คำพิพากษาย่อ (ย่อสั้น)
การแอบบันทึกเทปขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์ร่วมกับพยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานนั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้ม ครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลัก ฐานโดยมิชอบ แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม ระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ป.วิ.อ. กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอัน เกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา ศาลจึงนำบันทึกเทปดังกล่าวมารับฟังได้
คำพิพากษาฉบับเต็ม (ย่อยาว)
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 337, 337 ประกอบมาตรา 86, 362, 364, 365, 91 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 100,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา นายสมชาย ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก, 365 (1) (2) ประกอบมาตรา 362, 364 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 337 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 ปี ให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้เงิน 100,000 บาท แก่โจทก์ร่วม ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 และยกคำขอที่ให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้เงิน 100,000 บาท แก่โจทก์ร่วมด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นว่า ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวันประกอบกับนางชิดได้พูดเสนอให้เงินคนร้าย 100,000 บาท หากพยานมองไม่เห็นหน้าจะเจรจาต่อรองกับคนร้ายได้อย่างไร ไม่ปรากฏว่าคนร้ายทั้งสี่ได้อำพรางใบหน้าแต่อย่างใด เชื่อว่าถ้าพยานเคยเห็นหน้าหรือรู้จักกันมาก่อนก็ย่อมจำได้ว่าเป็นใคร
นอกจากนี้โจทก์ร่วมตอบคำถามค้านทนายจำเลยที่ 2 ว่า หลังจากจำเลยที่ 2 ถูกดำเนินคดีแล้วจำเลยที่ 2 เคยมาพูดคุยกับโจทก์ร่วมเกี่ยวกับคดีจะมีการบันทึกเสียงไว้หรือไม่ โจทก์ร่วมไม่ทราบ
ทนายจำเลยที่ 2 ได้นำเทปบันทึกเสียงพร้อมกับบันทึกการถอดเทปมาประกอบการถามค้านโจทก์ร่วมและอ้างเป็นพยานวัตถุและพยานเอกสาร ซึ่งแสดงว่าการบันทึกเทปดังกล่าวเป็นการแอบบันทึกขณะที่มีการสนทนากัน ระหว่างโจทก์ร่วมกับพยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้ม ครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในกรณีเจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยาน หลักฐานโดยมิชอบ
แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา
แต่อย่างไรก็ตามระหว่างพิจารณาคดีได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็น ประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐาน ของระบบงานยุติธรรมทางอาญา
เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 จึงต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับในการรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2
ดังนั้น เทปบันทึกเสียงรวมทั้งบันทึกการถอดเทปดังกล่าวแม้จะได้มาโดยมิชอบ แต่เมื่อศาลนำมาฟังจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอัน เกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาตามบทบัญญัติดังกล่าว
ศาลฎีกาจึงนำพยานหลักฐานดังกล่าวมารับฟังได้ เมื่อพิจารณาเนื้อหาจากบันทึกการถอดเทปดังกล่าวได้ใจความว่าโจทก์ร่วมไม่ สมัครใจและไม่มีความเป็นอิสระในการชี้ตัวจำเลยที่ 2 จึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าโจทก์ร่วมและนางกุลพยานโจทก์และโจทก์ร่วมได้ชี้ภาพถ่ายจำเลยที่ 2 และตัวจำเลยที่ 2 ผิดตัวหรือไม่
พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีเหตุอันควรแก่การสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
พิพากษายืน
คำพิพากษาฉบับเต็ม
