ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

มติ ก.ศป.ให้ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ปธ.ศาลปกครองสูงสุด ออกจากราชการ กรณีมีส่วนรู้เห็นเลขาธิการสนง. ศาลปกครอง หนุนขอตำแหน่งให้ตำรวจ แต่ยังมีสิทธิในการยื่นฟ้องเพิกถอนคำสั่ง ภายใน 90 วัน กรณียกยอดฉัตร ต่อคิวรอ

24 ก.ย. 2558 สำนักข่าวไทย รายงานว่า เมื่อเวลา 22.24 น. เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 58 สำนักงานศาลปกครอง ได้แจกเอกสาร ผลการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง หรือ  ก.ศป.  โดยเอกสารระบุว่า ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ 18  ก.พ. 2558 ได้พิจารณาเรื่อง รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับ เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองและประธานศาลปกครองสูงสุด  กรณีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ 

 

โดยที่ประชุม เสียงข้างมากเห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฝ่ายข้างมาก เป็นกรณีมีมูลที่อาจเข้าข่ายตามที่กำหนดในข้อ  3 (1) แห่งระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครอง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุ ให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 และถึงขั้นที่จะให้ตุลาการศาลปกครองผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งและให้ดำเนิน การตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ประกอบข้อ 5 วรรคสอง และข้อ 6 วรรคหนึ่ง (4) แห่งระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544  โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อดำเนินการสอบสวนกรณีดังกล่าว ซึ่ง ก.ศป. ได้มีคำสั่ง ก.ศป. ลับ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีดังกล่าว

 

ก.ศป. ในการประชุมวันที่ 23 ก.ย.  ได้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่ง ก.ศป. ลับ กรณีนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ถูกกล่าวหาว่า มีกรณีตามข้อ 3  ของระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุ ให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544  แล้ว มีมติว่า

 

“แม้ไม่ปรากฏชัดว่า นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล  ได้มีการมอบหมายให้นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง มีหนังสือสองฉบับแจ้งความประสงค์ของนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ว่าจะสนับสนุน พ.ต.ท.ชูธเรศ ยิ่งยงดำรงกุล รอง ผกก.ป.สน.หัวหมาก ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้กำกับการต่อรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้ บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามลำดับ

 

แต่พยานหลักฐานก็รับฟังได้ว่า นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล  มีส่วนรู้เห็นเป็นใจและรับทราบในกรณีที่นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม กระทำการดังกล่าว อันเป็นการกระทำผิดวินัย ฐานไม่รักษาชื่อเสียงของตน และไม่รักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ซึ่งถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่สมควร ตามข้อ 5 และข้อ 11 วรรคหนึ่ง ของประกาศ ก.ศป. เรื่อง วินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครอง”

 

ในเอกสารระบุ จึงมีมติโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 22  วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542  ประกอบกับข้อ 20  ของประกาศ ก.ศป. เรื่อง วินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครอง และข้อ 24  วรรคหนึ่ง (2) ของระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุ ให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 ให้นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ออกจากราชการ   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ก.ศป. มีมติ

 

โดยสำนักข่าวไทยรายงานด้วยว่า ในการประชุมพิจารณาวาระดังกล่าว ที่ประชุม ก.ศป.ได้ใช้เวลาการพิจารณา นานกว่า 4 ชั่วโมงครึ่ง  ก่อนมีมติเอกฉันท์  7 ต่อ 0 ว่า นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด มีความผิดตามข้อกล่าวหา โดยเห็นว่า นายหัสวุฒิมีความผิดตามข้อ 11 ประกาศ ก.ศป. เรื่องวินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครอง ที่ระบุว่า ตุลาการศาลปกครองต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง หน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว และที่ประชุม ก.ศป.ได้มีมติเอกฉันท์  6 ต่อ 0 เสียง ให้นายหัสวุฒิออกจากราชการ และพ้นจากตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดไปด้วย แต่ยังคงมีบำเน็จบำนาญอยู่ อย่างไรก็ดี นายหัสวุฒิ ยังคงมีสิทธิในการยื่นฟ้องเพิกถอนคำสั่งให้ออกจากราชการได้ต่อศาลปกครอง ภายใน 90 วัน นับจากมีคำสั่งเป็นทางการ

 

สำนักข่าวอิศรา รายงาน เพิ่มเติมด้วยว่า นอกจากคดีนี้แล้ว นายหัสวุฒิ ยังอยู่ระหว่างถูกสอบสวนวินัย กรณีความไม่โปร่งใสในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเป็นประธานพิธีอัญเชิญ ยอดฉัตรทองคำลูกแก้วมงคลนิมิต ประดิษฐานบนพระธาตุเจ้าจอมล้านนา วัดพิพัฒน์มงคล ต.ทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ในช่วงเวลาเดียวกับการไปปฏิบัติราชการ ที่ จ.พิษณุโลก ซึ่งอยู่ห่างกันไม่ต่ำกว่า 60 กิโลเมตร โดยก.ศป.ได้มีมติแต่งตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุดขึ้นเป็นเป็น กรรมการประกอบด้วย นายชาญชัย แสวงศักดิ์ นายวิษณุ วรัญญู นายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์ นายไพบูลย์ เสียงก้อง และรอตัวแทนจากคณะกรรมการ ก.พ.ส่งมาอีก 1 คน



24/Sep/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา