ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า แลหลัง 6 ปี กับการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว ยุติได้จริงหรือ” เพื่อสร้างความตระหนัก กระตุ้น ปลูกจิตสำนึก และเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การทำงาน ร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรง ต่อเด็ก สตรี และครอบครัวนับเป็นปัญหาสำคัญทางสังคมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพเด็กและสตรี ส่งผลให้ครอบครัวต้องแบกรับภาระที่ยาวนาน ทั้งการดำเนินคดี การรักษาพยาบาล การบำบัดฟื้นฟู ทั้งผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ รวมถึงสมาชิกในครอบครัว ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเป็นอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ลดลง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 12พฤศจิกายน 2550 เป็นเวลา6ปี ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นกลไกและเครื่องมือในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในครอบครัวเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้น โดยการคุ้มครองเยียวยาผู้ถูกกระทำ และผู้กระทำเข้าสู่กระบวนการของกฎหมายที่กำหนดไว้ และกำหนดให้ทุกภาคส่วนประสานพลังกัน ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน ร่วมกันแก้ไขปัญหา
แต่สถานการณ์ความรุนแรงในปัจจุบันยังไม่ลดน้อย กลับมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยติดอันดับ 2ใน 75ประเทศ ที่เชื่อว่าความรุนแรงต่อภรรยาเป็นสิ่งที่รับได้ ข้อมูลจากผลการวิจัยของกองทุนสหประชาชาติเพื่อยุติความรุนแรงต่อสตรี (UN Women) ปัจจัยหนึ่งเกิดจากทัศนคติดั้งเดิม กฎหมายคลุมเครือไม่ชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และผู้ถูกกระทำขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด กอปรกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตำรวจ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้เกี่ยวข้อง ยังขาดความรู้ความเข้าใจแนวทางปฏิบัติต่างๆ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ไม่ชัดเจน จึงนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความรุนแรงไม่ได้อย่างจริงจัง
นางปวีณา กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากวันที่ 25พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี” กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกันจัดโครงการสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า แลหลัง 6 ปี กับการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว ยุติได้จริงหรือ”
เพื่อทบทวนสภาวการณ์ความรุนแรง กฎหมายที่เกี่ยวข้องและระดมความคิด หาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม สร้างความตระหนัก ปลูกจิตสำนึก ร่วมรณรงค์รวมพลังเป็นเครือข่าย ร่วมใจต่อต้านและขจัดภัยความรุนแรงทุกรูปแบบให้ลดน้อยลง เพื่อป้องกันคุ้มครองสตรีและครอบครัวปราศจากการกระทำความรุนแรง และส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็ง สังคมสงบสุข เกิดการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ทั้งช่วยลดภาระของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอีกด้วย
ฐานเศรษฐกิจ 18 พฤศจิกายน 2013
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...