อีก 4 เดือนข้างหน้า ประเทศไทยจะมีกฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่ 2558 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือมีผลบังคับใช้ 20 ตุลาคม 2558
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมที่ใช้บังคับในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษา และกรรมการการแพทย์และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการแพทย์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการคำนวณค่าจ้างรายวันในการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ ยกเลิกการตัดสิทธิผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีจงใจหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำให้ตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย เพื่อขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์มากยิ่งขึ้น
เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และอัตราให้รัฐบาลออกเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ และเพิ่มบทบัญญัติให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบในกรณีเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างรวมทั้งกำหนดโทษทางอาญา
ในกรณีนายจ้างไม่ยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบเพื่อให้การประกันสังคมเป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนวยประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สาระสำคัญของพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ที่เวบไซด์แห่งนี้ได้รวบรวมประเด็นที่แก้ไขมานำเสนอ เพื่อจะได้ตามทันสถานการณ์ ประกอบด้วย
(1) ลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองเพิ่ม ได้แก่
- ลูกจ้างทำงานบ้านอันมิได้ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
- ลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ
- ครูโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
- ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำทำงานในต่างประเทศ
- บุคคล ที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ , ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ, ลูกจ้างที่เป็นนักเรียนนักศึกษาของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ,ลูกจ้างชั่วคราวในภาคเกษตรกรรม ฯลฯ อาจสมัครใจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ โดยคุณสมบัติเป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(2) ประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับเพิ่มขึ้นจากเดิม
(2.1) ประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ได้แก่
- ครอบคลุมถึงค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ
- เงิน ช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ประกันตนได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการ แพทย์ เมื่อสำนักงานจ่ายให้ผู้ประกันตนแล้ว ให้สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้กระทำผิดได้
- ผู้ ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หรือกรณีทุพพลภาพ หรือกรณีตาย แม้ปรากฏว่าการประสบอันตราย หรือการทุพพลภาพ หรือการตายนั้น เกิดขึ้นเพราะเหตุที่บุคคลดังกล่าวจงใจก่อให้เกิดขึ้น หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น
(2.2) กรณีคลอดบุตร และสงเคราะห์บุตร
- ได้ รับประโยชน์ทดแทนเร็วขึ้น คือ จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะ 15 เดือนก่อนรับบริการทางการแพทย์ (เดิม 7 เดือน) แต่นิยามของ “คลอดบุตร” ยังเหมือนเดิม คือ การที่ทารกคลอดจากครรภ์มารดา ซึ่งมีระยะเวลาตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ไม่ว่าทารกมีชีวิตรอดอยู่หรือไม่
- ไม่กำหนดจำนวนครั้งการได้ประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร (เดิมไม่เกิน 2 ครั้ง)
- เพิ่มจำนวนบุตร 3 คนที่ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร (เดิมไม่เกิน 2 คน)
(2.3) กรณีเสียชีวิต
- ก่อน ถึงแก่ความตาย ถ้าผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างรายเดือนคูณด้วย 12
(2.4) กรณีชราภาพ
- กำหนด ให้บุคคลที่ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้ เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพให้ได้รับหนึ่งส่วน นอกเหนือจากบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามีหรือภรรยา และบิดามารดาได้
- ผู้ประกันตนที่ไม่มีทายาท สามารถทำหนังสือระบุคคลผู้มีสิทธิรับบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าก่อนตายได้
- ผู้ ประกันตนที่ไม่ใช่สัญชาติ สามารถเลือกรับรับบำเหน็จชราภาพได้ ภายหลังการสิ้นสุดเป็นผู้ประกันตน ไม่ว่าจะส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนหรือไม่ก็ตาม และและไม่ประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทย
(2.5) กรณีว่างงาน
- ผู้ ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน เพราะเหตุสุดวิสัย หรือ นายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ถ้าได้จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนที่ผู้ประกันตนว่างงาน ให้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(3) การบริหารและมีส่วนร่วม มีการปรับปรุงเพิ่มเติม ดังนี้
(3.1) องค์ประกอบและจำนวนของกรรมการประกันสังคม
- เพิ่มกรรมการไตรภาคี เป็นฝ่ายละ 7 คน (เดิมฝ่ายละ 5 คน)
- กรรมการฝ่ายรัฐบาล เพิ่มผู้แทนกระทรวงมหาดไทยและผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(3.2) ที่มาของกรรมการฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประตน และที่ปรึกษา
- หลัก เกณฑ์และวิธีเลือกตั้งเป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน สัดส่วนระหว่างหญิงและชาย รวมทั้งการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผลของคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
- หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำแนะนำของกรรมการ
- คณะกรรมการประกันสังคมมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 7 คนเป็นที่ปรึกษา (เดิมรัฐมนตรีตั้ง)
(3.3) คุณสมบัติของกรรมการฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายผู้ประกันตนและที่ปรึกษา (เดิมไม่ได้กำหนดไว้)
- สัญชาติไทย
- ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
- ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก สำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
- ไม่เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป้นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
- ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือเลิกจ้างจากหน่วยงานของรัฐ หรือสถานประกอบกิจการเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่
- ไม่เป็นคู่สัญญา หรือมีประโยชน์ได้เสียในกิจการที่เป็นคู่สัญญา หรือมีธุรกิจเกี่ยวข้องกับสำนักงาน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
- ไม่ เป็น หรือเคยเป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่ได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวไม่น้อยกว่า 3 ปี
- กรรมการ ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่ต้องแสดงทรัพย์สินและหนี้สินโดยเปิดเผยต่อสาธารณชนไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่น
(3.4) วาระดำรงตำแหน่งของกรรมการประกันสังคมทุกฝ่าย
- มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
(3.5) การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการประกันสังคม
- เพิ่ม เรื่องคณะกรรมการประกันสังคมมีมติให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่มีความ ประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ ด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการที่มีอยู่ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(3.6) องค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการการแพทย์
- เพิ่มผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละ 1 คน ในคณะกรรมการการแพทย์
- เพิ่มกรรมการการแพทย์แต่งตั้งโดยวิธีการสรรหาตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำแนะนำของกรรมการ
(3.7) ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ
- รัฐมนตรีแต่งตั้งเพื่อกำกับดูแลความโปร่งใสได้มาตรฐาน และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ
- หลักเกณฑ์วิธีการได้มา องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
(3.8) ให้สำนักงานประกันสังคมจัดทำรายงานการประเมินสถานะกองทุน โดยแสดงรายรับ รายจ่าย และความสามารถในการดำเนินการในอนาคตเสนอต่อคณะกรรมการเป็นประจำทุกปี และให้เปิดเผยต่อสาธารณชน
ดู พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ได้ที่นี่ครับ click หรือกดตรงนี้
23/Jun/2015