ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2558 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 3 เรื่อง ได้แก่ การจัดตั้งแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา การจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญา และการจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา
เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา (อ่านประกาศฉบับนี้ click ตรงนี้)
อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลอาญา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ในประกาศนี้
“คดีทุจริตและประพฤติมิ ชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ” หมายความว่า คดีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม และให้หมายความรวมถึงคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะเหตุร่ํา รวยผิดปกติหรือมีทรพยั ์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ข้อ 4 ให้จัดตั้งแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญาโดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ในเขตอํานาจและที่โอนมาตามกฎหมาย
(2) ดําเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของศาลอาญา
ข้อ 5 ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาล อาญาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้าน คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐจํานวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้ พิพากษาประจําแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ
ในกรณีที่มีความจําเป็น เพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในแผนกคดีทุจริตและประพฤติ มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐพิจารณาพิพากษาคดีอื่นใดตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้
ข้อ 6 แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญาจะเริ่มทําการเมื่อ ใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 7 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้
เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญา (อ่านประกาศฉบับนี้ click ตรงนี้)
อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลอาญา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญา”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ในประกาศนี้
“คดียาเสพติด” หมายความว่า คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
ข้อ 4 ให้จัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญาโดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาพิพากษาคดียาเสพติดที่อยู่ในเขตอํานาจและที่โอนมาตามกฎหมาย
(2) ดําเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับคดียาเสพติดที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของศาลอาญา
ข้อ 5 ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนก หนึ่งคน และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้าน คดียาเสพติดจํานวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจําแผนกคดียาเสพติด
ในกรณีที่มีความจําเป็น เพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในแผนกคดียาเสพติดพิจารณา พิพากษาคดีอื่นใดตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้
ข้อ 6 แผนกคดียาเสพติดในศาลอาญาจะเริ่มทําการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 7 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้
เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา (อ่านประกาศฉบับนี้ click ตรงนี้)
อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลอาญา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ในประกาศนี้
“คดีค้ามนุษย์” หมายความว่า คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ พ.ศ. 2551 ไม่ว่าจะมีข้อหาความผิดตามกฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงกรณีที่มีการขอให้ศาลดําเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
ข้อ 4 ให้จัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาโดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาพิพากษาคดีค้ามนุษย์ที่อยู่ในเขตอํานาจและที่โอนมาตามกฎหมาย
(2) ดําเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
ข้อ 5 ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนก หนึ่งคน และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้าน คดีค้ามนุษย์จํานวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจําแผนกคดีค้ามนุษย์
ในกรณีที่มีความจําเป็น เพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในแผนกคดีค้ามนุษย์พิจารณา พิพากษาคดีอื่นใดตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้
ข้อ 6 แผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาจะเริ่มทําการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 7 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ดิเรก อิงคนินันท์
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...