ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ในที่สุดกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ก็สามารถเปิดรับสมัครสมาชิกคนแรกในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ หลังจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) พ.ศ.2554 ต้องล้มลุกคลุกคลาน จนกระทรวงการคลังเคยมีแนวคิดเสนอให้ยกเลิกกฎหมาย
กอช.ถูกจับแต่งตัวอีกครั้งในรัฐบาลชุดนี้และเริ่มฟอร์มทีมทำงาน ตั้งคณะกรรมการ กอช.ที่มีนายนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน รวมถึงมีการสรรหานายสมพร จิตเป็นธม เข้ามาเป็นเลขาธิการ กอช.คนแรกอย่างเป็นทางการ เพื่อมาทำตามวัตถุประสงค์ที่ตั้ง กอช.ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมการออมของคนไทยให้เก็บเงินไว้ใช้ในยามชรา โดย กอช.มีสถานะเป็นหน่วยงานรัฐ และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการ
เกณฑ์ 4 ข้อรับสมาชิก
ทันทีที่ข่าว กอช.แพร่ออกไปก็ได้รับความสนใจจากคนไทยไม่น้อย หลายคนกำเงินเตรียมพร้อมไปสมัครเป็นสมาชิก กอช.อย่างเต็มที่ แต่ช้าก่อน ....ใช่ว่าทุกคนจะเข้ามาเป็นสมาชิก กอช.ได้ เพราะตามกฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติ
ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช.ไว้ 4 ข้อ คือ 1.ต้องมีสัญชาติไทย 2.อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี แต่ในปีแรกที่เปิดรับสมัครสมาชิก จะเปิดโอกาสให้คนอายุ 50 ปีขึ้นไปมีสิทธิออมเงินกับกองทุน 10 ปี นับจากวันที่เป็นสมาชิกเพื่อรับบำนาญ หมายถึงคนอายุเกิน 60 ปี สามารถสมัครสมาชิกได้ในปีแรก 3.ไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายที่ได้รับเงินสบทบจากรัฐหรือนายจ้าง อาทิ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 4.ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชน อาทิ ข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ถ้าดูตามคุณสมบัติข้างต้น ผู้ที่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิก กอช.จะเป็นกลุ่มที่มีอาชีพอิสระ อาทิ เกษตรกร พ่อค้า แม่ค้า คนรับจ้างรายวัน คนขับแท็กซี่ แม่บ้าน ทนายความ นักบัญชี นักเรียน นิสิต นักศึกษา ส.ส. นักการเมืองท้องถิ่น โดยในปีแรกยังเปิดโอกาสให้ข้าราชการเกษียณและพนักงานเอกชนที่เกษียณแล้วสมัครเป็นสมาชิกได้อีกด้วย
แรงงานนอกระบบของไทยมีอยู่ประมาณ25 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 62% ของแรงงานไทย 39.3 ล้านคน ดังนั้นรัฐคาดว่าจะมีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคนในปี 2561 โดยในระยะแรกจะมีการโอนสมาชิกในระบบบประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3-5 กว่า 1 ล้านคน มาเป็นสมาชิก กอช. แต่หากสมาชิกประกันสังคมรายใดไม่อยากเข้ามาเป็นสมาชิก กอช. สามารถขอรับเงินก้อนคืนจากประกันสังคมได้
กอช.ช่วยรัฐดูแลคนชรา
กอช.จะเน้นในกลุ่มแรงงานนอกระบบเพราะพบว่าแรงงานในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยวางแผนการเงิน ดังนั้นรัฐหวังว่า กอช.จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือให้มีเงินไว้ใช้ยามเกษียณ นอกเหนือจากเบี้ยยังชีพคนชราที่รัฐจ่ายให้เดือนละ 600 บาท
ขณะนี้ไทยมีผู้สูงอายุกว่า 4 ล้านคน และครึ่งหนึ่งหรือราว 2 ล้านคน มีรายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง 400-3,300 บาทต่อเดือน และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ 87% พึ่งพิงรายได้จากบุตรหลาน โดยมี
