ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กฎหมายบังคับใช้แล้ว ลวนลาม-สูบบุหรี่-ใช้มือถือบนเครื่องบิน โดนโทษหมด

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (14 กุมภาพันธ์ 2558) มีเนื้อหาที่น่าสนใจ คือ ได้กำหนดการกระทำใดที่เป็นความผิดในอากาศยานและบทกำหนดโทษหลายประการ ตั้งแต่โทษปรับ จำคุก รวมถึงประหารชีวิต โดยมีรายละเอียดดังนี้

           มาตรา 7 ผู้อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของ ผู้ควบคุมอากาศยานหรือเจ้าหน้าที่ประจําอากาศยานซึ่งสั่งในนามผู้ควบคุม อากาศยาน ที่เป็นคําสั่งเพื่อ รักษากฎ ระเบียบ และความเรียบร้อยในอากาศยาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

           ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง ที่สั่งเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่อากาศยานหรือแก่บุคคลหรือทรัพย์สินใน อากาศยาน ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

           มาตรา 8 ผู้อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบิน ผู้ใดกระทําการหรือมีสิ่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

                      (1) สูบบุหรี่ในห้องน้ำหรือที่อื่นใดที่มิใช่สถานที่ที่จัดไว้ให้สูบบุหรี่เป็นการเฉพาะ
                      (2) ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาที่ห้ามใช้
                      (3) มีสิ่งที่มีประกาศห้ามมิให้นําขึ้นไปในอากาศยานไว้ในการครอบครอง

           ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทําเพื่อให้เกิดการขัดข้องแก่อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของ อากาศยาน ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

           ความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ควบคุมอากาศยานมีอํานาจรับชําระค่าปรับในอัตราขั้นสูงจากผู้กระทํา ความผิดได้ และเมื่อผู้กระทําความผิดได้ชําระค่าปรับแล้ว ให้คดีเลิกกัน

           มาตรา 9 ผู้ อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินผู้ใดทําให้เครื่องตรวจจับควันหรืออุปกรณ์ อื่นใด ในอากาศยานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของอากาศยานไม่ทํางาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

           มาตรา 10 ผู้อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินผู้ใดใช้กําลังประทุษร้ายผู้อื่น ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 80,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

           มาตรา 11 ผู้อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินผู้ใดกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไป นี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                      (1) กระทําต่อร่างกายผู้อื่นอันเป็นการมุ่งหมายในทางเพศ
                      (2) กระทําการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกํานัลโดยเปลือยหรือเปิดเผยส่วนของร่างกาย
                      (3) ใช้วาจาลวนลามหรือแสดงกิริยาท่าทางอันเป็นการลามกอย่างอื่น

           มาตรา 12 ผู้อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินผู้ใดกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไป นี้ ถ้าการกระทํานั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานหรือ บุคคลในอากาศยาน หรือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎ ระเบียบ และความเรียบร้อยในอากาศยาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                     (1) ใช้กําลังทําร้ายผู้อื่น
                     (2) ทําให้เสียทรัพย์
                     (3) ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือใช้สารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท
                     (4) กระทําด้วยประการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในอากาศยาน

           มาตรา 13 ผู้ อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินผู้ใดกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ถ้าการกระทํานั้นเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ควบคุมอากาศยานหรือ เจ้าหน้าที่ประจําอากาศยาน หรือทําให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ควบคุมอากาศยานหรือเจ้าหน้า ที่ประจําอากาศยานลดลง ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 280,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                      (1) ใช้กําลังทําร้ายผู้ควบคุมอากาศยานหรือเจ้าหน้าที่ประจําอากาศยาน
                      (2) ทําให้ผู้ควบคุมอากาศยานหรือเจ้าหน้าที่ประจําอากาศยานเกิดความกลัวหรือความ ตกใจ โดยการขู่เข็ญ ไม่ว่าจะทําด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด

           มาตรา 14 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในอากาศยานในระหว่างบริการ หรือไม่ยอมออกไปเมื่อผู้ควบคุมอากาศยานได้สั่งให้ออกไปจากอากาศยาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

           มาตรา 15 ผู้อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินผู้ใดทําร้ายร่างกายผู้อื่น ถ้าการกระทํานั้น น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยาน ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 5-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000-400,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

