ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2558 โดยให้เพิ่มความในหมวด 4 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม ตามมาตรา 222/1-222/49 ในลักษณะ 2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น ภาค 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้นแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจออกข้อกำหนดได้
อาทิ คุณสมบัติ ส่วนได้ส่วนเสีย สิทธิ์สมาชิกกลุ่มที่มีอำนาจฟ้อง, หลักเกณฑ์การดำเนินคดี, วิธีการแจ้งดำเนินคดี,การนัดพร้อม แก้ไขคำฟ้องและคำให้การ กระบวนพิจารณารับฟังพยาน, การบังคับคดีและเงินรางวัลทนายโจทก์ และอื่นๆ
ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิพากษาคดี เว้นแต่ศาลแขวง, หากคดีอาญาพิพากษาให้จำเลยผิด ต้องถือข้อเท็จจริงตามส่วนอาญา แต่หากพิพากษาเป็นอื่น ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามส่วนอาญาได้, ให้คดีละเมิด ผิดสัญญา เรียกร้องสิทธิ สิ่งแวดล้อม คุ้มครองผู้บริโภค แรงงาน หลักทรัพย์ แข่งขันการค้า เข้าข่ายฟ้องกลุ่มได้, หากไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีสามารถอุทธรณ์ได้ใน 7 วัน
ทั้งนี้ ในท้าย พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ระบุหมายเหตุถึงความจำเป็นในการออกพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยระบุช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน เนื่องจากเป็นวิธีการที่สามารถคุ้มครองผู้เสียหายจำนวนมากได้ในการดำเนินคดี เพียงครั้งเดียว และสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายที่ไม่มีความสามารถฟ้องคดีเพื่อ เยียวยาความเสียหายด้วยตนเองได้ หรือผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจำนวนเพียงเล็กน้อย เช่น คดีที่ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย
การดำเนินคดีแบบกลุ่มจึงเป็นมาตรการที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้เป็นอย่างดี
ประกอบกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็นวิธีการที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินการ และยังช่วยหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในการฟ้องคดีและป้องกันความขัดแย้งกันของคำ พิพากษา ตลอดจนเป็นมาตรการในการลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตามถือเป็นครั้งแรกที่กฎหมายฟ้องคดีแบบรวมกลุ่ม (class action) ได้มีใช้ในไทย กฎหมายฉบับนี้จะทำให้การฟ้องร้องคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก แต่เกิดความเสียหายคนละไม่มาก (ซึ่งทำให้เป็นคดีที่ “ไม่คุ้ม” สำหรับใครคนใดคนหนึ่งที่จะเป็นโจทก์ ยังไม่นับปัญหาเรื่องวัฒนธรรมแบบไทยๆ คือคนธรรมดารู้สึกไม่สบายใจที่จะมีชื่อเป็นโจทก์ฟ้องบริษัทใหญ่ๆ) เช่น คดีผิดกฎหมายหลักทรัพย์ คดีละเมิด คดีสิ่งแวดล้อม และคดีผู้บริโภค เกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเดิมมาก ช่วยลดภาระงานของศาลเองด้วย
อ่านพระราชบัญญัติทั้งฉบับได้ที่นี่
ข้อมูลบางส่วนจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 เมษายน 2558
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...