ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “แนวทางการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงานและร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน พ.ศ....” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา
โดยคปก.มีความเห็นว่า กฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศไทยมีหลายฉบับ แต่ละฉบับมีปัญหาในเรื่องการบังคับใช้และมีความไม่เชื่อมโยงกับกฎหมายแรงงาน อื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากลตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ (ไอแอลโอ) ประกอบกับกฎหมายแรงงานฉบับต่างๆ ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว คปก.จึงเสนอแนะให้มีการปฏิรูปชำระกฎหมายแรงงานโดยการจัดทำประมวลกฎหมายแรง งาน และแยกการบริหารแรงงานภาครัฐออกเป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง เพื่อให้สามารถส่งเสริมและคุ้มครองคุณภาพชีวิตของคนทำงานได้อย่างรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ
บทบัญญัติที่สำคัญประการหนึ่งที่คปก.เสนอให้มีการแก้ไขคือการเปลี่ยนนิยามจาก “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” เป็น “ผู้จ้างงาน” และ “คนทำงาน” เพื่อให้ความคุ้มครองครอบคลุมผู้ทำงานทั้งหมด และเพื่อให้เกิดทัศนคติการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างคนทำงานอย่างแท้จริง
สำหรับในส่วนที่เป็นบทบัญญัติด้านแรงงานสัมพันธ์ คปก.เสนอแนะให้มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง ร่วมเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตามอนุสัญญาไอแอลโอ ซึ่งจะช่วยให้คนทำงานมีหลักประกัน ความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการได้รับค่าจ้างและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ด้านร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน เป็นการรวบรวมเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานภาครัฐมารวมไว้เป็นพระราชบัญญัติเพื่อให้การบริหารแรงงานของภาครัฐทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว โดยร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการร่วมบริหารภาครัฐด้านแรงงาน หรือ ร.บ.ร. เป็นผู้ดำเนินการตามวิธีการที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระของศาลแรงงานและลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลแรงงานได้เป็นอย่างมาก
กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...