ผู้สูงอายุเพียง 10% ที่พึ่งพิงรายได้จากเบี้ยยังชีพ เงินบำเหน็จบำนาญที่ได้จากการออมและการลงทุนเป็นหลัก
ผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า ผู้สูงอายุ 31% ไม่มีการเก็บออม และผู้สูงอายุ 42% มีปัญหารายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต ซึ่งทำให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลกลุ่มผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 รัฐบาลต้องใช้งบประมาณกว่า 5.6 หมื่นล้านบาทในการจ่ายเบี้ยยังชีพให้คนชรา และถ้าดูตัวเลขย้อนหลัง 5 ปี จะพบว่างบดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากปีละ 2.1 หมื่นล้านบาทในปี 2553 มาเป็นปีละ 3 หมื่นล้านบาท และ 5 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มว่ารัฐบาลต้องจัดสรรงบเพิ่มขึ้นในอนาคตเพื่อมาดูแลคนชรา เนื่องจากไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งคาดกันว่าในปี 2563 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 10.5 ล้านคน มีสัดส่วนถึงประมาณ 15% ของประชากรทั้งประเทศ
การันตีผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าฝาก 12 เดือน
นายสมพร จิตเป็นธม เลขาธิการ กอช. เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ จะเปิดตัว กอช.อย่างเป็นทางการที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มารับสมัครสมาชิกคนแรกของ กอช.ด้วยตัวเอง หลังจากนั้นประชาชนที่สนใจสามารถถือบัตรประชาชนเพียงใบเดียวเดินเข้าไปที่สาขาของธนาคาร 3 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย แจ้งที่หน้าเคาน์เตอร์ได้เลยว่ามาขอสมัครสมาชิก กอช. หากตรวจสอบแล้วไม่อยู่ในกองทุนสวัสดิการอื่นใดก็เป็นสมาชิก กอช.ได้ทันที จะได้บัตรสมาชิกเพื่อจ่ายเงินออมเข้ากองทุนที่สาขาธนาคารของทั้งสามแห่ง การจ่ายเงินไม่จำเป็นต้องจ่ายทุกเดือน สามารถจ่ายปีละ 1 ครั้ง ปีละ 3 ครั้งก็ได้ หรือจะเว้นไป 2 ปี กลับมาจ่ายใหม่ก็ได้ โดยมีข้อแม้ว่าปีใดไม่จ่าย รัฐจะไม่สบทบ
กอช.มีข้อกำหนดให้สมาชิกส่งเงินสะสมขั้นต่ำ 50 บาท แต่ไม่เกินเดือนละ 1,100 บาท หรือปีละ 13,200 บาท โดยรัฐจ่ายเงินสมทบตามสัดส่วนของเงินสะสมและตามช่วงอายุของสมาชิก อาทิ อายุ 15-30 ปี รัฐสมทบ 50% ของเงินสะสม แต่ไม่เกินปีละ 600 บาท อายุ 30-50 ปี รัฐสบทบ 80% ของเงินสะสม แต่ไม่เกินปีละ 960 บาท อายุ 50 ปีขึ้นไป รัฐสมทบ 100% ของเงินสะสม แต่ไม่เกินปีละ 1,200 บาท
ถ้าจ่ายเงินสะสมเดือนละ 1,000 บาท หรือปีละ 12,000 บาท รัฐสมทบให้ 1,200 บาท เท่ากับได้รับผลประโยชน์ 10% ดีกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร นอกจากนี้เงินของสมาชิกและของรัฐที่จ่ายเข้า กอช.จะมีการนำไปลงทุนเพื่อนำมาจ่ายผลตอบแทนให้สมาชิก โดยมีการค้ำประกันผลตอบแทนว่าจะได้รับไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน โดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ 5 แห่ง ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ซึ่งในการลงทุนนั้นจะมีอนุกรรมการที่มีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้แทนตลาดหลักทรัพย์ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่เป็นมืออาชีพเข้ามาบริหาร
ส่งครบ 60 ปีรับบำนาญตลอดชีวิต
นายสมพรกล่าวอีกว่า เมื่อสมาชิก กอช.ส่งเงินจนครบอายุ 60 ปี มีโอกาสได้รับบำนาญรายเดือนไปตลอดชีวิต แต่คนที่มีเงินในบัญชีน้อยกว่าบำนาญขั้นต่ำ 600 บาท กอช.จะช่วยจ่ายเป็นเงินดำรงชีพให้ 600 บาทต่อเดือน ไปจนกว่าเงินบัญชีจะหมดบัญชี หากเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี หรือเสียชีวิตก่อนเงินในบัญชีจะหมด กอช.จะคืนเงินให้ผู้ที่สมาชิกแจ้งชื่อไว้ หรือหากไม่แจ้งไว้ก็จะคืนให้ทายาท โดยจะได้รับทั้งเงินของสมาชิก เงินรัฐ และผลประโยชน์จากการลงทุน
หากสมาชิกทุพพลภาพ สามารถขอเงินคืนทั้งหมดหรือบางส่วน หากคงเงินบางส่วนไว้สามารถรับเป็นบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปีได้ นอกจากนี้สมาชิก กอช.สามารถลาออกจากกองทุนได้ทุกกรณี โดยจะได้รับเงินก้อนจากที่จ่ายเข้ามาบวกกับผลประโยชน์ในการลงทุน แต่จะไม่ได้เงินที่รัฐสมบท โดยมีข้อแนะนำว่าถ้าไม่จำเป็นไม่อยากให้ลาออก แม้จะไปทำงานที่มีกองทุนประกันสังคมหรือเป็นข้าราชการ สามารถคงเงินที่เคยจ่ายเข้า กอช.ไว้ได้ เช่น สมัครเป็นสมาชิก กอช.ตั้งแต่อายุ 15 ปี พอ 22 ปี รับราชการก็ยังคงเป็นสมาชิก กอช.ได้ สามารถจ่ายเงินได้เหมือนเดิม แต่รัฐไม่สบทบ หรือจะหยุดจ่ายก็ได้ เมื่ออายุ 40 ปี ลาออกจากราชการมาประกอบอาชีพอิสระ สามารถกลับมาจ่ายเงินเข้า กอช.อีกครั้ง และรัฐก็จะจ่ายเงินสบทบให้
จ่ายร้อยรับพัน/จ่ายสิบรับร้อย
ถ้าเริ่มออมเงินตั้งแต่อายุยังน้อยคืออายุ15 ปี จ่ายเข้ากองทุนเดือนละ 100 บาท หรือปีละ 1,200 บาท อายุครบ 60 ปี มีโอกาสรับบำนาญเดือนละ 1,056 บาท แต่ถ้าจ่ายเดือนละ 1,100 บาท หรือ 13,200 บาทต่อปี มีโอกาสที่จะได้รับบำนาญเดือนละ 7,385 บาท
ส่วนคนที่มีเงินน้อยสามารถจ่ายเพียงเดือนละ 50 บาท หรือปีละ 600 บาท แม้จะมีเงินสะสมไม่พอรับบำนาญตลอดชีวิต อาทิ อายุ 30 ปี จ่ายได้เดือนละ 50 บาท พออายุ 60 ปี คำนวณเงินที่จะได้รับเพียงเดือนละ 326 บาท กอช.จะควักเงินกองทุนมาจ่ายให้ในลักษณะเงินดำรงชีพเดือนละ 600 บาท จนกว่าเงินในบัญชีของสมาชิกจะหมด
หากต้องการบำนาญเดือนละ 600 บาทตลอดชีวิต ถ้าอายุ 15 ปี ต้องจ่ายเดือนละ 60 บาท หรือปีละ 720 บาท อายุ 30 ปี เดือนละ 130 บาท หรือปีละ 1,560 บาท และถ้าอายุ 50 ปี เดือนละ 750 บาท หรือปีละ 9,000 บาท โดยตัวเลขดังกล่าวเป็นแค่สมมุติฐาน เพราะต้องขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและภาวะดอกเบี้ยในปีนั้นๆ ด้วย
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กอช.จะมีการทบทวนในส่วนของบำนาญขั้นต่ำ 600 บาท อัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนของสมาชิก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ โดยในส่วนของเงินรัฐที่จะจ่ายสบทบนั้นจะทบทวนทุก 5 ปี ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตรัฐจะจ่ายสบทบให้เพิ่มขึ้น ซึ่งการจ่ายเงินเข้า กอช.ถือเป็นเงินสะสมของรัฐที่จะนำมาช่วยเหลือประชาชนโดยไม่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่ และเงินที่จ่ายมานั้นก็สามารถสร้างดอกผลจากการลงทุน ช่วยทำให้รัฐประหยัดงบประมาณในอนาคต
กอช.ถือเป็นอีกหนึ่งกองทุนสวัสดิการของรัฐที่เกิดขึ้นมา และเป็นทางเลือกให้ประชาชนออมเงินไว้ใช้ในยามชรา ขณะที่ประเทศเองจะไม่มีปัญหาเหมือนหลายประเทศที่ใช้นโยบายรัฐสวัสดิการ หรือต้องกลับไปใช้นโยบายประชานิยมอีก
17 ส.ค. 2558
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ที่มา : นสพ.มติชน
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...