ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ในระหว่างนัดหยุดงาน กรรมการลูกจ้างในฐานะกรรมการสหภาพแรงงานได้เปลือยกายถ่ายรูปที่หน้าป้ายชื่อบริษัท และมีการนำไปเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ ทำให้บริษัทเสียหายต่อชื่อเสียงในทางการค้า ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงาน มีเหตุสมควรเลิกจ้างได้

อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่  7791/2556 ระหว่างบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ร้อง และนายไพโรจน์ โคตรสังข์ ในฐานะผู้คัดค้าน

 

คำพิพากษาย่อ (ย่อสั้น)

 

ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ผู้ร้องประกอบกิจการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จำหน่ายภายในประเทศและต่างประเทศ รถยนต์ที่จำหน่ายใช้ชื่อทางการค้าว่า “เชฟโรเลต” ผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน

 

วันที่ 13 มีนาคม 2552 คณะกรรมการสหภาพแรงงานมีมติให้นัดหยุดงาน เวลา 22 นาฬิกา ของวันนั้น

 

ผู้คัดค้านเปลือยกายถ่ายรูปทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่หน้าป้ายชื่อบริษัทผู้ร้องและป้ายชื่อ “เชฟโรเลต” เป็นการกระทำไม่ให้เกียรติแก่สถานที่ทำงานของผู้คัดค้าน ลบหลู่ไม่ให้เกียรติแก่ผู้ร้อง

 

ต่อมามีการนำภาพถ่ายดังกล่าวไปเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ทั่วประเทศ ย่อมมีผลทำให้ผู้ร้องเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณในทางการค้าของผู้ร้องอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงมีเหตุสมควรและเพียงพอให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

 

 คำพิพากษาฉบับเต็ม (ย่อยาว)

 

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

 

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ขอให้ยกคำร้อง

 

ศาลแรงงานภาค 2 มีคำสั่งให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

 

ผู้คัดค้านอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านว่าการกระทำของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้หรือไม่

 

พฤติกรรมที่ผู้คัดค้านเปลือยกายยืนอยู่ที่หน้าป้ายชื่อบริษัทและป้ายชื่อสินค้าของผู้ร้อง นอกจากเป็นการกระทำที่ดูหมิ่นไม่ให้เกียรติแก่สถานที่ทำงานของตนเองแล้ว ยังเป็นการลบหลู่ไม่ให้เกียรตินายจ้างของตนอีกด้วย

 

นอกจากนี้ต่อมามีการนำภาพถ่ายดังกล่าวซึ่งมีชื่อบริษัทผู้ร้องและชื่อสินค้าของผู้ร้องปรากฏอยู่ด้วยไปเผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ซึ่งมีการเผยแพร่ไปทั่วประเทศนั้น ย่อมมีผลทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณในทางการค้าของผู้ร้อง อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องในเรื่องวินัยและโทษทางวินัย จึงถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

 

ที่ศาลแรงงานภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น

 

ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านอยู่ระหว่างที่สหภาพแรงงานบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย ยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้อง ที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นข้อที่ผู้คัดค้านไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบในศาลแรงงานภาค 2 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

 

พิพากษายืน

 

( นิยุต สุภัทรพาหิรผล - ชัยวัฒน์ เวียงธีรวัฒน์ - วิรุฬห์ แสงเทียน )

 

ศาลแรงงานภาค 2 - นางสาวอรกมล เจนนิรมาณ



03/Jul/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา