ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 27 ต.ค.2558 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติ กองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 โดยมีพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มีเนื้อหา 43 มาตรา
โดยมีหมายเหตุระบุไว้ด้วยว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กองทุนยุติธรรมตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2553 มีงบประมาณที่จํากัด ประกอบกับไม่มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานทำให้กองทุนไม่สามารถช่วยเหลือ ประชาชนในการดําเนินคดี และให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม ทําให้เกิดความเหลื่อมล้ําของประชาชน ดังนั้น สมควรกําหนดให้กองทุนมีฐานะเป็นนิติบุคคล เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสําหรับช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สำหรับสาระสำคัญบางมาตรา มีดังนี้
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 5 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เรียกว่า “กองทุนยุติธรรม” มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสําหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับ การช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
มาตรา 9 เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้
(1) การช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี
(2) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย
(3) การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
(4) การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(5) การดําเนินงานกองทุนหรือการบริหารกองทุน และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับ การจัดกิจการของกองทุน
มาตรา 13 ให้มีคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้แทนสํานักงบประมาณ ผู้แทนสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ผู้แทนสํานักงาน ศาลยุติธรรม ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสภาทนายความ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก ผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จํานวนหกคน เป็นกรรมการ ให้รองปลัดกระทรวงยุติธรรมซึ่งได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็น กรรมการ และเลขานุการ และให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสํานักงานกองทุนยุติธรรม จํานวนสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ในหมวด 3 การขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน
มาตรา 26 บุคคลอาจขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนในการดําเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราว การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจน การสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคําขอ แบบคําขอ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา 27 การช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี ประกอบด้วยค่าจ้างทนายความ ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดําเนินคดี หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา 28 การพิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี และการให้ความช่วยเหลือ ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ หรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจําจังหวัดต้องคํานึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) พฤติกรรมและข้อเท็จจริงของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
(2) ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
(3) โอกาสที่ผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนจะได้รับการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหาย ตามกฎหมายอื่น
มาตรา 29 การพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย ให้คํานึงถึงว่าหากได้รับการปล่อยชั่วคราวแลว้ ผู้ต้องหาหรือจําเลยจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุภยันตรายประการใดหรือไม่
มาตรา 30 การขอปล่อยชั่วคราวให้แก่ผู้ต้องหาหรือจําเลย กองทุนอาจมอบอํานาจให้แก่ พนักงานของกองทุนหรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ยื่นคําร้องขอ ปล่อยชั่วคราวและเป็นผู้ลงนาม ในสัญญาประกันก็ได้
มาตรา 43 บรรดาระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่ออกตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2553 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้ บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
อ่านรายละเอียดทั้ง 43 มาตรา ได้ที่นี่
รูปจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...