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2542 เวลากลางวัน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเบิก อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี กับพวกอีก 3 คนที่หลบหนีไม่ได้ตัวมาฟ้อง ร่วมกันบุกรุกเข้าไปภายในบ้านอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของนายสมชาย เพียรแย้ม ผู้เสียหาย โดยไม่มีเหตุอันสมควร และโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วร่วมกันตรวจค้นจับกุมผู้เสียหายโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุข
จากนั้นจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงิน 100,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยกับพวกร่วมกันใส่กุญแจมือผู้เสียหายไขว้หลัง ทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกายจนยินยอมมอบเงินส่วนที่ขาด 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 กับพวกผ่านจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีภูธรอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ในภายหลัง จำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่จับกุมจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อพบเหตุดังกล่าว อันเป็นการมิชอบต่อหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการกระทำความผิดดังกล่าวโดยพูดไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 2 กับพวกรับเงิน 70,000 บาท จากผู้เสียหาย และต่อมาผู้เสียหายกับพวกนำเงิน 30,000 บาท มาชำระคืนแก่จำเลยที่ 1 อันเป็นการสนับสนุนจำเลยที่ 2 กับพวกในการกระทำความผิดต่อกฎหมาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 337, 337 ประกอบมาตรา 86, 362, 364, 365, 91 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 100,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา นายสมชาย แย้มเพียร ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก, 365(1)(2) ประกอบมาตรา 362, 364 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 337 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 ปี ให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้เงิน 100,000 บาทแก่โจทก์ร่วม ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 และยกคำขอที่ให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้เงิน 100,000 บาท แก่โจทก์ร่วมด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
“พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายสี่คนอ้างตนเองว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมนายสมชาย แย้มเพียร โจทก์ร่วม โดยกล่าวหาว่าขายเมทแอมเฟตามีน แล้วเรียกเงิน 100,000 บาท เมื่อโจทก์ร่วมยินยอมจ่ายให้จึงปล่อยตัวโจทก์ร่วมอันเป็นการกรรโชกทรัพย์ โจทก์ร่วม คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า จำเลยที่ 2 ร่วมเป็นคนร้ายกรรโชกทรัพย์โจทก์ร่วมหรือไม่
ได้ความจากพยานโจทก์และโจทก์ร่วมปากนายสมชายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมและนางกุล ชูเชิด ภริยาโจทก์ร่วมว่า
หลังเกิดเหตุถูกคนร้ายกรรโชกทรัพย์ประมาณ 4 ถึง 5 วัน เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางพลีได้นำหมายค้นเข้าค้นบ้านโจทก์ ร่วมแต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย และโจทก์ร่วมได้โวยวายว่าเพิ่งถูกตรวจค้นและเสียเงินไป 100,000 บาท เจ้าพนักงานตำรวจที่มาตรวจสอบถามว่าเสียเงินให้ใคร โจทก์ร่วมจึงแจ้งเรื่องที่ถูกกรรโชกทรัพย์ให้ทราบ
เจ้าพนักงานตำรวจจึงนำโจทก์ร่วมและนางกุลไปสอบปากคำและให้ดูภาพถ่ายเจ้าพนักงานตำรวจของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางพลี
โจทก์ร่วมและนางกุลจำได้และชี้ภาพถ่ายจำเลยที่ 2 ตามบันทึกการชี้รูปและภาพถ่ายหมาย จ.2 จ.9 และ จ.10
ต่อมาจำเลยที่ 2 เข้ามอบตัวต่อสู้คดี พนักงานสอบสวนจัดให้โจทก์ร่วมและนางกุลชี้ตัวจำเลยที่ 2 ได้ถูกต้องตามบันทึกการชี้ตัวผู้ต้องหาและภาพถ่ายเอกสารหมาย จ.4 จ.12 และ จ.13
แต่กลับได้ความจากโจทก์ร่วมตอบโจทก์ว่า รู้จักกับจำเลยที่ 2 มาก่อนเนื่องจากเป็นญาติทางมารดา ก่อนเกิดเหตุเคยมาที่บ้านและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน หากเป็นจริงดังที่โจทก์ร่วมตอบโจทก์ เหตุไฉนเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรบางพลีสอบถามว่าใครเป็นคนกรรโชกทรัพย์ ในวันเกิดเหตุโจทก์ร่วม ทำไมไม่ระบุชื่อจำเลยที่ 2 เลย หาจำต้องไปดูภาพถ่ายของเจ้าพนักงานตำรวจของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางพลีไม่
ส่วนพยานโจทก์และโจทก์ร่วมปากนางชิด บัวทอง มารดาโจทก์ร่วมตอบคำถามค้านทนายจำเลยที่ 2 ว่า วันเกิดเหตุจำหน้าและลักษณะของคนร้ายทั้งสี่คนไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นญาติกันไม่ทราบชื่อและชื่อสกุลจริงเรียกจ่าน้อย
ดังนั้น ในวันเกิดเหตุถ้าจำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุด้วย เชื่อว่านางชิดน่าจะจำหน้าได้
ที่นางชิดตอบทนายโจทก์ว่า ก่อนเกิดเหตุตาเป็นต้อกระจกไม่สามารถจำชายคนร้ายทั้งสี่คนได้
เห็นว่า ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวันประกอบกับนางชิดได้พูดเสนอให้เงินคนร้าย 100,000 บาท หากพยานมองไม่เห็นหน้าจะเจรจาต่อรองกับคนร้ายได้อย่างไร ไม่ปรากฏว่าคนร้ายทั้งสี่ได้อำพรางใบหน้าแต่อย่างใด เชื่อว่าถ้าพยานเคยเห็นหน้าหรือรู้จักกันมาก่อนก็ย่อมจำได้ว่าเป็นใคร
นอกจากนี้โจทก์ร่วมตอบคำถามค้านทนายจำเลยที่ 2 ว่าหลังจากจำเลยที่ 2 ถูกดำเนินคดีแล้ว จำเลยที่ 2 เคยมาพูดคุยกับโจทก์ร่วมเกี่ยวกับคดีจะมีการบันทึกเสียงไว้หรือไม่ โจทก์ร่วมไม่ทราบ
ทนายจำเลยที่ 2 ได้นำเทปบันทึกเสียงพร้อมกับบันทึกการถอดเทปมาประกอบการถามค้านโจทก์ร่วมและอ้างเป็นพยานวัตถุและพยานเอกสารตาม ว.ล.1 และ ว.ล.3
ซึ่งแสดงว่าการ บันทึกเทปดังกล่าวเป็นการแอบบันทึกขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์ร่วมกับ พยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในกรณีที่เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยาน หลักฐานโดยมิชอบ
แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา
แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างพิจารณาคดีได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มเติมมาตรา 226/1 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอัน เกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา
เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 จึงต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับในการรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2
ดังนั้น เทปบันทึกเสียงรวมทั้งบันทึกการถอดเทปดังกล่าว แม้จะได้มาโดยมิชอบแต่เมื่อศาลนำมาฟังจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความ ยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาตามบทบัญญัติดังกล่าว
ศาลฎีกาจึงนำพยานหลักฐานดังกล่าวมารับฟังได้ เมื่อพิจารณาเนื้อหาจากบันทึกการถอดเทปดังกล่าว ได้ใจความว่าโจทก์ร่วมไม่สมัครใจและไม่มีความเป็นอิสระในการชี้ตัวจำเลยที่ 2 จึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่า โจทก์ร่วมและนางกุลพยานโจทก์และโจทก์ร่วมได้ชี้ภาพถ่ายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ผิดตัวหรือไม่
พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีเหตุอันควรแก่การสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรค 2 ฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”
พิพากษายืน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/1
คู่ความ
พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ โจทก์นายสมชาย แย้มเพียร โจทก์ร่วม
จ่าสิบตำรวจ ยุทธนา ศรีตระกูล กับพวก จำเลย
ผู้พิพากษา
วัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล
พิศล พิรุณ
ปิ่น ศรีเมือง
อ่าน : วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 2281/2555 :สถานะของพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบโดยเอกชน ได้เพิ่มเติมที่นี่ครับ http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1907