ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
โดยได้ระบุเหตุผลของการตราพระราชบัญญัตินี้ว่า
โดยที่ปัจจุบันมีคดีแพ่งที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของสังคม เป็นส่วนรวม เช่น คดีสิ่งแวดล้อม คดีคุ้มครองผู้บริโภค เข้าสู่การพิจารณาของศาลเป็นจํานวนมาก ซึ่งคดีเหล่านี้เป็นคดีที่มีความยุ่งยากซับซ้อน
สมควรกําหนดให้สามารถโอนคดีเหล่านี้ไปยังศาลแพ่งเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี
โดยกําหนดให้ศาลแพ่งที่รับคดีไว้มีอํานาจดําเนินกระบวนพิจารณานอกเขตศาลได้ เพื่อให้องค์คณะผู้พิพากษาสามารถออกไปสืบพยานที่อยู่นอกเขตอํานาจด้วยตนเองได้
และกําหนดให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มีอำนาจออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการดําเนินกระบวนพิจารณาในคดีแพ่ง อันจะช่วยให้การพิจารณาพิพากษาคดีเกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้สมควรแก้ไขเพิ่มเติมการเก็บรักษาข้อมูลคดีของศาลโดยการจัดเก็บในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการส่งคําคู่ความและเอกสาร ระหว่างศาลกับคู่ความ หรือระหว่างคู่ความด้วยกัน
และกําหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งหมายเรียกและคําฟ้องตั้งต้นคดี ไปยังจําเลยหรือบุคคลภายนอกที่อยู่นอกราชอาณาจักรเพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วประหยัด เวลาและค่าใช้จ่าย
จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ ที่นี่
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...