ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กฎหมายประกันสังคม มาตรา 40 ฉบับใหม่ ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ค่าทำศพ-ชราภาพ

ปลัด รง.เผยกฎหมายประกันสังคมมาตรา 40 ฉบับใหม่ ปรับปรุงเงื่อนไขจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีค่าทำศพ หากประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตจ่ายเงินสมทบ 1 เดือน ในรอบ 6 เดือน ได้ค่าทำศพ 2 หมื่นบาท กรณีได้เงินบำนาญชราภาพแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิให้ได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินชราภาพรายเดือนที่ได้รับก่อนเสียชีวิต

 

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงแรงงานได้ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 ไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ โดยกฎหมายดังกล่าวนอกจากให้การเปิดรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ซึ่งให้สิทธิประโยชน์เฉพาะชราภาพแล้วยังได้ ปรับปรุงเงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 1-3 ในกรณีการได้รับสิทธิประโยชน์กรณีค่าทำศพและเงินชราภาพโดยกำหนดให้กรณีผู้ ประกันตนเสียชีวิตให้จ่ายเงินประโยชน์ทดแทนค่าทำศพ 2 หมื่นบาทต่อเมื่อภายในเวลา 12 เดือน ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่จะเสียชีวิต เว้นแต่ผู้ประกันตนเสียชีวิต เพราะอุบัติเหตุให้จ่ายเงินค่าทำศพต่อเมื่อภายในเวลา 6 เดือน ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนเสียชีวิต

      

นอกจากนี้ กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับก่อนถึงความตายให้แก่สามี ภรรยา บิดา มารดา หรือบุตรของผู้รับเงินบำนาญชราภาพในจำนวนที่เท่ากัน และกรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพไม่มีทายาท หรือญาติ ก็ให้ทำหนังสือระบุผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ

      

“สปส.ได้รับจัดสรรงบจาก รัฐบาลในปี 2557 เป็นเงินอุดหนุนให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 กว่า 723 ล้านบาท และงบดำเนินงานกว่า 180 ล้านบาท และเตรียมการรองรับกฎหมายข้างต้นโดยแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง สปส.จะประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ และขอความร่วมมือกระทรวงมหาดไทย (มท.) ให้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดสั่งให้หน่วยงานภายในจังหวัดช่วย รณรงค์ทั่วทุกพื้นที่ในการรับสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 ทั้ง 3 ทางเลือกเพิ่มเติมและรับรู้ถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ” นายจีรศักดิ์ กล่าว

อ่านกฎกระทรวงฉบับเต็มทั้งฉบับได้ที่นี่
http://www.thanaiphorn.com/content.php?type=4&id=11

 

ผู้จัดการ 18 พฤศจิกายน 2556



19/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา