ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
แถลงการณ์เจตนารมณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เมื่อ 31 มกราคม พ.ศ.2558 ยืนยันนิยามคำว่า “ว่างงาน” ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 พร้อมคัดค้านถึงที่สุด ย้ำนิยามในร่างกฎหมายฉบับใหม่ลิดรอนสิทธิ ถือว่าสวนทางกับแนวทางการปฏิรูปประเทศ ที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน
ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557-มกราคม 2558 และการประชุมครั้งล่าสุดของคณะกรรมาธิการฯเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2558 ยังคงยืนยันนิยามคำว่า“ว่างงาน” ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอให้มีการแก้ไขใหม่ในมาตรา 5 ว่าหมายถึง “การที่ผู้ประกันตนต้องหยุดงานเนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง เพราะเหตุลูกจ้างถูกเลิกจ้าง” เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากนิยามกฎหมายฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันว่า “ว่างงาน” หมายรวมถึง กรณีที่ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างและลาออกจากงานในทุกกรณี
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ขอคัดค้านนิยามในร่างกฎหมายฉบับใหม่อย่างถึงที่สุด เพราะถือว่าเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้ประกันตน สวนทางกับแนวทางการปฏิรูปประเทศในขณะนี้ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน ทั้งยังขัดแย้งอย่างมากกับแนวนโยบายของพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่เน้นย้ำว่าสำนักงานประกันสังคมตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ผู้ประกันตน ดังนั้นต้องสร้างมาตรฐานความโปร่งใส ชัดเจน ยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
รวมถึงยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ที่เกิดขึ้นมาจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ที่ช่วงนั้นลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนจำนวนมากต้องถูกเลิกจ้าง ทั้งจากเหตุโดยตรงและข้ออ้างจากสถานประกอบการเพื่อลดต้นทุนการผลิต บีบบังคับให้ลูกจ้างลาออกจากงานเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยจำนวนมาก และมีการบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2547
คสรท. ขอเรียนว่า “แม้ตามหลักการของประกันสังคมกรณีการว่างงานในทั่วโลก จะจ่ายประโยชน์ทดแทนเฉพาะผู้ว่างงานที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น” แต่สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยแล้วมีความแตกต่าง และไม่สามารถนำหลักการนี้มาใช้ได้อย่างแน่นอน
นับตั้งแต่ก่อตั้งคสรท.เมื่อปี 2544 คสรท.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากองค์กรแรงงานทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่เป็น สมาชิกมาตลอดระยะเวลา 14 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่กลุ่มย่านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ภาคตะวันออก, อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, สระบุรี, อยุธยา ที่ลูกจ้างถูกบีบบังคับให้ลาออกภายใต้เงื่อนไขต่างๆ และทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานต้องสิ้น สุดลง ทั้งจากเหตุปิดกิจการเพราะผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจ การย้ายฐานการผลิต การพิพาทแรงงานแล้วเลิกจ้างแกนนำและแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน รวมถึงการใช้มาตรา 75 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้แรงงานหยุดงานชั่วคราว และรวมถึงการให้งดทำงานล่วงเวลา ฯลฯ เพื่อทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง จนทนไม่ไหวต้องลาออกไปเอง
โดยประโยชน์ทดแทนการว่างงาน ที่ระบุเรื่องกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนด ทำให้ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน 30 % ของค่าจ้างรวม 3 เดือน ถือเป็น “คุณค่า”อย่างมากสำหรับแรงงานที่ต้องถูก นายจ้างบีบบังคับให้ออกจากงานด้วยกลวิธีต่างๆ เพราะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระของแรงงานและครอบครัวได้มากในระหว่างช่วงการหา งานทำใหม่
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว คสรท.จึงเห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวาระ 2-3 นั้น หากมีการตัดสิทธิการว่างงานเนื่องจากการลาออก หรือแม้แต่จะเพิ่มเงื่อนไขในการลาออกให้ได้รับสิทธิซึ่งเป็นไปตามที่กฎ กระทรวงระบุไว้นั้น ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะปกป้องไม่ให้แรงงานถูกกลั่นแกล้ง
บทเรียนจากความล่าช้าในการออกกฎกระทรวงของผู้บังคับใช้กฎหมายในพระราช บัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ที่จนบัดนี้หน่วยงานเกี่ยวข้องในกระทรวงแรงงานยังออกกฎกระทรวงไม่แล้วเสร็จ และทำให้แรงงานไม่สามารถได้รับความคุ้มครอง นี้จึงไม่สามารถเป็นหลักประกันใดๆได้เลยว่า แรงงานจะได้รับประโยชน์จากร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่นี้ และในที่สุดแล้วแรงงานหรือผู้ประกันตนก็จะกลายเป็นผู้สูญเสียประโยชน์ทั้ง ที่เป็นผู้จ่ายเงินสมทบ และเป็นเจ้าของเงินที่แท้จริง
รวมทั้งต้องทบทวนให้มีการพิจารณาประเด็นอื่นๆอย่างรอบคอบร่วมด้วย เช่น ควรให้ผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติ ที่ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วสิ้นสุดการทำงานและการเป็นผู้ประกันตน รวมถึงในกรณีที่แรงงานข้ามชาติต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง ให้ได้รับเงินบำเหน็จคืน โดยไม่ต้องรออายุครบ 55 ปี
ท้ายที่สุด คสรท.ขอแสดงเจตนารมณ์ตามที่เป็นมาโดยตลอดว่า หากรัฐบาลต้องการปฏิรูประบบประกันสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิมจริง กฎหมายประกันสังคมจะต้องไม่มีการลิดรอนสิทธิใดๆที่ผู้ประกันตนเคยได้รับมา ก่อน และต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายในการปฏิรูปกฎหมายประกันสังคมให้ เป็นองค์กรอิสระ มีการบริหารงานที่โปร่งใส มีส่วนร่วมจากผู้ประกันตน มีความครอบคลุมในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...