ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
|
|||
7 สิงหาคม 2558 17:51 น. |
รัฐบาลประยุทธ์ทุบโหลดองกองทุนการออมแห่งชาติ หลังยื้อมากว่า 4 ปี ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างหลักประกันคนไทยในยามชรา หลายฝ่ายเห็นพ้องเกิดได้เป็นเรื่องดี เตรียมยุบผู้ประกันตนมาตรา 40 จากนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์โอนย้ายเข้า กอช. โชว์ตัวเลขบำนาญออมตั้งแต่แรกรับสูงสุดหมื่นกว่าบาทต่อเดือน ด้านประกันสังคมแจงวัตถุประสงค์แตกต่างกันหลังถูกเปรียบเทียบเงินบำนาญ กอช.ออมมุ่งเกษียณอย่างเดียว ประกันสังคมมีสวัสดิการอื่นแถม วัดใจมหาดไทยให้เบี้ยยังชีพบำนาญประกันสังคมหรือไม่หลังกฤษฎีกาตีความมี สิทธิได้รับ |
||||
|
||||
กว่า 4 ปีของพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่ 12 พฤษภาคม 2554 ในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลมาเป็นพรรคเพื่อไทยที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้กลับถูกดองเงียบ จนมีประชาชนจำนวนหนึ่งที่เรียกร้องต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นให้เร่งดำเนินการ ในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลพรรคเพื่อไทยกลับออกแนวทางอื่นมาทดแทน ด้วยการใช้พระราชบัญญัติประกันสังคม ในมาตรา 40 ให้ผู้ที่อยู่นอกระบบข้าราชการและบริษัทเอกชน เข้ามาออมเงินแทน ในเดือนมิถุนายน 2555 และโหมรับสมัครในช่วงท้ายรัฐบาล จนได้ผู้สมัครเข้ามาราว 1 ล้านคน นี่คือภาคการเมืองที่ขับเคี่ยวกันทุกมิติ กอช.เป็นผลงานของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเพื่อไทยมาเป็นรัฐบาลจึงหลีกเลี่ยงที่จะนำมาใช้ ด้วยการออกแบบให้กองทุนประกันสังคมทำหน้าที่แทนและเพิ่มเงื่อนไขอื่นเข้าไป เพื่อจูงใจ แต่นั่นจะกลายเป็นภาระของรัฐบาลที่หนักมากกว่าการมีกองทุนการออมแห่งชาติ จนกระทั่งเกิดปัญหาทางการเมือง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นต้องเข้ามายึดอำนาจและบริหารประเทศแทน จึงได้ผลักดันกองทุนการออมแห่งชาติขึ้นมาอีกครั้ง และจะเริ่มรับสมัครสมาชิกกันในวันที่ 20 สิงหาคม 2558 นี้ นับเป็นการลดช่องว่างของคนในสังคมในส่วนที่เหลือกว่า 30 ล้านคนทั่วประเทศ ให้ได้รับสิทธิ์ในการดูแลจากรัฐในยามที่ต้องพ้นจากวัยทำงานมีเงินเลี้ยงชีพ ทุกเดือน ซึ่งประชากรในกลุ่มนี้มีเพียงกลุ่มข้าราชการที่ออมเงินผ่านกองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ มีเงินบำนาญเลี้ยงชีพในยามแก่ และพนักงานบริษัทเอกชนที่ออมเงินผ่านกองทุนประกันสังคม ที่เพิ่งเริ่มจ่ายเงินบำเหน็จและบำนาญไปเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมาคนกลุ่มใหญ่ของสังคมที่อยู่นอกระบบข้าราชการและประกันสังคม ได้รับสิทธิในการดูแลในยามพ้นวัยทำงาน มีเพียงแค่เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 600-1,000 บาท แน่นอนว่าไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพในยุคปัจจุบัน ดังนั้นการมีกองทุนการออมแห่งชาติจึงทำให้ในบั้นปลายชีวิตของคนเหล่า นี้ สามารถดำรงชีวิตได้ดีขึ้นกว่าการช่วยเหลือในรูปแบบเดิมเมื่อพ้นวัยทำงาน เริ่มต้น 20 สิงหาคมนี้ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้มีระบบการออมเพื่อการชราภาพที่ครอบคลุมทั่ว ถึงแรงงานที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครอง สร้างความเท่าเทียม และเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐ เพื่อให้แรงงานมีรายได้ในวัยสูงอายุในระดับพื้นฐาน เพื่อป้องกันการตกสู่ความยากจน และสร้างความมั่นคงในชีวิตวัยชราและเพื่อสร้างวินัยการออมและส่งเสริมการออม ภาคครัวเรือน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มเงินออมของประเทศในระยะยาว ผู้ต้องการออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีแต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง ไม่อยู่ในระบบบำนาญภาครัฐหรือเอกชน นั่นหมายถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่นเกษตรกร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป คนขับรถแท็กซี่ แม่บ้าน สถาปนิก แพทย์ ทนายความ ลูกจ้างรายวันหรือรายสัปดาห์ของบริษัทเอกชน ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการที่ไม่ใช่ลูกจ้างรายเดือน ลูกจ้างชั่วคราวรัฐวิสาหกิจที่ไม่เข้าประกันสังคม นักการเมือง (ส.ส.)นักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาจังหวัดนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศมนตรี สามารถสมัครเข้ากองทุนการออมแห่งชาติได้ ผู้เป็นสมาชิกต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่าครั้งละ 50 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วใน 1 ปีต้องไม่เกิน 13,200 บาท หรือไม่เกินเดือนละ 1,100 บาท โดยรัฐบาลจ่ายเงินสมทบตามระดับอายุของสมาชิก และเป็นอัตราส่วนกับจานวนเงินสะสม โดยมีอัตราตามที่กำหนดในบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัติ และเมื่อรวมกันแล้วในปีหนึ่งๆ ต้องไม่เกินจานวนเงินสมทบสูงสุดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้ สมาชิกที่อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีแต่ไม่เกิน 30 ปี ได้รับเงินสมทบร้อยละ 50 ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 600 บาท สมาชิกที่อายุมากกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี ได้รับเงินสมทบร้อยละ 80 ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 960 บาท สมาชิกที่อายุมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ได้รับเงินสมทบร้อยละ 100 ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 1,200 บาท เงินของสมาชิกที่ส่งไปนั้นรัฐบาลจะรับประกันให้สมาชิกได้รับผล ประโยชน์ตอบแทนจากการนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำประเภท 12 เดือนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ 5 แห่ง ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติสามารถสมัครและ ออมเงินได้ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทั่วประเทศ ใช้หลักฐานการสมัครเพียงแค่บัตรประชาชนเท่านั้น |
||||
|
||||
เตรียมยุบผู้ประกันตนมาตรา 40 อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้เปิดให้แรงงานนอกระบบใช้สิทธิออมเงินผ่าน ประกันสังคม ตามมาตรา 40 ซึ่งเป็นการทับซ้อนกับกองทุนการออมแห่งชาติ ดังนั้นจึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 สามารถสมัครเป็นสมาชิก กอช.ได้ ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 2 ต้องทำการย้ายไปอยู่ทางเลือกที่ 1 ก่อน จึงจะมีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3, 4 และ 5 มีสิทธิโอนมาเป็นสมาชิก กอช.ได้ตามความสมัครใจ แหล่งข่าวจาก กอช.กล่าวว่า สำหรับผู้ทำประกันตนตามมาตรา 40 ที่รัฐบาลชุดก่อนดำเนินการไว้นั้นราว 1 ล้านราย ตอนนี้ได้มีการหารือกันระหว่าง กอช.กับประกันสังคม โดยผู้ที่สมัครตามมาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 และ 2 สามารถโอนมาที่ กอช.ได้ ส่วนทางเลือกที่ 3 เป็นต้นไปนั้นเป็นไปตามความสมัครใจ แต่สุดท้ายผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะต้องเข้ามาอยู่ใน กอช. คาดว่าจะมีการยุบการประกันตนตามมาตรา 40 เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน ทั้งนี้ทาง กอช.จะมีการโอนย้ายผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในทางเลือกที่ 1 และ 2 เข้ามาที่ กอช. ราว 3 แสนราย ส่วนผู้ที่ประกันตนในทางเลือกที่ 3 ขึ้นไปจะเข้ามาใน กอช.หรือไม่เป็นเรื่องความสมัครใจ ส่วนผู้ที่ไม่โอนย้ายมาทางประกันสังคมก็จะคืนเงินที่ได้ส่งมากลับคืนให้ พร้อมผลตอบแทน ในส่วนนี้คาดว่าจะมีราว 3 แสนราย และน่าจะมีสมาชิกใหม่เพิ่มมาอีก 3 แสนราย และภายใน 5 ปีน่าจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านราย ทุกคนมีบำนาญหลังพ้นวัยทำงาน ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่จะทำให้คนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของประเทศ จะได้ไม่ลำบากในยามชรา จริงๆ ควรจะเริ่มให้มีการออมกันตั้งแต่ปี 2555 หลังจากที่พระราชบัญญัตินี้ออกมาตั้งแต่ปี 2554 โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลก่อนมีทีท่าที่จะยุบกองทุนนี้ด้วยซ้ำ วันที่ 20 สิงหาคมนี้จะเริ่มเปิดรับสมัครอย่างเป็นทางการ แต่โดยส่วนตัวเห็นต่างจากกระทรวงการคลัง ที่ต้องไปสมัครและส่งเงินที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออมสิน และกรุงไทย ที่จริงควรมีการเปิดรับอีกช่องทางหนึ่งคือการให้สมาชิกชำระผ่านกลุ่มสัจจะ ออมทรัพย์ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมและส่งต่อไปที่ธนาคารทั้ง 3 แห่ง จะเป็นการลดต้นทุนในการดำเนินการได้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงในเรื่องนี้คือ รัฐบาลจะหาเงินมาสมทบให้กับผู้ออมจากไหน ซึ่งตรงนี้จะไปทับซ้อนกับเบี้ยประกันผู้สูงอายุของกระทรวงมหาดไทยที่ต้อง จ่ายให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งมีทั้งคนรวยและคนจนที่ได้รับถือเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ |
||||
|
||||
ประกันสังคมเห็นด้วย เช่นเดียวกับนายวิน พรหมแพทย์ หัวหน้ากลุ่มงานลงทุน สำนักบริหารการลงทุน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่เกิดกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งจะทำให้คนไทยมีเงินดำรงชีพได้ในยามชรา พร้อมทั้งกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างกองทุนการออมแห่งชาติกับกองทุน ประกันสังคมว่า ตัวกองทุนประกันสังคมเป็นการหักเงินจากนายจ้าง 5% และเป็นเงินสมทบจากนายจ้าง 5% โดยมีเพดานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท ดังนั้นพนักงานจะถูกหักเงินไว้เดือนละ 750 บาท หรือปีละ 9,000 บาท ซึ่งเงินในส่วนนี้ 3% ใน 5% จะกันไว้เป็นเงินสำหรับบำนาญของสมาชิก เมื่อคำนวณออกมาแล้วกรณีส่งครบ 180 เดือนจะมีเงินบำนาญต่อเดือนที่ 3,000 บาท และจะเพิ่มขึ้นตามอายุงานที่เหลืออยู่ นอกจากนี้ทางประกันสังคมยังมีส่วนอื่นๆ ที่ต้องดูแลสมาชิกในเรื่องสวัสดิการ เช่น การรักษาพยาบาล ดูแลเรื่องประกันการว่างงาน เรื่องการเสียชีวิตและอื่นๆ อีก ขณะที่กองทุนการออมแห่งชาติเป็นการออมของสมาชิกส่วนหนึ่งและรัฐบาล สมทบให้ส่วนหนึ่ง จุดมุ่งหมายเพื่อการมีเงินไว้ใช้ในยามพ้นวัยทำงาน แต่ไม่มีสวัสดิการเรื่องอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งตรงนี้สมาชิก กอช.จะใช้บัตรทองของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคมไม่ด้อยกว่า กอช. ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทแห่งหนึ่งกล่าวว่า ตอนนี้มีตารางบำนาญที่คาดว่าจะได้รับจาก กอช.ออกมา หากดูจากข้อมูลที่เริ่มส่งเงินอายุ 15 ปี ที่อัตราสูงสุด 1,100 บาทต่อเดือน เมื่ออายุครบ 60 ปีจะได้เงินบำนาญเดือนละ 10,795 บาทต่อเดือน จึงทำให้หลายคนเปรียบเทียบกับเงินบำนาญสูงสุดของประกันสังคมที่ 7,500 บาทต่อเดือน อันดับแรก กอช.คิดระยะเวลาในการส่งเงิน 45 ปีในอัตราสูงสุด ส่งถึงอายุ 60 ปี ของประกันสังคมคิดระยะเวลาส่งเงิน 35 ปี ครบอายุที่ 55 ปี เรื่องของระยะเวลาในการส่งเงินจึงไม่เท่ากัน ประการต่อมาประกันสังคมมีเพดานไว้ที่ปีละ 9,000 บาท ขณะที่ กอช.เพดาน 13,200 บาท ประกันสังคมมีสวัสดิการอื่นให้กับสมาชิก ทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าทำฟัน ค่าคลอดบุตร ชดเชยการว่างงาน แต่ กอช.ไม่มีในส่วนนี้ เรื่องตัวเลขของแต่ละหน่วยงานที่คำนวณออกมานั้น ถือว่าเป็นตัวเลขเบื้องต้น ยังไม่ใช่ตัวเลขจริง บางครั้งตัวผลตอบแทนอาจจะไม่ใช่ตัวเลขตามที่นำมาคำนวณไว้ และที่เริ่มจ่ายบำนาญแล้วคือ กองทุนประกันสังคมเริ่มจ่ายในปี 2557 ส่วนของ กอช.เพิ่งเริ่มต้องรออีกระยะ “หากลองดูตัวเลขการออมเงินในช่วงระยะเวลา 30 ปี ของ กอช.หากเริ่มที่อายุ 30 ปีส่งถึงอายุ 60 ปี จะได้บำนาญ 4,821 บาทต่อเดือน ของประกันสังคมเริ่มออมที่อายุ 25 ปี ส่งเงินจนถึงอายุครบ 55 ปี จะได้บำนาญ 6,375 บาทต่อเดือน ไม่นับสวัสดิการอื่นๆ ที่แรงงานในระบบประกันสังคมได้รับอีก” |
||||
|
||||
บำนาญประกันสังคมลุ้นรับเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมาชิก กอช.ได้ให้ข้อมูลว่านอกจากเงินบำนาญที่ได้รับแล้ว ผู้ออมยังมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอีกส่วนหนึ่ง ขณะที่สมาชิกกองทุนประกันสังคมไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวทั้งๆ ที่เป็นการร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้มีหน่วยงานรัฐเข้ามาร่วมสมทบเหมือนกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือแม้กองทุนการออมแห่งชาติรัฐบาลก็เข้ามาสมทบเช่นกัน โดยในช่วงปลายปี 2557 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตีความระเบียบของกระทรวงมหาดไทยแล้วว่า ผู้ประกันตนที่ได้รับบำนาญจากประกันสังคม มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เนื่องจากเงินสิทธิประโยชน์กรณีบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคมไม่ใช่เงิน สวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ ดังนั้นคงต้องรอการสรุปจากต้นทางอย่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงแรง งานอีกครั้งว่าจะมีมติในเรื่องการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้รับบำนาญจากกอง ทุนประกันสังคมอย่างไร ภาระหนักรัฐบาล การเกิดขึ้นของกองทุนการออมแห่งชาติ นอกจากจะเป็นผลดีกับคนไทยทุกคนที่จำเป็นต้องออมเงินไว้ใช้ในยามบั้นปลาย ชีวิต แม้เงินบำนาญที่จะได้รับของแต่ละคนอาจน้อยกว่ารายรับในยามที่สามารถทำงานได้ และในอนาคตข้างหน้าค่าครองชีพอาจจะสูงขึ้นกว่าปัจจุบัน เงินบำนาญที่ได้รับอาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ แต่ก็ยังดีกว่าการมีรายรับเพียงแค่เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 600 บาท ดังนั้นการเริ่มต้นออมเร็วกว่าย่อมได้เปรียบกว่า ท่ามกลางยุคสังคมคนชราที่วิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญขึ้น คนมีอายุยืนขึ้น ปริมาณของคนชราในอีกไม่ช้านี้ย่อมมากขึ้นตามไปด้วย นับเป็นหน้าที่ของทุกรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบกับประชากรในกลุ่มนี้ที่เคยมี ส่วนสร้างประเทศให้เจริญก้าวหน้ามาจนถึงวันนี้ คงต้องรอดูนโยบายของรัฐบาลทุกรัฐบาลหลังจากนี้ว่าจะมีการปรับเพิ่มหรือลด มาตรการช่วยเหลืออะไรลงไปบ้าง เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการเกิดขึ้นของ กอช.ถือเป็นภาระของรัฐบาลที่จะต้องหาเงินมาสมทบให้กับสมาชิกตามที่ตกลงกัน ไว้ หากรัฐบาลมีเงินไม่พอสิ่งที่จะตามมาในลำดับแรกอาจมีทั้งการยกเลิก เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่เคยจ่ายกันมา 600-1,000 บาทต่อเดือน หรือมีการจัดเก็บภาษีต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อให้รัฐสามารถมีรายได้เข้ามาบริหารจัดการให้ประเทศเดินหน้าต่อ ไปได้ |
||||
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...