ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

บริษัทไม่ได้ยุบหน่วยงานที่ลูกจ้างทำงาน แต่บริษัทเลือกเลิกจ้างลูกจ้างเพียงคนเดียวจากลูกจ้างในหน่วยงาน 30 คน โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเหตุผล เป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2557 โดยมีสาระสำคัญของคำพิพากษา ดังนี้

 

  • บริษัทให้การว่าจำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ลูกจ้างทำงาน แต่นำสืบว่าบริษัทต้องการลดตำแหน่งงานโดยไม่ได้นำสืบว่าบริษัทยุบหน่วยงานที่ลูกจ้างทำงาน เท่ากับบริษัทยอมรับว่าบริษัทไม่ได้ยุบหน่วยงานที่ลูกจ้างทำงาน

 

  • คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้กล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้ได้ว่า เหตุใดบริษัทจึงต้องปรับลดหรือยุบแผนกในส่วนที่ลูกจ้างทำงาน มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดที่จะต้องเลิกจ้างลูกจ้าง

 

  • ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่ามีการยุบหน่วยงานที่ลูกจ้างทำงานจึงไม่ชอบ

 

  • อีกทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทพยายามหางานในตำแหน่งเหมาะสมให้ลูกจ้างทำก่อนที่จะเลิกจ้างลูกจ้าง

 

  • ถือได้ว่าบริษัทเลิกจ้างลูกจ้างโดยเลือกปฏิบัติ

 

  • เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง

 

 

  • ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้เป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

 

คำพิพากษา

 

  • ลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับบริษัทรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามสภาพการจ้างเดิม และจ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายนับแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินค่าจ้างดังกล่าวแต่ละเดือนจนกว่าจะรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หากมีเหตุไม่ควรรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ให้บริษัทจ่ายค่าเสียหาย 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ลูกจ้าง

 

  • บริษัทให้การขอให้ยกฟ้อง

 

 

  • ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง

 

  • ลูกจ้างอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 

 

  • ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า บริษัทเลิกจ้างลูกจ้างเพราะบริษัทมีเหตุจำเป็นที่จะต้องยุบแผนกในส่วนที่ลูกจ้างทำงาน โดยที่ไม่มีสาเหตุกลั่นแกล้งลูกจ้าง ลูกจ้างลงลายมือชื่อยอมรับการพ้นสภาพการเป็นพนักงานของบริษัทและรับเงินในส่วนที่ลูกจ้างพึงได้รับแล้ว แล้ววินิจฉัยว่า บริษัทเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

  • คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของลูกจ้างว่าการที่บริษัทเลิกจ้างลูกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ เห็นว่า การวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่ามีเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ

 

  • คดีนี้บริษัทให้การต่อสู้อ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าจำเป็นต้องปรับลดหน่วยงานและยุบหน่วยงานที่ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่อยู่ แม้ในคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจะปรากฏผลแห่งคำวินิจฉัยว่าบริษัทมีเหตุจำเป็นที่จะต้องยุบแผนกในส่วนที่ลูกจ้างทำงาน โดยไม่มีสาเหตุกลั่นแกล้งลูกจ้าง การเลิกจ้างของบริษัทถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมก็ตาม

 

  • แต่คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางดังกล่าวไม่ได้กล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุป และไม่ปรากฏเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดบริษัทจึงต้องปรับลดหรือยุบแผนกในส่วนที่ลูกจ้างทำงาน บริษัทมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลใดที่จะต้องเลิกจ้างลูกจ้าง บริษัทได้พยายามหางานในตำแหน่งที่เหมาะสมให้ลูกจ้างทำก่อนที่จะเลิกจ้างลูกจ้างแล้วหรือไม่ บริษัทเลิกจ้างลูกจ้างโดยเลือกปฏิบัติหรือไม่

 

 

  • การที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้กล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปครบถ้วนและไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง

 

  • แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและข้อเท็จจริงในสำนวนยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้จึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้ดังนี้

 

  • เมื่อบริษัทให้การว่าจำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ลูกจ้างทำงาน แต่บริษัทกลับนำสืบว่าบริษัทต้องการลดตำแหน่งงานโดยไม่ได้นำสืบว่าบริษัทยุบหน่วยงานที่ลูกจ้างทำงานเท่ากับบริษัทยอมรับว่าบริษัทไม่ได้ยุบหน่วยงานดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่ามีการยุบหน่วยงานที่ลูกจ้างทำงานจึงไม่ชอบ

 

 

  • ดังนั้นข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบริษัทไม่ได้ยุบหน่วยงานที่ลูกจ้างทำงาน แต่บริษัทเลือกเลิกจ้างลูกจ้างเพียงคนเดียวจากจำนวนลูกจ้างในหน่วยงาน 30 คน โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเหตุผล เป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

  • เมื่อลูกจ้างกับบริษัทไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ เห็นสมควรให้บริษัทจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จึงย้อนสำนวนไปยังศาลแรงงานกลางเพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่

 

 

  • โดยให้กำหนดจำนวนค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมซึ่งบริษัทต้องชำระแก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 56 วรรคสองและวรรคสาม

 

  • พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

 

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49

 

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51

 

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56

 

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84

 

เจ้าของสำนวน

สุนันท์ ชัยชูสอน

 

ผู้พิพากษาคนที่สอง

ชัยวัฒน์ เวียงธีรวัฒน์

 

ผู้พิพากษาคนที่สาม

วาสนา หงส์เจริญ

 



31/Mar/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา