ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

6 ประเด็นอย่างน้อยที่ยังไม่ถูกการแก้ไขใน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ที่ผ่านสนช.ไปแล้ว

แม้ในวันหยุดอย่างวันแรงงานแห่งชาติ  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็ยังคงทำงานอย่างแข็งขัน ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่ถูกเสนอเข้ามา หนึ่งในนั้นคือ 'พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ' โดยร่างกฎหมายฉบับแรก สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้เสนอ (ดูรายละเอียด) แต่ทว่ากฎหมายดังกล่าว ก็ถูกภาคประชาชนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะ การแจ้งการชุมนุมล่วงหน้า 24 ชั่วโมง
 
นอกจากนี้ เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง “ทิศทางเสรีภาพในการชุมนุมของประเทศไทย” ที่ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้จัดขึ้น ก็มีการเรียกร้องให้แก้ไขและเสนอให้ถอนร่างดังกล่าวออกไป แต่ดูเหมือนว่าเสียงของประชาชนจะดังไม่พอ เพราะ สนช.  ได้มีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายไปเรียบร้อยแล้ว  เราควรมาดูว่าประเด็นใดที่ภาคประชาชนเรียกร้องแต่ยังไม่ถูกแก้ไขบ้าง
 
ประเด็นที่หนึ่ง : การกำหนดพื้นที่ห้ามชุมนุม
 
ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ กำหนดว่า ห้ามจัดการชุมนุมภายในพื้นที่ของรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล และศาล เว้นแต่จะมีการจัดสถานที่เพื่อใช้สำหรับชุมนุม และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังมีอำนาจสั่งห้ามชุมนุมในรัศมีไม่เกินห้าสิบ เมตรของสถานที่ดังกล่าว และห้ามกีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงาน หรือการใช้บริการสถานที่ อาทิ สถานที่ราชการ ท่าอากาศยาน เป็นต้น
 
สำหรับ เหตุผลที่ภาคประชาชนเรียกร้องให้แก้ไข เพราะโดยปกติการชุมนุมมีเป้าหมายเพื่อต้องการให้หน่วยงานรัฐเข้ามาแก้ไข ปัญหาหรือเรียกร้องความเป็นธรรม ดังนั้น การห้ามชุมนุมในสถานที่หรือบริเวณดังกล่าว อาจจะทำให้อำนาจต่อรองของประชาชนลดลง นอก จากนี้การชุมนุมปกติย่อมได้รับความไม่สะดวกในการใช้สถานที่อยู่แล้ว การกำหนดเรื่องการกีดขวางทางเข้าออกจึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
 
ประเด็นที่สอง : การต้องแจ้งชุมนุมล่วงหน้า 24 ชั่วโมง พร้อมรายละเอียด
 
กฎหมาย กำหนดให้ ผู้ที่ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะต้องแจ้งการชุมนุมก่อนเริ่มการชุมนุมไม่ น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และต้องแจ้งวัตถุประสงค์ วัน ระยะเวลา รวมถึงสถานที่ ต่อหัวหน้าสถานีตำรวจในท้องที่ที่มีการชุมนุมนั้นๆ
 
ซึ่งประเด็นนี้ จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ค่อนข้างกังวลใจ เพราะบางกรณีเป็นเหตุเร่งด่วน เช่น คน งานถูกเลิกจ้างแล้วนายจ้างปิดโรงงาน หรือไม่จ่ายเงิน ซึ่งแบบนี้ไม่สามารถแจ้งล่วงหน้าได้  ถ้าแจ้งแล้วต้องรออีก 24 ชั่วโมง นายจ้างอาจจะบินไปนอกประเทศหรือขนเครื่องจักรออกหมดแล้ว
 
และ การที่ผู้จัดการชุมนุม ต้องระบุวัตถุประสงค์ ระยะเวลา สถานที่ ให้กับผู้รับแจ้ง ก็เป็นการผูกเงื่อนตายบางอย่างไว้ เพราะกฎหมายกำหนดอีกว่า การชุมนุมต้องอยู่ภายใต้สถานที่ที่แจ้งไว้เท่านั้น ห้ามเคลื่อนย้ายจนกว่าจะได้รับอนุญาตและต้องเลิกการชุมนุมภายในระยะเวลาที่ แจ้งไว้ ซึ่งในความเป็นจริง การชุมนุมบางครั้งไม่สามารถจะคาดการณ์ได้ว่าจะต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะบรรลุ ผล การต้องยุติการชุมนุมตามเวลาที่แจ้งนั้นสร้างภาระให้กับผู้ที่จะจัดการ ชุมนุมเกินกว่าที่เคยมีมาตามปกติ 
 
