ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ซีพีเอฟ ย้ำจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย เป็นธรรม ตามหลักสิทธิมนุษยชน

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตอกย้ำนโยบายจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายตามมาตรฐานสากล มีความเป็นธรรมและมีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย โดยเฉพาะการจ้างแรงงานกัมพูชากว่า 3,400 คน เพื่อทำงานในโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ที่สระบุรีและนครราชสีมา ตามบันทึกข้อตกลงการนำเข้าแรงงานระหว่างประเทศไทยกับประเทศภาคี

 

 

นายสุชาติ สิทธิชัย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ ในฐานะผู้บริหารโรงงานแปรรูปเนื้อไก่นครราชสีมา กล่าวว่า บริษัทฯตระหนักดีถึงความสำคัญของแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะแรงงานจากประเทศกัมพูชาและประเทศเมียนมา ในการช่วยสนับสนุนการผลิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ดังนั้นบริษัทจึงกำหนดเป็นโยบายการจ้างแรงงานต่างด้าวด้วยความเท่าเทียม เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ได้มาตรฐานสากล ตามหลักสิทธิมนุษยชน และต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์

 


ปัจจุบันโรงงานแปรรูปเนื้อไก่นครราชสีมา มีการจ้างแรงงานกัมพูชาจำนวน 2,300 คน ซึ่งทุกคนเป็นการจ้างตรงโดยบริษัทฯ โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลไทย ในการคัดเลือกบริษัทตัวแทนด้านแรงงานที่ได้ใบรับรองจากรัฐบาลในกัมพูชาและ ตรวจสอบมาตรฐานโดยกระทรวงแรงงานไทย เพื่อรวบรวมแรงงานสมัครใจส่งมอบให้กับ ซีพีเอฟ


 
ในการนี้ซีพีเอฟ ได้ให้การต้อนรับ ฯพณฯ อีท โซเฟีย เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย ในโอกาสที่เดินทางไปเยี่ยมชมการทำงานของแรงงานชาวกัมพูชาที่โรงงานแปรรูป เนื้อไก่นครราชสีมา เพื่อรับฟังแนวนโยบายของบริษัทในเรื่องแรงงานต่างด้าว และให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สวัสดิการและมาตรฐานการปฏิบัติต่อแรงงานชาวกัมพูชาอย่างเท่าเทียมกันกับแรง งานไทย เป็นธรรมและไม่มีการเลือกปฏิบัติ


 
นายสุชาติ กล่าวว่า แรงงานชาวกัมพูชาที่ได้รับการเลือกจะได้รับการปฏิบัติอย่างดี ตั้งแต่ตัวแทนด้านแรงงานกัมพูชาส่งมอบแรงงานให้กับบริษัทที่ชายแดน ด่านคลองลึก ตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว ทั้งอาหารและพาหนะ รวมถึงการนำไปทำใบอนุญาตทำงาน ตรวจร่างกาย ฯลฯ ซีพีเอฟเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามนโยบายจ้างตรงของบริษัท

 

หลังจากนั้นแรงงานชาวกัมพูชาจะได้รับความรู้และการฝึกฝนทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เป็นเวลา 5 วัน ก่อนเข้าทำงานจริงในสายการผลิต รวมถึงการจัดหอพักและรถรับ-ส่งฟรี ระหว่างที่พักกับโรงงานให้เพื่ออำนวยความสะดวก
 


นอกจากนี้ แรงงานชาวกัมพูชายังได้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแรงงานไทยเท่าเทียมกับแรงงานไทย เช่น ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาท ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าในวันทำงานปกติ และ 2 เท่าในวันหยุด (วันหยุดนักขัตฤกษ์ 16วัน/ปี) ลาป่วย 30 วัน ลากิจ 7 วัน และลาพักผ่อนไม่น้อยกว่า 6 วันต่อปี มีประกันสังคม และค่ารักษาพยาบาล
 

ซีพีเอฟ ยังได้คำนึงถึงความเป็นอยู่ของแรงงานชาวกัมพูชาในเรื่องของภาษาด้วย โดยจัดตั้งศูนย์ประสานงานกัมพูชา-ไทย ซึ่งมีล่ามภาษากัมพูชาประจำศูนย์ เพื่อช่วยการสื่อสารทั้งในโรงงานและกรณีฉุกเฉิน นายสุชาติ กล่าว


 
“แรงงานชาวกัมพูชาที่ทำงานกับเราสามารถส่งเงินกลับไปให้ญาติที่บ้านอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเดือนละประมาณ 8,000 บาท และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งหลายคนมากที่มาจากหมู่บ้านเดียวกัน” นายสุชาติ กล่าว
 


นายสุชาติ กล่าวว่า บริษัทฯให้ความสำคัญในการปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวตามหลักสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกับแรงงานไทย ซึ่งล่าสุดบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001-2553) ระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุด ตอกย้ำแนวทางการดูแลแรงงานของซีพีเอฟมุ่งสร้างความเท่าเทียม เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และได้มาตรฐานสากล เพื่อยกระดับมาตรฐานแรงงานทุกคนในสถานประกอบการ

 

มติชน 30 ตุลาคม 2558



31/Oct/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา