ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เพื่อให้คนไทยรู้จักและเข้าใจกฎหมายใหม่ 6 หมวด 36 มาตรานี้ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงจัดงานสัมมนาเรื่อง "พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 : นโยบาย การขับเคลื่อน และการปฏิบัติ" ที่ห้องศาลาไทย โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ
นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรม สค. กล่าวว่า คนไทยยังถูกเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศจากทัศนคติ ความเชื่อของคนไทยด้วยกันเอง แม้ในรัฐธรรมนูญจะรับรองสถานภาพทางเพศไว้ก็ตาม ทำให้ต้องประสบปัญหา เช่น ถูกเลือกปฏิบัติจากการรับเข้าทำงาน การเข้าถึงตำแหน่ง ในระบบการศึกษา ระบบการสาธารณสุข กระบวนการยุติธรรม ฉะนั้น กฎหมายฉบับนี้จึงต้องการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยตรง คุ้มครองทุกเพศ
"การเลือกปฏิบัติทางเพศจะมีตั้งแต่การประกาศรับสมัครงาน เช่น รับสมัครตำแหน่งเลขานุการเฉพาะเพศหญิงเท่านั้น แม้จะมีเหตุผลที่ดีแต่ถือว่าหมิ่นเหม่ผิดกฎหมาย หรือการเลื่อนขึ้นตำแหน่งที่ผู้ชายขึ้นเพราะความเป็นเพศชาย ทั้งที่ผู้หญิงมีความสามารถและเหมาะสม ถือว่าทำผิดกฎหมายชัดเจน"
นายสมชาย กล่าวว่า ฉะนั้น หากรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ ก็ให้มาร้องเรียน เราจะมี คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมทางเพศ หรือ วลพ. ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญแต่ละด้าน มีความเป็นธรรม ผ่านการคัดเลือกและแต่งตั้งมา และเหนือขึ้นมายังมี คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือ สทพ. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมความเท่าเทียมในทุกระดับ
"กฎหมายฉบับนี้ยังไปไม่ถึงการสมรสของคนเพศเดียวกัน การเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ คู่รักเพศเดียวกันขออุ้มบุญ ซึ่งก็ไม่อยากให้นำกฎหมายนี้ไปตีความเกินขอบเขต มิฉะนั้นอาจจะยุ่งและบังคับใช้ไม่ได้" นายสมชายกล่าว
นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง ผอ.กลุ่มกฎหมาย กรม สค. กล่าวว่า คิดว่าต้องใช้เวลา 1-2 เดือน หรืออย่างช้าปลายปีนี้ กฎหมายดังกล่าวถึงจะบังคับใช้สมบูรณ์ โดยเฉพาะการเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการ วลพ.ที่จะมีบทบาทสำคัญ เพราะทำหน้าที่คล้ายตุลาการ คอยพิสูจน์พยานหลักฐานเรื่องร้องเรียนที่เข้ามา ดูข้อกฎหมาย และคำวินิจฉัยถือเป็นที่สิ้นสุด
อย่างเมื่อวินิจฉัย แล้วว่าเป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรม วลพ.สามารถประสานหน่วยงานหรือองค์กรต้นทางให้ระงับและป้องกันไม่ให้เกิด ปัญหา หากหน่วยงานหรือองค์กรนั้นไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งยังสามารถกำหนดมาตรการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์ในระหว่าง การพิจารณา และสามารถสั่งให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจงหรือส่งสิ่งของเข้ามาประกอบการพิจารณา หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
น.ส.นัยนา สุภาพึ่ง ผอ.มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร กล่าวว่า ไม่เพียงกลุ่มผู้หญิง กลุ่มคนหลากหลายทางเพศก็ได้รับผลกระทบความไม่เสมอภาคระหว่างเพศเช่นกัน คณะกรรมการ วลพ.-สทพ.ซึ่งมีบทบาทสำคัญต้องมองมายาคตินี้ให้ได้ ต้องมองว่าปัญหาจากนี้คือการเรียนรู้ ปัญหาคือครู เพื่อไม่ให้การแก้ปัญหาเป็นเรื่องยากและมีความเป็นธรรม
"ไทยไม่เคยมี กฎหมายชัดเจนอย่างนี้มาก่อน ที่ผ่านมาอาจเขียนในรัฐธรรมนูญบ้างแต่เป็นเพียงเจตนารมณ์ ที่ไม่มีรายละเอียด ขณะที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นหลักประกันความคุ้มครอง แต่จะเกิดขึ้นจริงขึ้นอยู่กับทางปฏิบัติด้วย ที่จะต้องทำให้เกิดความเคารพ ความเสมอภาคเท่าเทียมกันจริงๆ" น.ส.นัยนากล่าวทิ้งท้าย
ช่องทางร้องเรียน
พ.ร.บ. ความเสมอภาคระหว่างเพศ พ.ศ.2558 นิยามความหมายว่า "การกระทำหรือไม่กระทำใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด"
หากผู้ใดรู้สึกว่า กำลังถูกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ สามารถร้องเรียนได้ที่ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ณ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี เขตพญาไท กรุงเทพฯ ทั้งมาร้องเรียนโดยตรง ส่งจดหมาย ส่งหนังสือ หรือไปที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทั่วประเทศ หรือไปที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว 8 แห่งในประเทศ เช่น ลำพูน เชียงราย สงขลา ศรีสะเกษ และในอนาคตจะเปิดรับทางเว็บไซต์ สค. www.owf.go.th โดยให้ผู้ที่ได้รับปฏิบัติไม่เป็นธรรมทางเพศส่งเอกสารหลักฐาน พร้อมแจ้งความประสงค์ให้ช่วยเหลือเรื่องใดเข้ามา
ซึ่งหากได้รับการ วินิจฉัยแล้วว่าถูกเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ สามารถยื่นคำขอสิทธิชดเชยเยียวยาจากกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เพื่อรับความช่วยเหลือ เช่น ค่าขาดประโยชน์ระหว่างไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ค่าสูญเสียโอกาส ค่าที่เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาล
09 กันยายน พ.ศ. 2558 มติชนรายวัน
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...