พุธิตา ชัยอนันต์ นัก กิจกรรมและนักกฎหมาย ได้เสริมประเด็นดังกล่าวอีกว่า กฎหมายให้อำนาจตำรวจที่จะสั่งให้ผู้จัดการชุมนุม “แก้ไข” หรือ ให้เปลี่ยนสถานที่หรือวันเวลาการชุมนุม และหากไม่ยอมแก้ไข ตำรวจก็มีอำนาจสั่ง “ห้ามชุมนุม” ได้อีก ดังนั้น แม้จะใช้คำว่าต้อง “มีหนังสือแจ้ง” แต่โดยกระบวนการที่กำหนดก็คือต้อง “ขออนุญาต” นั่นเอง
 
อย่าง ไรก็ดี กฎหมายยังเหลือพื้นที่ให้ผู้ที่ไม่สามารถแจ้งการชุมนุมล่วงหน้าได้ โดยการขอผ่อนผันไม่ต้องส่งรายละเอียดการชุมนุม แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้รับแจ้งว่าจะอนุญาตให้มีการผ่อนผันหรือไม่ ถ้าหากผู้รับแจ้งเห็นว่าไม่ควรผ่อนผันก็จะเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจยกเลิกการชุมนุมนั้นได้อีก
 
ประเด็นที่สาม : การนิยามผู้จัดการชุมนุมและหน้าที่ของผู้จัดการชุมนุม
 
นิยามของผู้จัดการชุมนุม ได้ขยายครอบคลุมถึง ผู้ที่เชิญชวน หรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุม ซึ่ง อาจจะไม่ใช่ผู้จัดการชุมนุมที่มีอำนาจตัดสินใจตามความเป็นจริงก็ได้ หมายความว่า หากใครที่เห็นด้วยกับการชุมนุมและเชิญชวนให้คนอื่นมาร่วมชุมนุมก็จะมีภาระ ผูกผันตามกฎหมายไปด้วย ซึ่งอาจทำให้พลังในการออกมาเคลื่่อนไหวของประชาชนน้อยลง เพราะไม่มีใครกล้าชวนใคร
 
อีก ทั้ง การกำหนดให้ผู้จัดการชุมนุม มีหน้าที่ต้องดูแลการชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ รวมถึงควบคุมให้ผู้ชุมนุมต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ชุมนุมที่กฎหมายกำหนด มิเช่นนั้นจะมีโทษ อาจจะขัดหลักความรับผิดในทางอาญาที่กำหนดว่าบุคคลจะต้องรับผิดต่อเมื่อตัว เองเป็นผู้กระทำผิดเท่านั้น ไม่ควรมีใครต้องรับผิดทางอาญาจากความผิดที่คนอื่นเป็นผู้ก่อ 
 
ในประเด็นนี้ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้อธิบายว่า การ ลงโทษเป็นเรื่องของปัจเจก ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษตามกฎหมายอยู่แล้ว และในบางครั้ง รัฐสามารถจัดการได้ทันที เช่น ผู้ที่พกพาอาวุธ โดยไม่จำเป็นต้องผลักภาระดังกล่าวไปให้ผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ชุมนุมแต่ อย่างใด คงเป็นการยากที่ผู้จัดการชุมนุมจะสามารถดูแลผู้เข้าร่วมการชุมนุมได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในการชุมนุมขนาดใหญ่
 
ประเด็นที่สี่ : การให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้ออกคําสั่งบังคับให้เลิกการชุมนุม
 
กฎหมาย กำหนดให้ผู้รับแจ้งหรือเจ้าหน้าที่สามารถสั่งให้ผู้ชุมนุมแก้ไข หรือยุติการชุมนุมได้ ในกรณีที่การชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังสามารถร้องขอต่อศาลให้สั่งยุติการชุมนุม ได้อีกด้วย
 
