ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

"สุรศักดิ์" แจงเวทีแรงงานสากล ไทยมุ่งแก้แรงงานต่างด้าวผิด กม.

รมว.แรงงาน กล่าวปราศรัยการดำเนินงานด้านแรงงานของไทย พร้อมสนับสนุนวิสัยทัศน์ ILO แจง!! ไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย กว่า 1.6 ล้านคน ระบุตระหนักถึงความสำคัญของการให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่าง ประเทศเพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจ

 

 

พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวปราศรัยในการประชุมใหญ่ประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่104 ณ ห้องประชุมสมัชชาใหญ่ สหประชาชาติ  ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ว่า ประเทศไทยสนับสนุนวิสัยทัศน์ของผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ โดยหวังจะได้เห็นอนาคตของงานที่จะเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่สองขององค์การแรง งานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่มี จำนวนกว่า 1.6 ล้านคน โดยได้ผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศและทำงานเป็นการชั่วคราวหลังการจดทะเบียน ในฐานะแรงงานต่างด้าว ซึ่งการดำเนินการข้างต้นทำให้แรงงานต่างด้าวได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียว กับที่แรงงานไทยได้รับ เช่น กฎกระทรวงแรงงานฉบับใหม่ที่ออกมาเพื่อสอดคล้องตามอนุสัญญาฉบับที่ 188ว่าด้วยแรงงานประมง พ.ศ.2550 ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น การให้ลูกจ้างมีเวลาพักที่เพียงพอ การห้ามบุคคลอายุต่ำกว่า 18ทำงานบนเรือ การได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งการจัดทำทะเบียนลูกจ้าง อันเป็นผลให้งานในภาคประมงมีจำนวนเพิ่มขึ้นและคนงานมีความมั่นคงในการทำงาน มากขึ้น

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ประกาศความตั้งใจในการขจัดการค้ามนุษย์ให้เป็นวาระแห่งชาติ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประเทศไทยได้มุ่งบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและมีบทลงโทษที่รุนแรงต่อผู้ กระทำผิดข้อหาการค้ามนุษย์ไม่ยกเว้นแม้แต่ผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ รัฐ

 

ในส่วนของแนวคิดว่าด้วย “งานและสังคม” นับแต่การจ้างงานได้ช่วยให้เกิดการพัฒนาบุคคลและการมีส่วนร่วมในสังคม รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายเพื่อเพื่อยืนยันว่า “คนไทยทุกคนต้องมีงานทำ” โดยการจัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทยทั่วประเทศ เพื่อให้บริการจัดหางานให้แก่ประชาชน และยังสนับสนุนแนวคิด “งานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน” ด้วยการสนับสนุนสร้างโอกาสการมีงานทำที่เท่าเทียมแก่คนพิการและการมีชีวิต อย่างมีความสุขในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แนวทางหนึ่งคือ ร่วมมือกับสถานประกอบการหลายแห่งดำเนินการส่งเสริมการจ้างงานที่ยั่งยืนแก่ คนพิการเพื่อได้ทำงานในชุมชน ให้มีรายได้ที่มั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า ประเทศไทยก็เหมือนกับประเทศสมาชิกอื่นๆ  ที่มีจำนวนคนทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบเป็นจำนวนมาก ต่อกรณีนี้ รัฐบาลไทยอยู่ระหว่างการดำเนินการขยายการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุม เพื่อช่วยให้คนทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบปรับเปลี่ยนสถานะไปสู่เศรษฐกิจในระบบ โดยมีคณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยการจัดการแรงงานนอกระบบได้ถูกจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการนี้อย่างมีประสิทธิผล

 

สำหรับแนวคิดว่าด้วย “ธรรมาภิบาลของงาน” ก็ถือเป็นอีกประเด็นหนึ่งในการหารือในโอกาสครบรอบหนึ่งศตวรรษ โดยรัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำคัญของการให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงาน ระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยในวันแรงงานปีนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติของประเทศไทยได้เห็นชอบต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญาว่า ด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ. ๒๐๐๖ และเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติแรงงานประมง พ.ศ. .... ซึ่งจะถือเป็นการออกกฎหมายเรื่องนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย นอกจากนี้ การดำเนินงานเพื่อการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่111 ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ พ.ศ2501 และอนุสัญญาฉบับที่187 ว่าด้วยกรอบงานเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ.2549 ก็อยู่ระหว่างดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในตอนท้ายว่า ประเทศไทยมีความเชื่อมั่นบนหลักตรรกะพื้นฐานที่ว่าอนาคตของงานมีความเชื่อม โยงกับอนาคตของความยุติธรรมในสังคม ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงตั้งใจดำเนินตามเสียงเอกฉันท์ของประเทศสมาชิกเพื่อนำไปสู่การทำ งานในช่วงศตวรรษที่สองขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ภายใต้อาณัติของประเทศเพื่อความยุติธรรมสำหรับทุกคน ทั้งนี้ ประเทศไทยยังเชื่อว่าการบรรลุความสำเร็จในเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการได้รับความสนับสนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศเช่นกัน

 

 

ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2015



10/Jun/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา