ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ณ วันที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 20.38 น. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 179 คน ได้ลงมติเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯดังกล่าว ซึ่งได้พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558
โดยมีผู้เห็นชอบ 173 คน ไม่เห็นชอบ 0 คน งดออกเสียง 5 คน ไม่ลงคะแนน 1 คน
นี้คือ 16 ปี แห่งการเปลี่ยนแปลงกฎหมายฉบับนี้ นับจากครั้งสุดท้าย คือ ปี 2542
นับต่อไปอีก 4 เดือน ภายหลังการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 บังคับใช้กับผู้ประกันตนทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2557 สนช. ได้รับหลักการวาระ 1 ของร่างกฎหมายประกันสังคมที่คณะรัฐมนตรีเสนอ ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างจาก พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 รวม 29 เรื่อง
ซึ่งต่อมาภายหลังการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พบว่า มีการแก้ไขร่างกฎหมายประกันสังคม ซึ่งแตกต่างจากฉบับที่รับหลักการในวาระ 1 รวม 14 เรื่อง
อีกทั้งยังมีผู้ขอแปรญัตติในบางมาตรารวม 7 เรื่อง
อย่างไรก็ตามจากผลการพิจารณาในช่วงลงมติรายมาตราที่คณะกรรมาธิการฯได้มีการแก้ไขและมีผู้ขอแปรญัตติ พบประเด็นสำคัญ 2 เรื่อง คือ
(1) ในมาตรา 40 ที่คณะกรรมาธิการฯได้แก้ไขว่า “การจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลเข้ากองทุนสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน” ซึ่งจากเดิมในร่างรัฐบาลเขียนไว้ว่า “การจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลเข้ากองทุนสำหรับผู้ ประกันตนมาตรา 40 แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน”
ในมาตรานี้ภายหลังการอภิปรายแล้ว ทางคณะกรรมาธิการฯได้ขอแก้ไขในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ ให้คงไว้เหมือนเดิมตามร่างรัฐบาล คือ รัฐสมทบไม่เกินกึ่งหนึ่งที่ผู้ประกันตนสมทบ
(2) ในมาตรา 77 ทวิ คณะกรรมาธิการฯไม่มีการแก้ไข โดยคงไว้ตามร่างรัฐบาล คือ “กำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย สามารถเลือกใช้สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพได้ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนหรือไม่ก็ตาม และไม่ประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทย”
อย่างไรก็ตามในมาตรานี้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขอแปรญัตติโดย “ขอตัดทิ้งทั้งมาตรา” โดยเห็นว่ามีความแตกต่างและไม่เป็นธรรมกับผู้ประกันตนซึ่งมีสัญชาติไทยที่ไม่สามารถขอรับได้ ซึ่งจะขอรับได้เมื่ออายุ 55 ปี
ในมาตรานี้ภายหลังการอภิปรายแล้ว ทางผู้ขอแปรญัตติได้ขอถอนประเด็นที่นำเสนอต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สรุปว่าให้คงไว้เหมือนเดิมตามร่างรัฐบาล คือ ได้รับบำเหน็จชราภาพเมื่อผู้ประกันตนที่ไม่มีสัญชาติไทยได้สิ้นสุดจากความเป็นผู้ประกันตนและเดินทางกลับประเทศต้นทาง
สามารถแสดงเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนได้ในรูปตารางเรียงตามมาตราร่าง พ.ร.บ. ดังนี้
อ่านต่อจนจบได้ที่นี่ครับ click หรือกดตรงนี้ครับ
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...