           มาตรา 16 ผู้อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินผู้ใดฆ่าผู้อื่น ถ้าการกระทํานั้นน่าจะเป็นเหตุ ให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยาน ผู้กระทําต้องระวางโทษประหารชีวิต

           มาตรา 17 ผู้อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบิน ผู้ใดยึดหรือเข้าควบคุมอากาศยานโดยใช้กําลัง ประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายผู้อื่น หรือขู่ว่าจะกระทําอันตรายต่ออากาศยานนั้น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่ 10-20 ปี

           มาตรา 18 ผู้ใดกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่ 15-20 ปี และปรับตั้งแต่ 600,000-800,000 บาท

                     (1) ทําลายอากาศยานในระหว่างบริการ
                     (2) ทําให้อากาศยานในระหว่างบริการเสียหายจนเป็นเหตุให้อากาศยานนั้นไม่สามารถ ทําการบินได้ หรือเป็นเหตุหรือน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานใน ระหว่างการบิน
                     (3) วางหรือกระทําด้วยประการใด ๆ เพื่อให้มีการวางในอากาศยานในระหว่างบริการซึ่งวัสดุ หรือสิ่งใด ๆ ที่น่าจะทําลายอากาศยานนั้น หรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายจนเป็นเหตุให้อากาศยานนั้น ไม่สามารถทําการบินได้ หรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายจนน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อความ ปลอดภัย ของอากาศยานในระหว่างการบิน

           มาตรา 19 ผู้ใดใช้อาวุธหรือวัสดุอื่นใดกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ถ้าการกระทํานั้น เป็นอันตรายหรือน่าจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของท่าอากาศยาน ผู้กระทําต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่ 15-20 ปี และปรับตั้งแต่ 600,000-800,000 บาท

                    (1) ทําร้ายร่างกายผู้อื่นในท่าอากาศยานจนเป็นเหตุให้หรือน่าจะเป็นเหตุให้ผู้ อื่นรับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย
                    (2) ทําลายหรือทําให้เสียหายอย่างร้ายแรงต่อท่าอากาศยานหรือสิ่งอํานวยความสะดวก ของท่าอากาศยาน หรือต่ออากาศยานที่จอดอยู่ในท่าอากาศยานซึ่งไม่ใช่อากาศยานในระหว่างบริการ
                    (3) ทําให้การให้บริการของท่าอากาศยานหยุดชะงัก

           มาตรา 20 ผู้ใดใช้อาวุธหรือวัสดุอื่นใดฆ่าผู้อื่นในท่าอากาศยาน ถ้าการกระทํานั้นเป็นอันตราย หรือน่าจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของท่าอากาศยาน ผู้กระทําต้องระวางโทษประหารชีวิต

           มาตรา 21 ผู้ใดทําลายหรือทําให้เสียหายแก่เครื่องอํานวยความสะดวกในการเดินอากาศ ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ หรือทําให้การทํางานของเครื่องอํานวยความสะดวกดังกล่าวขัดข้อง ถ้าการกระทํานั้นเป็นเหตุหรือน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของ อากาศยานในระหว่างการบิน ผู้กระทําต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่ 15-20 ปี และปรับตั้งแต่ 600,000-800,000 บาท

           มาตรา 22 ผู้ใดแจ้งข้อความหรือส่งข่าวสารซึ่งรู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ และการนั้นเป็นเหตุหรือ น่าจะเป็นเหตุให้ผู้ที่อยู่ในท่าอากาศยานหรือผู้ที่อยู่ในอากาศยานในระหว่าง การบินตื่นตกใจ ผู้กระทํา ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

           ถ้าการกระทํานั้นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานในระหว่าง การบิน ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 5-15 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000-600,000 บาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ

           มาตรา 23 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทําความผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 หรือมาตรา 22 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการ

           มาตรา 24 ผู้ใดพยายามกระทําความผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 หรือมาตรา 22 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดสําเร็จ

           มาตรา 25 ผู้ใดตระเตรียมการกระทําความผิดตามมาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 หรือมาตรา 20 ต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กําหนดไว้ในมาตรานั้น

 



16/Feb/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา