ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 504/2543 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เรื่องการใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวแก่ทนายความ มีประเด็นพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
ทนายความผู้ยื่นคำขอทำสัญญาประกันหรือใช้ตัวเองเป็นหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว ในขณะยื่นคำขอจะต้องเป็นสมาชิกสภาทนายความอยู่ในขณะนั้น และต้องไม่อยู่ระหว่างการถูกห้ามทำการเป็นทนายความ หรือถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ทนายความผู้นั้นจะต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นยื่นคำร้องแทนไม่ได้ นอกจากทนายความเองแล้ว บุคคลที่ทนายความสามารถใช้ตนเองเป็นหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวได้แก่ บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา
คำสั่งฉบับเดียวกันยังปรากฏหลักเกณฑ์ด้วยว่า การทำสัญญาประกันดังกล่าว ทนายความจะต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัด โดยในกรุงเทพฯผู้ลงนามคือ นายกสภาทนายความหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ส่วนในจังหวัดอื่นผู้ลงนามคือ กรรมการภาคหรือผู้ที่รับมอบหมาย หรือประธานทนายความจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งทนายความผู้ยื่นคำขอประกันมีที่ตั้งสำนักงานอยู่ในจังหวัดนั้นๆ อย่างไรก็ดี ในกรณีฉุกเฉินที่ไม่อาจแสดงหนังสือรับรองได้ อาจใช้ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ หรือบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความแสดงไปก่อนได้ แต่ต้องส่งหลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด และสำหรับการขอทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวนี้ หากทนายความมีคู่สมรส ต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสแนบท้ายด้วย
สำหรับวงเงินค้ำประกันที่สามารถทำสัญญาประกันได้ กำหนดไว้ดังนี้คือ
1. จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วยังไม่ถึง 2 ปี ทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้เฉพาะตนเองในวงเงินไม่เกิน หกหมื่นบาท
2. จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ถึง 5 ปี ทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ในวงเงินไม่เกิน หกหมื่นบาท
3. จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ถึง 15 ปี ทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ในวงเงินไม่เกิน สองแสนบาท
4. จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ในวงเงินไม่เกิน ห้าแสนบาท
อนึ่ง การประกันผู้ต้องหาในที่นี้ เป็นการประกันเฉพาะตัวทนายความเองกับบุคคลที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่สามารถใช้ทำสัญญาประกันแก่คนทั่วไปได้ ตามที่บางคนเข้าใจผิด
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...