อปีที่แล้ว ได้เกิดเหตุสะเทือนขวัญกับคนรักสุนัข เมื่อพบภาพที่แชร์ในโลกออนไลน์ คือภาพสุนัข 2 ตัว ถูกแขวนคอตายอย่างโหดเหี้ยม ภายในปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง ริมถนนสาย 36 ขาเข้าพัทยา กระทิงลาย หมู่ 7 ต.หนองปลาไหล อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ที่สำคัญ มีสุนัข 1 ใน 2 ตัว ซึ่งเป็นเพศเมีย กำลังต้องท้องได้ 6-7 เดือน ตายอย่างน่าสังเวชลิ้นจุกปาก และด้วยพลังโซเชียลมีเดียที่เปรียบเสมือนแรงกดดัน ทำให้ผู้กระทำผิดมามอบตัวในที่สุด

 

นายมานะ นัทธีประเสริฐ อายุ 44 ปี ชาวบ้าน ต.บางปูใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ ยอมรับว่าเป็นเจ้าของสุนัขและเป็นคนลงมือแขวนคอหมาตัวเองอย่างโหดเหี้ยม ซึ่งเจ้าตัวอ้างว่า...

 

"ปกติเป็นคนรักสัตว์และสุนัขมาก เคยมาให้ข้าวให้น้ำเป็นประจำ แต่วันนั้นหลังกลับจากธุระ เห็นสุนัข 2 ตัว กำลังนอนอยู่บนรถ รู้สึกโมโหมาก จึงบันดาลโทสะใช้เชือกมัดสุนัขกับขื่อเหล็ก แล้วค่อยๆ ดึงสุนัขแขวนคอ จากนั้นได้ขับรถไปหัวหิน แต่เมื่อมาเห็นข่าวก็ทำอะไรไม่ถูก และรู้สึกสำนึกผิด จึงอยากขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น" หนุ่มผูกคอฆ่าหมา กล่าวกับเจ้าหน้าที่

 

อย่างไรก็ตามในตอนนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีความผิดลหุโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท และจำคุกไม่เกิน 1 เดือน 

 

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ดารา-นางแบบ หลายคน รวมถึงองค์กรพิทักษ์สัตว์ ได้รณรงค์อย่างจริงจังเพื่อให้รัฐบาลเดินหน้าออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ โดยเฉพาะได้มีการยื่นหนังสือไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ให้บรรจุเรื่องนี้เสียที เพราะที่ผ่านมา พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้แนวคิดที่เสนอเข้าสภาฯ มาแล้วหลายรัฐบาล แต่เมื่อมีรัฐบาลปกติก็กลับมองข้ามเรื่องดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถออกเป็นกฎหมายช่วยเหลือสัตว์ต่างๆได้เสียที ดังนั้นจะเรียกว่าเป็นความ "โชคดี" ของชีวิตน้อยๆ เหล่านี้ก็ได้ เพราะเมื่อมีรัฐบาล คสช. ซึ่งมีที่มาด้วยวิธีพิเศษ​จึงทำให้หลายฝ่ายมีการผลักดันรวมไปถึงดารานักแสดง และคนมีชื่อเสียงด้วย

 

เก๋ ชลลดา เมฆราตรี ดารา-นางแบบสาว ก่อตั้งมูลนิธิที่คอยช่วยเหลือสัตว์ ชื่อว่า thevoicefoundation หรือเรียกอีกอย่างว่า มูลนิธิ "เดอะวอยซ์เสียงจากเรา" ที่รวบรวมเหล่าบรรดาคนผู้มีใจเมตตา อยากช่วยเหลือสัตว์เข้าด้วยกัน อาทิ บุ๋ม-ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, ชัญญา ทามาดะ และ โย-ยศวดี หัสดีวิจิตร ที่เธอได้ช่วยชีวิต กระต่ายน้อยตาบอด ที่กำลังจะถูกนำไปเป็นอาหารงู

 

ทั้งนี้ดาราหลายคน เลือกที่จะใช้พื้นที่โซเชียลมีเดียส่วนตัว ในการรณรงค์ เช่น เก๋-ชลลดา ก็โพสต์อินสตาแกรมส่วนตัวเรียกร้องขอ พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ ภาคประชาชน + ข้อห้ามทารุณกรรมสัตว์ 20 ข้อ โดยผนึกรวมกับพันธมิตรแฟนเพจช่วยเหลือสัตว์ต่างๆ จนได้รายชื่อสนับสนุนหลายแสนชื่อมายื่นให้กับ สนช. กระทั่ง กฎหมายฉบับดังกล่าวได้ผ่านสภาฯ ในที่สุด

 

เมื่อเริ่มใช้ก็ต้องมีผู้ประเดิม โดยรายแรกที่ถูกดำเนินคดี จาก พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ คือ นายคำดี โคตรถา อายุ 50 ปี ชาวบ้านจังหวัดหนองคาย โดยได้ใช้มีดฟันที่ใบหน้าเจ้า "ก้านกล้วย" หมาพันธุ์ทาง ตัวสีแดง จนมีแผลยาว เย็บกว่า 100 เข็ม ซึ่งแพทย์ต้องช่วยเหลือด้วยการเย็บที่บริเวณใบหน้าใกล้กับปากถึง 3 ชั้น อย่างไรก็ดี นายคำดี อ้างว่า ถูกสุนัขไล่กัดจึงหยิบมีดขว้างใส่ แต่ไม่ได้หวังให้ตาย แต่สุดท้าย ศาลตัดสินจำคุก 1 ปี ปรับ 2 พันบาท โดยโทษจำให้รอลงอาญา 1 ปี

 

อย่างไรก็ดี หลังการใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ หลายคนก็เกิดคำถามค้างคาใจขึ้นมากมาย โดยเฉพาะคำถามที่ว่า "หากเราถูกหมาไล่กัด เราจะทำอย่างไร ในเมื่อทำร้ายมันไม่ได้!?"

 

และแล้วเรื่องที่ทุกคนสงสัยก็เกิดขึ้น โดยชาวบ้านในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ที่ประสบกับปัญหากับ พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้ร้องเรียนว่า สุนัขที่เคยเลี้ยงไว้ ได้ทำร้ายบุตรหลาน บุคคลในบ้าน โดยที่เราไม่สามารถตีหรือทำร้ายมันได้ เนื่องจากกลัวว่าจะผิดกฎหมาย 

 

นายประเจิด ภู่อร่าม ชาวบ้านใน จ.ฉะเชิงเทรา ผู้เป็นตาของหนูน้อยวัยขวบเศษ ที่ถูกสุนัขจรจัดเข้ามากัดในบ้าน โดยกล่าวอย่างน่าสนใจว่า "พ.ร.บ.ฉบับนี้ ออกมานั้นทำกันขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสุนัข แต่ไม่ได้คุ้มครองคน ทั้งที่สุนัขนั้นได้เข้ามาสร้างความเดือดร้อน ทั้งกัด ทั้งขโมยเป็ดไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ ความเดือดร้อนนี้ ไม่รู้จะไปเรียกร้องค่าเสียหายกับใคร หรือต้องไปเก็บเอากับผู้ที่ออก พ.ร.บ.ฉบับนี้ ทั้งที่สุนัขจรจัดนั้นได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ หากมีโรคสุนัขบ้าเกิดระบาดขึ้นจะทำอย่างไร เพราะคนทำอะไรมันไม่ได้ เกรงจะผิดกฎหมาย"

 

บทความโดย ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ เมื่อ 26 ม.ค. 2558



27/Jan/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา