ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
องค์กรนิรโทษกรรมสากล ระบุชัด ภาคธุรกิจก่อสร้างในกาตาร์ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการก่อสร้างสนามฟุตบอล และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ เวิลด์ คัพ 2022
เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2556 องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ เรียกร้องให้สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า ตรวจสอบการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในกาตาร์ หลังพบว่าแรงงานต่างชาติที่ทำงานก่อสร้างเพื่อเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอล โลก 2022 ในกาตาร์นั้นถูกใช้งานอย่างกดขี่ และไม่ได้รับที่พักอาศัยที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการไม่ชำระค่าแรงตามกำหนดเวลา
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า องค์การนิรโทษกรรมสากลได้เผยแพร่รายงานฉบับหนึ่งเมื่อวันจันทร์ 18 พ.ย. 2556วิพากษ์วิจารณ์การเอารัดเอาเปรียบแรงงานก่อสร้างอย่างน่า “หวั่นวิตก” ในกาตาร์ โดยเรียกร้องให้ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกรายนี้ใช้โอกาสในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลเวิลด์คัพ 2022 แสดงออกถึงความเคารพในสิทธิมนุษยชน
ในรายงานฉบับนี้ องค์การนี้ยังได้เรียกร้องสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟา) ออกมากดดันกาตาร์ให้ปรับปรุงสภาพการใช้แรงงานต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชีย
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกาตาร์ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า ตนปล่อยให้แรงงานก่อสร้างสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ต้องทำงานในสภาพไม่ต่างจากทาส ทั้งๆ ที่กาตาร์เป็นประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อประชากรแต่ละคนสูงที่สุดในโลก
“ข้อมูลของเราชี้ว่า กาตาร์ได้ใช้แรงงานในภาคก่อสร้างอย่างเอารัดเอาเปรียบ ในระดับที่น่าหวั่นวิตก” ซาลีล เช็ตตี เลขาธิการขององค์การนิรโทษกรรมสากลเผย อีกทั้งระบุว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการทารุณกรรม “ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง” และ “ไม่ได้เป็นเฉพาะกรณี”
“ฟีฟามีหน้าที่ที่จะต้องออกมาประกาศด้วยความหนักแน่นว่า จะไม่ยอมปล่อยให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในโครงการก่อสร้างที่เกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลโลก”
ทั้งนี้ ภายหลังเข้าพบพระประมุข และนายกรัฐมนตรีของกาตาร์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ณ กรุงโดฮา เซปป์ แบลตเตอร์ ประธานฟีฟา แถลงว่า ปัญหาในเรื่องสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสมนั้นได้รับการแก้ไขแล้ว
ซาลีล เช็ตตี เลขาธิการขององค์การนิรโทษกรรมสากล กล่าวว่า องค์การนิรโทษกรรมสากลได้หารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางการกาตาร์ ผู้ “ยอมรับอย่างเปิดเผยว่าเกิดปัญหานี้ขึ้นจริง และจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อหาวิธีแก้ปัญหานี้”
ภายหลังที่กาตาร์เริ่มแผนการ เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022 โดยทุ่มงบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์ ประเทศนี้ก็ถูกจับตามอง ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีแรงงานอพยพจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาในรัฐอาหรับเล็กๆ ที่ร่ำรวยด้วยก๊าซธรรมชาติแห่งนี้
เช็ตตีกล่าวว่า ความสนใจนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสพิเศษให้กาตาร์ได้แสดงให้โลกเห็นว่า ตนเป็นชาติที่เคารพในสิทธิมนุษยชน และเป็นโอกาสที่จะได้ทำตัวเป็นแบบอย่างให้ชาติอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน
ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องสภาพการทำงานอันเลวร้าย ที่แรงงานอพยพต้องเผชิญนั้นยังคงเป็นปัญหาหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคอ่าวอาหรับซึ่งร่ำรวยน้ำมันและก๊าซ
รายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากลที่มีชื่อว่า “ด้านมืดของการอพยพ: ภาคก่อสร้างของกาตาร์ ก่อนจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก” ฉบับนี้ได้นำเสนอข้อมูลเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย
ตัวอย่างของปัญหาเหล่านี้ มีดังเช่น “การไม่จ่ายค่าแรง สภาพการทำงานที่อันตราย และถูกบีบบังคับด้วยท่าทีก้าวร้าว ตลอดจนมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำจนน่าหวั่นวิตก”
นอกจากนี้ องค์การเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงลอนดอนแห่งนี้ เผยอีกว่ามี แรงงานข้ามชาติหลายสิบคนถูกกักตัวอยู่ในกาตาร์ สืบเนื่องมาจากกาตาร์ได้ตั้งเงื่อนไขว่า ชาวต่างชาติจะต้องได้รับใบอนุญาตให้ออกจากประเทศก่อนจึงจะสามารถไปได้”
องค์การนิรโทษกรรมสากลระบุว่า แรงงานที่ถูกนายหน้า หรือผู้รับรองยึดหนังสือเดินทางเอาไว้ จะถูกนายจ้างบังคับให้เซ็นรับรองเอกสารต่างๆ ซึ่งระบุข้อความที่เป็นเท็จว่าพวกเขาได้รับค่าแรงแล้ว ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกาตาร์
ระบบซึ่งกำหนดว่า บรรดาลูกจ้างต้องได้รับการรับรองจากบุคคล หรือจากบริษัทในกาตาร์ที่รับพวกเขาเข้าทำงาน นั้นทำให้แรงงานอพยพเหล่านี้ต้องตกเป็นลูกไก่ในกำมือของบรรดานายหน้าผู้ให้การรับรอง
เช็ตตีกล่าวว่า คณะทำงานของเขาในกรุงโดฮา ได้พบ “กลุ่มแรงงาน 70 คน” ซึ่งประกอบด้วยชาวเนปาล ศรีลังกา และชาติอื่นๆ ซึ่งเล่าให้ฟังว่า “พวกเขาไม่ได้รับค่าแรงมา 9 ถึง 10 เดือนแล้ว”
เขาประณามว่า “การที่หนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดของโลกใช้แรงงานอย่างเอารัดเอาเปรียบ โกงค่าแรง และปล่อยให้แรงงานอพยพจำนวนมากต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ โดยไร้ความปรานีเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้จริงๆ”
นอกจากนี้ องค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวว่า พวกเขาได้รับรายงานว่า แรงงานจำนวนมากมีสุขภาพอ่อนแอ และต้องทำงานในสภาพความปลอดภัยที่ต่ำกว่าระดับมาตรฐาน
องค์การนี้ระบุว่า ตัวแทนของโรงพยาบาลโดฮา ที่ไม่ขอเปิดเผยนามคนหนึ่งเผยว่า “ในปี 2012 มีผู้คน (ที่เป็นแรงงาน) มากกว่า 1,000 คนถูกส่งไปห้องฉุกเฉิน (หลังจาก) พลัดตกลงมาขณะทำงานบนที่สูง” โดยราว 10 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานเหล่านี้ต้องกลายเป็นผู้พิการ อีกทั้ง “อัตราการตาย (ของแรงงาน) ทะยานสูงขึ้น ‘อย่างเห็นได้ชัด’”
ทางด้าน หนังสือพิมพ์การ์เดียน ได้เผยแพร่รายงานประจำเดือนกันยายนฉบับหนึ่งซึ่งระบุว่า มีแรงงานชาวเนปาลซึ่งทำงานที่กาตาร์เสียชีวิตไป 44 รายในปีนี้ แต่องค์การนิรโทษกรรมสากลไม่ได้ยืนยันยอดผู้เสียชีวิต
องค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวหาว่า แรงงานบางส่วนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบนั้น ทำงานให้กับบริษัทลูกช่วงที่รับจ้างบริษัทใหญ่ระดับโลกอีกทอดหนึ่ง
รายงานฉบับดังกล่าวระบุกรณีหนึ่ง ซึ่งคนงานก่อสร้างของบริษัท “ขนส่งอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโครงการก่อสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ของฟีฟ่า ขึ้นที่กาตาร์ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022 นั้นได้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง” โดยพวกเขาต้องทำงานอย่างต่ำวันละ 12 ชั่วโมง และไม่มีวันหยุด
“หากไม่มีการใช้มาตรการที่เด็ดขาดจริงจัง และกว้างขวางเพื่อจัดการกับปัญหานี้โดยทันที แรงงานอพยพเป็นแสนๆ คนที่ถูกรับเข้ามาทำงานเพื่อสร้างความเจริญให้กับกาตาร์ในปีต่อมาๆ ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการถูกลิดรอนสิทธิ” เช็ตตีกล่าวเตือน
ทั้งนี้ กาตาร์เป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้อพยพต่อพลเมืองในประเทศสูงที่สุดในโลก คือประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศเป็นแรงงานต่างชาติ ฟรองซัวส์ เกรโป ผู้เขียนรายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ด้านการเฝ้าระวังปัญหาสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติกล่าว
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ click : http://www.amnesty.org/en/library/asset/MDE22/010/2013/en/ca15040d-290e-4292-8616-d7f845beed7e/mde220102013en.pdf
สรุปจากข่าวสด , กรุงเทพธุรกิจ , ผู้จัดการ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2556
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...