ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เป็นหนี้บัตรเครดิต จะโดนยึดเงินเดือนไหม

เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ หมุนจ่ายไม่ทัน ใครเคยเป็นบ้าง ถ้าใครไม่เคยนับว่าเป็นเรื่องดีที่รู้จักการบริหารการเงิน แต่ถ้าใครกำลังเผชิญสภาวะนี้อยู่ ลองอ่านบทความนี้ดู

 

เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ อายัดเงินเดือน โบนัส ได้หรือไม่

 

การใช้เงินอนาคตผ่านบัตรพลาสติก ทั้งบัตรเครดิตและ บัตรกดเงินสดนั้น หากสามารถบริหารการเงินได้เป็นอย่างดี ใช้แล้วจ่ายตรงกำหนดเวลา จะได้รับประโยชน์มากทั้งการสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของรางวัล และการเลื่อนเวลาการจ่ายเงินสดออกไป แต่หากไม่รู้เท่าทันการใช้เงินอนาคตเหล่านี้ หวังเพียงแค่โปรโมชั่นของแถมมากมายจากการสมัคร แล้วใช้จ่ายอย่างไม่ลืมหูลืมตา อาจเป็นโทษมหันต์ได้เช่นกัน


ข้อควรรู้ ก่อนเริ่มต้นทำบัตรเครดิตนั้น ผู้ใช้บัตรเครดิต จำเป็นต้องมี "วินัยในการใช้เงิน" คือ ต้องจ่ายชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนด หากชำระเต็มจำนวนได้ยิ่งดี พยายามมีบัตรเครดิตให้น้อยใบที่สุดเพื่อควบคุมหนี้ ใช้จ่ายในวงเงินที่เราสามารถชำระคืนได้ และหมั่นตรวจสอบว่าในแต่ละเดือนมีพฤติกรรมใช้จ่ายเงินเกินตัวหรือไม่ เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มมีพฤติกรรมดังกล่าว ควรเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย พิจารณาให้ดีว่ารายจ่ายส่วนใหญ่เป็นของจำเป็นหรือฟุ่มเฟือย แค่นี้ก็ไม่ต้องปวดหัวกับการมีหนี้แล้วครับ

 

พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหา คือ รูดบัตรเครดิตใช้เงินล่วงหน้าก่อน อยากได้อะไรก็รูดๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงศักยภาพในการชำระหนี้ ว่าจะมีเงินชำระหนี้หรือไม่ จะรู้ตัวอีกทีก็เมื่อวงเงินเต็มไม่สามารถรูดได้อีกนั่นล่ะครับ พอนานวันเข้าก็หาทางออกด้วยการกู้เงินจากบัตรกดเงินสดมาชำระหนี้บัตรเครดิต และกู้หมุนเวียนสลับไปเรื่อยๆ แรกๆ ก็ยังหมุนเงินคล่องมือ แต่หลังจากมีหนี้หลายใบ ก็เริ่มกู้เงินไม่ได้แล้ว พอเงินหมุนไม่คล่อง ไม่สามารถจ่ายเจ้าหนี้ได้ จากที่เคยรูดหรือกดเงินสดได้ ก็เริ่มเป็นกังวลกับการที่ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้ กลัวเจ้าหนี้จะมาทวงหนี้ถึงที่ทำงาน ซึ่งปัญหาหนี้เหล่านี้ส่งผลให้ลูกหนี้บางรายที่ยังคงมีความสามารถชำระหนี้ ได้ ไม่กล้าไปทำงานหรือบางรายลาออกไปเลยก็มี

 

สำหรับผู้ที่เป็นหนี้สินมากมายและไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้วนั้น ข้อควรรู้ประการหนึ่ง คือ เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์สินที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ อุปกรณ์เครื่องครัว โทรทัศน์ หรือ ทรัพย์สินที่ใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากินได้ แต่หากเป็นทรัพย์สินมีค่าอย่างอื่น เช่น บ้าน รถยนต์ เงินฝากในบัญชีธนาคาร สร้อย แหวน ทองคำ กรมบังคับคดีมีสิทธิ์ที่จะยึดทรัพย์สินเพื่อนำมาชำระหนี้ได้

 

สำหรับคำถามเจ้าหนี้สามารถอายัดเงินเดือน หรือโบนัส ได้หรือไม่นั้น หลักเกณฑ์การอายัดเงินเดือนที่ควรทราบไว้ คือ ลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของข้าราชการจะไม่ถูกอายัดเงิน เดือน หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือเป็นพนักงานบริษัทแล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิ์อายัดเงินเดือนเพื่อใช้หนี้ได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินเดือนเท่านั้น ทั้งนี้ หากมีค่าใช้จ่ายจำที่จำเป็นอื่นๆ อีก เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาลพ่อแม่ซึ่งเจ็บป่วยอยู่ สามารถนำหลักฐานเพื่อลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้อีก

 

ข้อควรรู้อีกประการ คือ หากลูกหนี้มีเงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท เจ้าหนี้ไม่สามารถสั่งอายัดเงินเดือนได้ เนื่องจากต้องเหลือเงินขั้นต่ำให้ใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวัน ด้วย กรณีที่มีเงินเดือนมากกว่า 10,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น มีรายได้เดือนละ 20,000 บาท ลูกหนี้จะถูกอายัดเงินได้สูงสุดไม่เกิน 6,000 บาท ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายแต่ละเดือน 14,000 บาท เป็นต้น

 

นอกเหนือจากเงินเดือนแล้ว เงินได้และทรัพย์สินอื่นๆ เจ้าหนี้สามารถสั่งอายัดได้หรือไม่นั้น สำหรับบัญชีเงินฝาก เจ้าหนี้สามารถสั่งอายัดได้ทั้งจำนวน ในส่วนของรายได้อื่น เช่น เงินโบนัส หากเป็นช่วงสิ้นปีแล้วมีโบนัส เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ 50% ในส่วนของทรัพย์สินที่เป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือหากร่วมทุนอยู่กับผู้อื่นเปิดบริษัท กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาด และอายัดทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ถูกอายัดเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ทั้งจำนวน

 

จะเห็นได้ว่าการเริ่มต้นเป็นหนี้นั้น ไม่ได้เป็นการได้เงินมาใช้ฟรีๆ เพียงแต่เป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า ต้องใช้คืนหนี้ทั้งเงินต้นรวมทั้งดอกเบี้ย หากคุณเป็นผู้ที่ยังเป็นหนี้ไม่มากนักและพอที่จะชำระหนี้ไหว ต้องการที่จะปลดหนี้เพื่อความเป็นไทให้กับตัวเอง เริ่มต้นวันนี้ยังไม่สายครับ เพียงแค่จัดการโอนหนี้รวมเป็นก้อนเดียว มีบัตรเครดิตเพียงแค่เพื่อใช้จ่ายได้สะดวกหรือยามจำเป็น ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องพยายามรักษาเครดิตคุณไว้ให้ดี เพราะหากก่อหนี้เสียไว้แล้ว และต้องการกู้ซื้อบ้านหรือทำธุรกิจในอนาคต อาจดับความฝันในอนาคตได้

 

โดย : คนอง ศรีพิบูลพานิชย์, AFPT
ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย

เผยแพร่เมื่อมกราคม 2557



25/Jul/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา