ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๘ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน กรณีคณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติเรื่องการไปติดตามผลที่ สปส.นำเงินไปลงทุนที่ประเทศเยอรมนี และเพื่อรับทราบข้อมูลการลงทุนในต่างประเทศตลอด ๒๕ ปี ที่ผ่านมา
ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ๕ คน ลูกจ้าง ๕ คน ข้าราชการ ๕ คน และที่ปรึกษา ๑ คน และเสนอต่อ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อให้พิจารณาอนุมัติต่อไป
และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ออกมาตั้งคำถามต่อกรณีดังกล่าวว่าเหมาะสม หรือไม่ อย่างไร
โดยข้อเท็จจริงแล้ว การที่ คสรท. ได้ออกมาตั้งคำถามดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสม เนื่องด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
(๑) แม้ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ จะอนุมัติให้คณะกรรมการประกันสังคมสามารถเดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศได้อย่างถูกต้องโดยใช้งบประมาณจากกองทุนประกันสังคมโดยตรง
แต่เป็นที่ทราบดีว่าตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เป็นต้นไป สปส.ต้องจ่ายประโยชน์ทดแทนบำนาญชราภาพแก่ผู้ประกันเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาท
นี้ไม่นับการเพิ่มสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ที่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘
เหล่านี้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นมากกว่าการนำเงินดังกล่าวไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ที่สามารถศึกษาหรือขอคำชี้แจงผ่านระบบออนไลน์ได้
(๒) เมื่อมาพิจารณาถึงตัวแทนผู้ที่จะเดินทางไปศึกษาดูงานก็ไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้โดยตรงเกี่ยวเนื่องกับการลงทุนของ สปส. แม้แต่น้อย รวมถึง สปส.ก็มีคณะอนุกรรมการด้านการลงทุนโดยตรงอยู่แล้ว ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์ที่จะไปศึกษาดูงานมากกว่า
อีกทั้งจะเห็นได้ว่าผู้อนุมัติในหลักการเบื้องต้นเห็นชอบต่อการไปศึกษาดูงานกับผู้เดินทางไปศึกษาดูงาน คือ บุคคลกลุ่มเดียวกัน จึงแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ทับซ้อนในการพิจารณาอย่างชัดเจน มากกว่าที่จะคำนึงถึงประโยชน์ผู้ประกันตนที่สำคัญมากกว่า
(๓) ที่ผ่านมาการเดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศของ สปส. กลับไม่เคยมีการนำความรู้กลับมาปรับปรุงการบริหารงานเพื่อทำให้ สปส.เอื้อต่อการคุ้มครองผู้ประกันตนที่มีจำนวนมากขึ้นทุกปี
ทั้งๆที่เงินที่ใช้ในการศึกษาดูงานมาจากเงินของผู้ประกันตนด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่เพียงเงินของนายจ้างและภาครัฐเท่านั้น ที่ผู้ประกันตนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
แต่กลับมีการเปิดเผยจำนวนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้น้อยมาก รวมถึงผลที่เกิดขึ้นจากการไปศึกษาดูงานว่าผู้ประกันตนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไร ซึ่งแสดงถึงความไม่โปร่งใสและการขาดธรรมาภิบาลอย่างชัดเจนในการบริหารงาน
จากการที่ คสรท.ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณไปศึกษาดูงานต่างประเทศของคณะกรรมการประกันสังคมตั้งแต่ปี ๒๕๔๗-๒๕๕๓ พบว่า
- ปีที่ดูงาน ๒๕๔๗ ดูงานประเทศเกาหลี อนุมัติจำนวนเงิน ๓.๘ ล้านบาท
- ปีที่ดูงาน ๒๕๔๗ ดูงานประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส อนุมัติจำนวนเงิน ๓.๒ ล้านบาท
- ปีที่ดูงาน ๒๕๔๘ ดูงานประเทศนอร์เวย์ เดนมาร์ก ไม่มีข้อมูลเงินที่อนุมัติ
- ปีที่ดูงาน ๒๕๔๙ ดูงานประเทศสเปน โปรตุเกส ไม่มีข้อมูลเงินที่อนุมัติ
- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๐ ดูงานประเทศสหรัฐอเมริกา อนุมัติจำนวนเงิน ๖.๔ ล้านบาท
- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๐ ไม่มีข้อมูลประเทศดูงาน โดยคณะกรรมการอุทธรณ์ อนุมัติจำนวนเงิน ๕ ล้านบาท
- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๐ ไม่มีข้อมูลประเทศดูงาน โดยคณะกรรมการแพทย์ อนุมัติจำนวนเงิน ๔ ล้านบาท
- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๑ ดูงานประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อนุมัติจำนวนเงิน ๗.๕ ล้านบาท
- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๒ ดูงานประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมันนี ตุรกี กรีซ เช็ค ฮังการี ไม่มีข้อมูลเงินที่อนุมัติ
- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๒ ดูงานประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่มีข้อมูลเงินที่อนุมัติ
- ปีที่ดูงาน ๒๕๕๓ ดูงานประเทศเยอรมนี สโลวีเนีย โครเอเชีย ไม่มีข้อมูลเงินที่อนุมัติ
(๔) เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือที่ นร. ๐๕๐๖/ว ๕๔ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เรื่องงดเว้นการเดินทางไปศึกษาดูงาน ประชุม สัมมนา อบรม ที่ต่างประเทศในช่วงปีงบประมาณ 2558 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ๒๕๕๘ ได้เห็นชอบ จึงมีมติให้ทุกส่วนราชการต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
และสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก็ได้มีหนังสือที่ รง ๐๑๐๒.๒/ว ๐๗๑๒ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ถึงหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานทุกหน่วย รวมถึงสำนักงานประกันสังคม ให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘ อย่างเคร่งครัด
(๕) นายวิน พรหมแพทย์ หัวหน้ากลุ่มงานลงทุน และรองโฆษกสำนักงานประกันสังคม ให้สัมภาษ์กับสื่อมวลชนหลายฉบับเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๘ ตอนหนึ่งว่า
วงเงินลงทุนต่างประเทศที่เดิมเคยกำหนดไว้จำนวน ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้ชะลอไปก่อนในระยะนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศยังมีความไม่แน่นอนสูง และให้มุ่งเน้นการลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยให้มีความยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มการลงทุนในหลักทรัพย์ทางเลือกที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย
ในการนี้คณะกรรมการประกันสังคมมีมติเห็นชอบแผนการลงทุนกองทุนประกันสังคม ปี ๒๕๕๘ ตามที่คณะอนุกรรมการบริหารการลงทุนฯ เสนอกำหนดให้ศึกษาแนวทางการลงทุนรูปแบบใหม่เพื่อรองรับภาระเงินลงทุนที่จะมีเพิ่มขึ้นมากในอนาคต อาทิ การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) และกองทรัสต์ที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust) เพื่อระดมเงินสำหรับใช้ในการลงทุนภาครัฐ คาดหวังผลตอบแทนเงินปันผล ๖-๘ % ต่อปี
เหล่านี้คือเหตุผลที่แสดงถึงความไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะไปศึกษาดูงานด้านการลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงการนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติม
หมายเหตุ : รายชื่อกรรมการฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ประกอบด้วย
กรรมการฝ่ายนายจ้าง ได้แก่
- นายอรรถยุทธ ลียะวณิชเลขาธิการสภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค
- ร้อยเอกสำเริง ชนะสิทธิ์ เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างไทย
- นายจรินทร์ งาดีสงวนนาม เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างการเกษตรธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย
- นายเดชบุญ มาประเสริฐ ประธานสภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย
- นายสมศักดิ์ ถนอมวรสิน ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย
กรรมการฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่
- นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย
- นายชัยพร จันทนา ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอิสระแห่งประเทศไทย
- นายบุญยืน สุขใหม่ ประธานสภาองค์การลูกจ้าง แรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย
- นายสุชาติ ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งชาติ
- นายพิจิตร ดีสุ่ย กรรมองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...