ซึ่งประเด็นดังกล่าว พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนาย ความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษชน มองว่า อาจจะขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ เพราะอำนาจสั่งยุติการชุมนุมของเจ้าหน้าที่เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร การที่กฎหมายกำหนดให้ต้องขอให้ศาลสั่งก็จะเป็นการนำอำนาจตุลาการมารับรอง อำนาจฝ่ายบริหาร ทำให้ตรวจสอบได้ยากขึ้น 
 
แม้ จะอนุญาตให้สามารถอุทธรณ์ได้ก็ตาม แต่โดยหลักการศาลไม่ควรเป็นผู้ออกคำสั่งบังคับให้เลิกการชุมนุมตามดุลพินิจ ของฝ่ายบริหาร เพราะศาลในฐานะองค์กรตุลาการ ต้องเป็นผู้ตัดสินว่าคำสั่งที่ออกมานั้นชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย วิธีการเช่นนี้อาจทำให้ศาลกลายมาเป็นคู่ขัดแย้งกับผู้ชุมนุม ซึ่งก็น่ากังวลอีกว่า จะสามารถรักษาความเป็นอิสระและเป็นกลางของสถาบันตุลาการได้อีกหรือไม่ เพราะการให้สถาบันตุลาการเข้ามาใช้อำนาจฝ่ายบริหารนั้นเป็นการทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจอันเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของหลักนิติรัฐ
 
ประเด็นที่ห้า : อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้ดูแลการชุมนุม
 
กฎหมาย กำ$หนดให้ หัวหน้าสถานีตำรวจในท้องที่ที่มีการชุมนุมเป็นพนักงานดูแลการชุมนุม แต่ถ้าการชุมนุมเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ก็ให้ผู้บังคับการหรือผู้บัญชาการ ตำรวจแทน หรือจะให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นคนแต่งตั้งก็ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวก รักษาความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมและผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง รวมถึงจัดการจราจรและขนส่งสาธารณะ อีกทั้งมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือออกคำสั่งให้ผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ชุมนุม ปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัย
 
ประเด็น ดังกล่าว ทำให้เจ้าหน้าที่เปรียบเสมือน ‘คนกลาง’ ในการดูแลรักษาผลประโยชน์ระหว่างผู้ชุมนุมและผู้ได้รับผลกระทบจากผู้ชุมนุม แต่ทว่า การให้อำนาจในการออกคำสั่ง หรือกำหนดเงื่อนไขที่ผู้จัดการชุมนุมต้องปฎิบัติตามมิเช่นนั้นจะมีโทษ อาจะส่งผลให้เจ้าหน้าที่เข้ามา ‘ควบคุม’ การใช้เสรีภาพในการชุมนุมได้  หากไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ก็จะเปิดช่องให้ใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่และอาจจะส่งผลเสียต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
 
ประเด็นสุดท้าย : การกำหนดบทลงโทษทางอาญา
 
กฎหมาย มีการระบุโทษทางอาญาในกรณีผู้จัดการชุมนุมกระทำความผิด เช่น ชุมนุมในพื้นที่ห้ามชุมนุม ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือทำให้การชุมนุมดังกล่าวไม่เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่หากสังเกตจะเห็นว่า หลายกรณีหากไม่กำหนดไว้ในร่างพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะรัฐก็มีกฎหมายที่เกี่ยว ข้องให้อำนาจจัดการดูแลได้อยู่แล้ว เช่น หากผู้ใดกีดขวางจราจร เจ้าหน้าที่ตำรวจก็สามารถอำนวยความสะดวกเรื่องการใช้ทางได้ หรือกรณีพกพาอาวุธมาในที่ชุมนุม ก็สามารถจับกุมดำเนินคดีกับบุคคลนั้นๆ ในข้อหาพกพาอาวุธเข้ามาในที่สาธารณะได้ด้วยกฎหมายที่มีอยู่แล้ว 
 
ดังนั้น การระบุโทษที่มีกฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ก็อาจจะเป็นการเพิ่มโทษให้กับผู้ชุมนุมและผู้จัดการชุมนุมโดยไม่จำเป็น
 


10/May/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา