ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เพียงไม่กี่วันมีคนใน "เครือข่ายระบอบทักษิณ" ถูกไล่ล่าด้วย "กองพลนกหวีด" จนหูแทบแตกไปแล้วหลายราย ได้แก่
13 พ.ย. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
14 พ.ย. นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข
16 พ.ย. สมหญิง บัวบุตร ส.ส. อำนาจเจริญเขต 1 พรรคเพื่อไทย
17 พ.ย. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)
18 พ.ย. นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี
ซึ่งจากความมาแรงแห่ง "พลังนกหวีด" นี้เอง ทำให้ล่าสุด 18 พ.ย. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอลั่น จะยกเอาประมวลกฎหมายอาญาเข้ามาจัดการ คือ มาตรา 370 ฐานส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควร และมาตรา 397 ฐานรังแกหรือข่มเหงต่อหน้าธารกำนัลให้ได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อย่างไรก็ตามนักกฎหมายชี้ว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 นี้ เน้นคุ้มครองไปที่ "ประชาชนส่วนใหญ่" คนที่ถูกเป่าไล่ล้วนเป็นข้าราชการ ไม่ใช่ประชาชน จึงไม่อยู่ในข่ายของมาตรานี้
ในขณะที่มาตรา 397 นั้น ก็ต้องดูประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ประกอบด้วย ที่ระบุว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ โดยเจตนา กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น "การเป่านกหวีด" มีเจตนาทำให้นักการเมืองมี "จิตสำนึกทางการเมือง" หรือ ประท้วงในการกระทำความผิดของนักการเมืองย่อม ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ เพราะขาดเจตนา ข่มเหง รังแก ขาดเจตนาทำให้อับอาย เดือดร้อนรำคาญ
TNEWS 18 พฤศจิกายน 2556
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...