ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกคำสั่งที่ 20/2558 อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 ให้ระงับกระบวนการสรรหาและคัดเลือกกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ชุดใหม่ และระหว่างที่ยังไม่มี คปก. ให้สำนักงาน คปก. สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
โดยคำสั่งดังกล่าวระบุ ว่า ตามที่ได้มีการประกาศรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาและคัดเลือกเพื่อเสนอชื่อ เป็น คปก. แทน คปก. ชุดเดิม ซึ่งได้ค้รบวาระการดำรงตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2558 ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ.2553 นั้น
เนื่องจากปัจจุบันยัง อยู่ระหว่างการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศและ มีหลักการสำคัญส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งอาจมีการวางหลักเกณฑ์หรือกำหนดกลไกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปกฎหมายไว้ แตกต่างไปจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ก็ได้มีองค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ รวมถึงด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว
ดังนั้น เมื่อ คปก. ชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งจบครบวาระไปแล้ว จึงสมควรระงับกระบวนการสรรหาและคัดเลือก คปก. ชุดใหม่ไว้ก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิรูปกฎหมายของประเทศมีความเป็นเอกภาพและสอดคล้องกับ หลักการที่จะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
1.ให้ระงับการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็น คปก. ตาม พ.ร.บ.คปก. พ.ศ.2553 ไปจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
2.ให้ คปก. ที่อยู่ในตำแหน่งจนครบวาระไปแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.คปก. พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
3.ในระหว่างที่ยังไม่มี คปก. ให้สำนักงาน คปก. สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี
4.คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปัจจุบันกระบวนการสรรหา คปก. ชุดใหม่ อยู่ในขั้นตอนสุดท้าย โดยมีผู้เข้ารอบการคัดเลือกจำนวน 22 คน และในวันที่ 19 ก.ค. 2558 จะมีการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกให้เหลือ 11 คน
สำหรับ คปก. ชุดปัจจุบันที่รักษาการแทน ประกอบด้วย
1.ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
2.นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
3.นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ประเภทเต็มเวลา)
4.นายสมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ประเภทเต็มเวลา)
5.นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ประเภทเต็มเวลา)
6.ศาสตราจารย์ ดร.เสาวนีย์ อัศวโรจน์ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ประเภทเต็มเวลา)
7.ศาสตราจารย์ ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ประเภทไม่เต็มเวลา)
8.นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ประเภทไม่เต็มเวลา)
9.ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ประเภทไม่เต็มเวลา)
10.นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ประเภทไม่เต็มเวลา)
11.รองศาสตราจารย์ วิระดา สมสวัสดิ์ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ประเภทไม่เต็มเวลา)
สำนักข่าวอิศรา 15 กรกฎาคม 2558
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...