ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
“เรียนรู้ เข้าใจ เส้นทางการเสนอกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ” กรณีร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ...
ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 รัฐธรรมนูญปี 2550 ได้กำหนดให้ผู้ที่สามารถเสนอกฎหมาย ได้แก่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 รายชื่อ แต่ภายหลังที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นมาบริหารประเทศ และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2557 นี้คือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในกระบวนการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาตามขั้นตอนกระบวนการนิติบัญญัติ ที่จักต้องเรียนรู้ร่วมกัน เนื่องจากกำหนดให้ผู้ที่สามารถเสนอกฎหมาย ประกอบด้วย
ย้อนไปเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 หรือ 2 เดือนกว่าก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ให้กระทรวงสาธารณสุขไปดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการเสนอร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายในกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แล้วแจ้งผลการดำเนินการให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการตรวจพิจารณาต่อไปร่วมด้วย
สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ กำหนดการห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นมวน และจำกัดอายุผู้ซื้อบุหรี่จากเดิม 18 ปีเป็น 20 ปี รวมทั้งปกป้องคุ้มครองดูแลเยาวชนจากการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่
พบว่า ความคืบหน้าเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ...ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2558 กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่มีการเชิญผู้แทนจากกระทรวงต่าง ๆ ผู้ประกอบการ และนักกฎหมายเข้าร่วมแสดงความเห็น
ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะส่งร่างกฎหมายฉบับนี้ กลับไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อเสนอร่างกฎหมายฯ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อ ครม. อนุมัติร่างกฎหมายนี้แล้ว ก็จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
สามารถสรุปขั้นตอนในช่วงของการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 1 ในการออกกฎหมายมาใช้ในประเทศไทย ได้รวม 11 ขั้นตอน ดังนี้
ในขั้นตอนนี้ ประชาชนสามารถเข้ามาเกี่ยวข้องได้ในช่วงที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ในระหว่างการตรวจพิจารณา และส่งให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพิ่มเติม ว่าสอดคล้องกับความต้องการของภาคประชาชนหรือไม่ อย่างไร ซึ่งถ้าไม่สอดคล้องก็สามารถแจ้งหรือนำเสนอต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องหรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้โดยตรง อย่างไรก็ตามสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจเปลี่ยนแปลงถ้อยคำหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้
เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 คือ การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช. )
เมื่อร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. จะประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เรียกว่า “ขั้นพิจารณาเพื่อบรรจุวาระในการพิจารณา” โดยจะมีคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า “คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช.” เป็นผู้พิจารณาว่าร่างกฎหมายที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดส่งมานั้นว่า สมควรบรรจุวาระการพิจารณาหรือไม่ อย่างไร ในช่วงใด และถ้าสมควรบรรจุวาระ จะมีการกำหนดสัดส่วนคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ควรเป็นใครบ้าง มาจากหน่วยงานหรือภาคส่วนใด
ขั้นตอนที่ 2 เรียกว่า “ขั้นรับหลักการ” เมื่อร่างกฎหมายจากขั้นตอนที่ 1 เข้ามาสู่ สนช. แล้ว ซึ่งระยะเวลาในการพิจารณาหลังบรรจุวาระแล้ว เท่าที่ติดตามการพิจารณาของ สนช. พบว่ามีตั้งแต่ 1 เดือนถึง 6 เดือน โดยขั้นตอนนี้สมาชิก สนช. จะมีการประชุมพิจารณาเพื่อจะรับหรือไม่รับร่างกฎหมายในการพิจารณาต่อไปหรือไม่ หากที่ประชุมเสียงข้างมากไม่รับหลักการร่างนั้นก็จะตกไป แต่หากเสียงข้างมากหลักการก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่สาม
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 2 ร่างกฎหมายดังกล่าวจะเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายนั้น คณะกรรมาธิการจะพิจารณาร่างกฎหมายอีกครั้งซึ่งอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่แก้ไขก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ให้เปลี่ยนไปจะหลักการเดิมของร่างกฎหมาย ขั้นตอนนี้เรียกอีกอย่างว่า “แปลญัตติ” เมื่อเสร็จสิ้นแล้วร่างกฎหมายจะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4 ระยะเวลาขั้นตอนนี้เท่าที่ติดตามพบว่ามีตั้งแต่ 1 เดือนถึง 6 เดือน
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างกฎหมายเสร็จแล้ว ให้เสนอร่างกฎหมายนั้น โดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภา ซึ่งรายงานนั้นอย่างน้อยจะต้องระบุว่าได้มีหรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดบ้าง
และถ้ามีการแปรญัตติ มติของคณะกรรมาธิการเกี่ยวด้วยคำแปรญัตตินั้นเป็นประการใด หรือมีการสงวนคำแปรญัตติของผู้แปรญัตติ หรือมีการสงวนความเห็นของกรรมาธิการ ก็ให้ระบุไว้ในรายงานด้วย
ถ้าในกรณีที่คณะกรรมาธิการ เห็นว่ามีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติ ให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวนั้นไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการเพื่อให้ที่ประชุมสภาพิจารณาด้วย
ทั้งนี้เมื่อประธานสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติและรายงานของคณะกรรมาธิการ แล้วให้เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป โดยให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน
ในกรณีที่สภาเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานสภาส่งรายงานและข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรี ศาลฎีกาศาลปกครองสูงสุด หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องด้วย
ขั้นตอนที่ 5 ลงมติเห็นชอบ เมื่อผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการในขั้นตอนที่สอง สนช.ทั้งสภาจะต้องลงมติร่างกฎหมายนั้น
ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ให้สภาพิจารณาเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา และให้อภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำหรือข้อความที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือที่ผู้แปรญัตติสงวนคำแปรญัตติ หรือที่กรรมาธิการสงวนความเห็นไว้ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมสภาจะได้ลงมติเป็นอย่างอื่น
ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบร่างนั้นก็ตกไป แต่ถ้าเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบ จะส่งให้นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับต่อไป เป็นอันจบสิ้นกระบวนการตรากฎหมาย
หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบ ให้ สนช.ปรึกษาร่างกฎหมายนั้นอีกครั้งหากยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสภาให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เลย
สำหรับกระบวนการในขั้นตอนที่ 2 นี้ ภาคประชาชนจะมีสิทธิยับยั้งหรือเร่งให้ร่างกฎหมายดังกล่าวสามารถพิจารณาหรือไม่ถูกพิจารณาได้ ตั้งแต่ในขั้นตอนที่ 1-3 โดยต้องแสดงเหตุผลเชิงประจักษ์อย่างชัดเจนต่อ สนช. ที่เกี่ยวข้องให้ได้ว่า ทำไมจำเป็นต้องเร่งหรือยังยั้งร่างกฎหมายดังกล่าว
คาดกันว่า กระบวนการตรากฎหมายจนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับ จะใช้เวลานับตั้งแต่วันนี้ไปอีกประมาณ 1 ปี
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์[1]
6 สิงหาคม 2558
[1] ข้อมูลประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการสตรี 4 ภาค กับการขับเคลื่อนผลักดันร่าง พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2558 ณ โรงแรมกานต์มณี ประดิพัทธ์ สะพานควาย กรุงเทพฯ จัดโดยมูลนิธิเพื่อนหญิง สนับสนุนโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ช่วงเวลา 15.00 – 1.00 น. หัวข้อเรียนรู้เข้าใจ “เส้นทางการเสนอกฎหมาย เข้า สนช.” ทำไมต้อง เร่งผลักดัน กม. โดยบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักวิชาการอิสระ
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...