ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
สหภาพแรงงานทีเอ็นเอส ยื่นหนังสือถึง "ประยุทธ์" ขอให้ช่วยเหลือก่อนถูกเลิกจ้าง ชี้เหตุราคาน้ำมันตกต่ำไม่มีงานผลิตแท่นผลิตปิโตรเลียม ที่ผ่านมาทยอยปลดคนงานไปแล้วกว่า 1 พันคน หากไม่ได้งานประมูลของปตท.สผ.มูลค่า 2.25 หมื่นล้านบาท ไตรมาส 3 นี้ ต้องปลดอีก 1 พันคน จี้นายกฯหามาตรการช่วยบริษัทที่อยู่ในประเทศให้อยู่รอด
นายนิคม สองคร ประธานสหภาพแรงงาน บริษัทไทยนิปปอนสตีล แอนด์ซูมิคิน เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตัคชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือทีเอ็นเอส เป็นการร่วมทุนของกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นและกลุ่ม บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)หรือไอทีดี ถือหุ้นฝ่ายละ 49 % และ 51% ตามลำดับ เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ" เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ที่ผ่านมาได้ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ช่วยเหลือบรรเทาการถูกเลิกจ้างงานที่มีแนวโน้มจะจะถูกปลดเป็น จำนวนมากขึ้น
ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ ตกต่ำ ทำให้มีการสั่งซื้อแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมลดลง จึงได้เสนอให้พนักงานออกจากงานก่อนครบกำหนดอายุเกษียณสมัครใจ 2 ครั้ง จำนวนประมาณ 300 คน และยกเลิกสัญญาจ้างสำหรับพนักงานสัญญาจ้าง และเลิกจ้างงานพนักงานรับจ้างเหมาอีกกว่า 700 คน รวมพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งหมดประมาณ 1.077 พันคน ทำให้มีพนักงานโดยรวมเหลือจำนวนประมาณ 2.5 พันคนเท่านั้น
โดยทางสหภาพฯทราบมาว่า สถานการณ์ปลดคนงานจะเริ่มรุนแรงเพิ่มขึ้นอีก หากบริษัทไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะในการประมูลงานก่อสร้างแท่นหลุม ผลิตจำนวน 25 แท่น ในโครงการ "บันเดิล2" (Bundle 2) ของบริษัท ปตท สำรวจและผลิต จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ. มูลค่าราว 2.25 หมื่นล้านบาท ที่คาดว่าจะทราบผลราวปลายเดือนสิงหาคม 2558 นี้ จะมีการปลดพนักงานทุกส่วนอีกประมาณ 1 พันคน ภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ จะทำให้เหลือพนักงานเพียง 1.59 พันคนเท่านั้น เพื่อรองรับการผลิตแท่นในสัญญาเดิมที่จะสิ้นสุดในราวกลางปีหน้า 2-3 แท่นเท่านั้น และหลังจากนั้นจะไม่มีงานก่อสร้างแท่นเข้ามา เมื่อถึงเวลานั้นก็จะปลดคนงานออกอีกให้เหลือเพียง 600 คนเท่านั้น
นายนิคม กล่าวอีกว่า อยากให้ทางรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือในการปกป้องธุรกิจก่อสร้างแท่นหลุมผลิต ให้ใช้เฉพาะแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้น ยกเว้นแท่นที่มีขนาดใหญ่เกินกว่ากำลังผลิตของบริษัทในประเทศจะก่อสร้างได้ เนื่องจากการเปิดประมูลโครงการดังกล่าว ทางปตท.สผ.ได้เชิญบริษัทต่างชาติเข้าร่วมประมูล อาทิ CNOOC ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลจีน ,KHL-Sapura Kencana ของมาเลเซีย ,PTSMC จากเวียดนาม ,Saipem-STP&I จากอินโดนีเซียและไทย ,Gunanusa-EMAS จากอินโดนีเซียและสิงคโปร์ ,CUEL-Swiber และTNS-NSEC ของไทย
ทั้งที่การก่อสร้างแท่นผลิตภายในประเทศมีกำลังการผลิตรวมกันประมาณ 36-40 แท่นต่อปี ซึ่งยังสามารถรับงานของปตท.สผ.ได้อยู่ แต่ที่ผ่านมากระทรวงการคลัง ได้ลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร สำหรับแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมโดยไม่มีการจำกัดขนาดหรือน้ำหนักของแท่น ซึ่งเท่ากับว่า นอกจากรัฐไม่มีมาตรการในการปกป้องธุรกิจก่อสร้างแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมภาย ในประเทศแล้ว ยังออกกฎหมายสนับสนุนให้นำแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม เข้ามาในราชอาณาจักรของอย่างเสรี ให้เข้ามาแข่งขันกับผู้ผลิตภายในประเทศ โดยรัฐไม่สามารถจัดเก็บรายได้ในรูปของอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจ ภาษีบุคคลธรรมดาของลูกจ้าง ที่สามารถนำมาจับจ่ายใช้สอย เพื่อสร้างการกระจายรายได้ไปในกลุ่มแรงงานระดับรากหญ้าของเศรษฐกิจไทยได้เลย
ดังนั้นหากการประมูลครั้งนี้ ตกไปอยู่ในมือของต่างชาติโดยเฉพาะจากจีน ที่มีต้นทุนค่าก่อสร้างถูกกว่า จากราคาเหล็กภายในประเทศจีนปรับลดลงอย่างมาก ก็จะส่งผลให้บริษัทไม่มีงานทำและต้องปลดพนักงานออกเป็นระยะๆ ผลที่ตามมาจะทำให้ภาครัฐไม่สามารถจัดเก็บรายได้ในรูปแบบต่างๆ ที่กล่าวมาได้ และจะส่งผลให้เกิดการตกงานเพิ่มมากขึ้น
"ขณะนี้ยังไม่ทราบแนวทางที่นายกรัฐมนตรี จะเข้ามาช่วยเหลือได้อย่างไร ซึ่งทางทีมงานที่ปรึกษาของนายกฯ ขอให้รอฟังข่าวถึงมาตรการช่วยเหลือออกมา ก่อนที่ทางปตท.สผ.จะประกาศผู้ชนะออกมา เพราะหากไม่ได้งานของปตท.สผ.ครั้งนี้ ไม่เพียงแต่พนักงานเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ จะส่งผลไปถึงครอบครัวของพนักงานที่ขาดรายได้ไปด้วย จึงขอความกรุณาจากนายกรัฐมนตรีบรรเทาความเดือดร้อน หยุดการเลิกจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมโดย กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องธุรกิจก่อสร้างแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมในประเทศ ให้สามารถอยู่รอดต่อไปได้" นายนิคม กล่าว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,074
วันที่ 30 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...