ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

แม้ลูกจ้างจะถูกเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าอยู่ดี

อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2550 และ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6238/2545

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2550

 

คำพิพากษาย่อ (ย่อสั้น)

 

จำเลยที่ 1 รับโจทก์เข้าทำงานโดยให้ทดลองงาน ซึ่งตามสัญญาทดลองการจ้างแรงงานข้อ 1 ระบุว่า ผู้จ้างตกลงจ้างผู้รับจ้างเป็นประชาสัมพันธ์ทดลองงานของโรงเรียนตั้งแต่วัน ที่ 3 สิงหาคม 2547 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2547 และตามหนังสือการสังเกตการณ์ผลงาน โจทก์ได้คะแนนรวมจากการประเมินผลงาน 11 คะแนน จาก 35 คะแนน หนังสือดังกล่าวระบุว่า คุณมีการผิดพลาดในงานเอกสารและทำงานล่าช้า คุณควรมีการปรับปรุงการทำงาน ทางโรงเรียนจะพิจารณาการผ่านงานของคุณในครั้งที่สองและแจ้งให้คุณทราบอีก ครั้งเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน

 

จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ทดลองงานต่อไปหลังจากที่ครบกำหนดตามสัญญาทดลองการจ้างแรงงานไป จนถึงสิ้นสุดภาคเรียนโดยไม่ได้กำหนดวันที่ให้ชัดเจนว่าจะสิ้นสุดการทดลองงาน วันใด

 

การที่จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทำงานต่อมาจึงไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใดจึงเป็นสัญญา จ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การบอกเลิกสัญญาจ้างจึงอยู่ในบังคับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นว่าการเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

 

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (1) ไม่ได้บัญญัติข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิก จ้างในระหว่างการทดลองงานหรือตามสัญญาจ้างทดลองงาน จึงต้องนับระยะเวลาการทำงานตั้งแต่วันเข้าทำงานไม่ว่าจะมีการทดลองงานหรือ ไม่จนถึงวันเลิกจ้าง

 

หากลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วถูกเลิกจ้างโดยมิใช่กรณี หนึ่งกรณีใดที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2547 แล้วถูกเลิกจ้างในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน

 

 

คำพิพากษาฉบับเต็ม (ย่อยาว)

 

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 จำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยให้ทดลองงานในตำแหน่งประชา สัมพันธ์ อัตราเงินเดือนเดือนละ 7,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน เมื่อพ้นกำหนดทดลองงานระยะเวลา 3 เดือน จำเลยทั้งสองให้โจทก์ปรับปรุงการทำงานแล้วจะพิจารณาประเมินผลทดลองการทำงาน ใหม่

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยทั้งสองมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยกำหนดให้พ้นจากการทำงานตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 รวมระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น 6 เดือนเศษ โจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน เป็นเงิน 7,000 บาท และค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 30 วัน เป็นเงิน 7,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,000 บาท ให้แก่โจทก์

 

จำเลยทั้งสองให้การด้วยวาจาว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เข้าทดลองงานจริงตามฟ้อง เมื่อครบกำหนดระยะเวลาทดลองงานผลปรากฏว่าโจทก์ทำงานผิดพลาดหลายประการ โจทก์จึงไม่ผ่านการประเมินในการทดลองงาน จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ปรับปรุงการทำงานใหม่แล้วจะแจ้งผลการประเมินอีกครั้งในภายหลัง ต่อมาการทำงานของโจทก์ยังมีข้อบกพร่องและทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

 

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 7,000 บาท และค่าชดเชย 7,000 บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,000 บาท ให้แก่โจทก์ และให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2

 

จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เข้าทำงานโดยให้ทดลองงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ได้รับค่าจ้างเดือนละ 7,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือนเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทดลองงานแล้ว

 

จำเลยที่ 1 เห็นว่าการทำงานของโจทก์มีข้อผิดพลาดผลการประเมินโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน จำเลยที่ 1 จึงให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงการทำงานแล้วจะประเมินผลการทดลองงานอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยที่ 1 มีหนังสือยกเลิกการทดลองงานและให้โจทก์พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วัน ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548

 

มีปัญหาวินิจฉัยประการแรกว่า จำเลยที่ 1 ต้องบอกเลิกสัญญาจ้างซึ่งเป็นสัญญาทดลองการจ้างแรงงานเป็นหนังสือให้โจทก์ ทราบล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง หรือไม่

 

เห็นว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 รับโจทก์เข้าทำงานโดยให้ทดลองงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ซึ่งตามสัญญาทดลองการจ้างแรงงาน เอกสารหมาย ล.6 ข้อ 1 ระบุว่า "ผู้จ้างตกลงจ้างผู้รับจ้างเป็นประชาสัมพันธ์ทดลองงานของโรงเรียนวิชัยวิทยา เชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2547 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2547 (เป็นเวลา 3 เดือน) ในอัตราค่าจ้างเดือนละ 7,000.00 (เจ็ดพันบาทถ้วน)"

 

และตามหนังสือการสังเกตการณ์ผลงานของเจ้าหน้าที่ เอกสารหมาย ล.8 ซึ่งเป็นหนังสือสังเกตการณ์ผลงานของโจทก์ โจทก์ได้คะแนนรวมจากการประเมินผลงาน 11 คะแนน จาก 35 คะแนน

 

หนังสือดังกล่าวระบุว่า "คุณมีการผิดพลาดในงานเอกสารและทำงานล่าช้า คุณควรมีการปรับปรุงการทำงาน ทางโรงเรียนจะพิจารณาการผ่านงานของคุณในครั้งที่สองและแจ้งให้คุณทราบอีก ครั้งเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน"

 

จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ทดลองงานต่อไปหลังจากที่ครบกำหนดตามสัญญาทดลองการจ้างแรงงาน เอกสารหมาย ล.6 ข้อ 1 ไปจนถึงสิ้นสุดภาคเรียนโดยไม่ได้กำหนดวันที่ให้ชัดเจนว่าจะสิ้นสุดการทดลอง งานวันใดดังเช่นที่ระบุในสัญญาทดลองการจ้างแรงงาน เอกสารหมาย ล.6 ข้อ 1

 

การที่จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทำงานต่อมาจึงไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใดจึงเป็นสัญญา จ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อสัญญาทดลองการจ้างแรงงาน (สัญญาจ้างทดลองงาน) เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การบอกเลิกสัญญาจ้างจึงอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นว่าการเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

 

ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบในเมื่อ ถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญา กันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า

 

จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

 

ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่า ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าสัญญาทดลองการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2548 ขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง อุทธรณ์จำเลยที่ 1 ประการแรกนี้ฟังไม่ขึ้น

 

 

มีปัญหาวินิจฉัยประการสุดท้ายว่า ต้องนับระยะเวลาทดลองงานรวมเข้าเป็นระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อเป็นฐานใน การจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ เห็นว่า

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (1) บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง โดยลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ การทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ เป็นหน่วยไม่ได้บัญญัติข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงานหรือตามสัญญาจ้างทดลองงานจึงต้อง นับระยะเวลาการทำงานตั้งแต่วันเข้าทำงานเป็นลูกจ้างไม่ว่าจะมีการทดลองงาน หรือไม่จนถึงวันเลิกจ้าง

 

หากลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วถูกเลิกจ้าง หากลูกจ้างโดยทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วถูกเลิกจ้างมิใช่กรณี หนึ่งกรณีใดที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังกล่าว

 

เมื่อโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2547 แล้วถูกเลิกจ้างในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งตามหนังสือแจ้งผลการทดลองงานเอกสารหมาย ล.9 ไม่ได้ระบุเหตุผลว่าเป็นการเลิกจ้างกรณีหนึ่งใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรง งาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน"

 

พิพากษายืน

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17

 

คู่ความ

 

นางรัชดา เลาหเพ็ญแสง        โจทก์

โรงเรียนวิชัยวิทยา กับพวก        จำเลย

 

ผู้พิพากษา

รัตน กองแก้ว

พิชิต คำแฝง

สุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6238/2545

 

คำพิพากษาย่อ (ย่อสั้น)

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่สัญญาคือนายจ้างและลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิที่จะตกลงเกี่ยวกับการเลิกสัญญา จ้างเป็นอย่างอื่น

 

มาตราดังกล่าวบัญญัติถึงการเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไว้สามกรณี โดยไม่มีข้อยกเว้นว่าการเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

 

เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา โจทก์จึงต้องบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบใน เมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า

 

เมื่อโจทก์เลิกจ้างโดยมิได้บอกกล่าวเลิกจ้างเป็นหนังสือล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างตามมาตราดังกล่าว

 

การจ้างโดยมีกำหนดทดลองงานไม่เกิน 120 วัน นั้น หมายถึง นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างโดยให้ทดลองทำงานไม่เกิน 120 วัน หากผ่านการทดลองงานก็จะจ้างกันต่อไปถ้าไม่ผ่านการทดลองงานนายจ้างมีสิทธิ เลิกจ้างได้ ซึ่งไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง

 

คำพิพากษาฉบับเต็ม (ย่อยาว)

 

 

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จ้างนายศิริพงษ์ วัชระวลีกุล เป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้ช่วย ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 22,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน โดยมีกำหนดเวลาทดลองงานไม่เกิน 120 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2544 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 โจทก์เลิกจ้างนายศิริพงษ์ด้วยวาจา เนื่องจากผลการปฏิบัติงานไม่อยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ

 

ต่อมาจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างนายศิริพงษ์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะโจทก์ เลิกจ้างในขณะที่นายศิริพงษ์อยู่ในระหว่างทดลองงานซึ่งมีกำหนดไม่เกิน 120 วัน อันเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย

 

จำเลยให้การว่า โจทก์เลิกจ้างนายศิริพงษ์ลูกจ้างในระหว่างทดลองงาน เนื่องจากผลการปฏิบัติงานไม่อยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ อันเป็นการเลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา คำวินิจฉัยของจำเลยชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง

 

ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า เป็นกรณีเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานเนื่องจากผลการปฏิบัติงานไม่อยู่ในเกณฑ์ พึงพอใจ ซึ่งโจทก์เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย

 

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน2544 โจทก์จ้างนายศิริพงษ์ วัชระวลีกุล เป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคลค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 22,000 บาท โดยมีกำหนดทดลองงานไม่เกิน 120 วันเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2544 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 และโจทก์เลิกจ้างนายศิริพงษ์ด้วยวาจาเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 อ้างเหตุว่าผลการปฏิบัติงานไม่อยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ

 

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าการที่โจทก์เลิกจ้างนายศิริพงษ์ ลูกจ้างในระหว่างทดลองงาน โจทก์ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้นายศิริพงษ์ตามคำสั่งของ จำเลยหรือไม่ เห็นว่า

 

การที่โจทก์จ้างนายศิริพงษ์ตั้งแต่วันที่4 มิถุนายน 2544 โดยมีกำหนดเวลาทดลองงานไม่เกิน 120 วัน นั้น หมายถึง โจทก์ตกลงจ้างนายศิริพงษ์ให้ทำงานโดยมีเวลาทดลองงานไม่เกิน 120 วัน หากผ่านการทดลองงานโจทก์จะจ้างต่อไป ถ้าไม่ผ่านการทดลองงานโจทก์มีสิทธิเลิกจ้างได้ ซึ่งไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง

 

การบอกเลิกสัญญาจ้างแต่เดิมนั้นบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นำบทบัญญัติมาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่สัญญาคือนายจ้างและลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิที่จะตกลงเกี่ยวกับการเลิกสัญญา จ้างเป็นอย่างอื่นได้การจ้างและเลิกจ้าง

 

คดีนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แล้ว จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 ซึ่งได้บัญญัติถึงการเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไว้สามกรณี คือ กรณีแรก สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าว ล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง ส่วนกรณีที่สองและที่สาม เป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 17 วรรคท้าย คือนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำผิดกรณีใด กรณีหนึ่งตามมาตรา 119และนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำผิดกรณีใดกรณีหนึ่ง

 

 

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โดยบทบัญญัติมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มิได้มีข้อยกเว้นไว้ว่าการเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานไม่ต้องบอกกล่าวล่วง หน้า

 

คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้เลิกจ้างนายศิริพงษ์ลูกจ้างตามสัญญาจ้างที่ไม่มี กำหนดระยะเวลาโดยไม่เข้าเหตุกรณีใดกรณีหนึ่งในสามกรณีตามพระราชบัญญัติคุ้ม ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย

 

ดังนั้น โจทก์จึงต้องบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือให้นายศิริพงษ์ ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง คราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างนายศิริพงษ์โดยมิได้บอกกล่าวเลิกจ้างเป็นหนังสือ ล่วงหน้าจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่นายศิริพงษ์ตามพระ ราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสองและวรรคสี่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 51/2544 ของจำเลยชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น"

 

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17

 

คู่ความ

 

บริษัท ไทยซูมิล็อคซ์ จำกัด        โจทก์

นาย วีระพล บุญชูศรี        จำเลย

 

ผู้พิพากษา

หัสดี ไกรทองสุก

พันธาวุธ ปาณิกบุตร

รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์



15/Jun/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา