ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

5 พฤศจิกายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558

โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัย มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน และส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม และในปัจจุบันนี้มีผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยเป็นจํานวน มากแต่มีมาตรฐานในการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกันสมควรกําหนดมาตรฐานของธุรกิจ รักษาความปลอดภัยและมาตรฐานของพนักงานรักษาความปลอดภัยเพื่อเป็นการยกระดับ มาตรฐานธุรกิจรักษาความปลอดภัยและเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานรักษาความ ปลอดภัยอันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการและช่วยเสริมสร้างความสงบเรียบร้อย ของสังคมจึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

1.ให้มีคณะกรรมการกํากับธุรกิจรักษาความปลอดภัย ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการยุติธรรม ผู้บัญชาการศูนย์รักษา ความปลอดภัย และผู้อํานวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนหกคน ในจํานวนนี้จะต้องเป็น ผู้แทนจากองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยไม่น้อยกว่าสองในสาม ให้ผู้บัญชาการตํารวจนครบาลเป็นกรรมการและเลขานุการ และข้าราชการตํารวจยศพันตํารวจตรีขึ้นไป ในกองบัญชาการตํารวจนครบาลซึ่งผู้บัญชาการตํารวจนครบาลแต่งตั้งจํานวนไม่ เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

 

2.ผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต้องเป็นบริษัท และได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยจากนายทะเบียน (มาตรา 16)

 

3. บริษัทรักษาความปลอดภัยต้องใช้คํานําหน้าชื่อว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย” และคําว่า “จํากัด” หรือ “จํากัด (มหาชน)” ต่อท้าย แล้วแต่กรณี (มาตรา 20)

 

4. การให้บริการรักษาความปลอดภัยต้องทําสัญญาเป็นหนังสือระหว่างบริษัท รักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ (มาตรา 25)

 

5. ให้บริษัทรักษาความปลอดภัยจัดทําบัญชีรายชื่อพนักงานรักษาความปลอดภัย รับอนุญาต ยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย (มาตรา 30)

 

6. ผู้ใดประสงค์จะทําหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตจากนายทะเบียน (มาตรา 33)

 

7. ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตต้องมีคุณสมบัติ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ สําเร็จการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ ได้รับหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย จากสถานฝึกอบรมที่นายทะเบียนกลางรับรองตามวรรคสอง

 

ลักษณะต้องห้าม เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษหรือเป็นโรคติดต่อที่คณะ กรรมการ กําหนด เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือน ไร้ความสามารถ เป็นผู้เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกสําหรับความผิด เกี่ยวกับชีวิต และร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หรือความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน หรือความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิด ที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต และมิใช่ความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตมาแล้ว ยังไม่ถึงสองปีนับถึงวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย รับอนุญาต (มาตรา 34)

 

8. บริษัทรักษาความปลอดภัยจะกําหนดเครื่องแบบของพนักงานรักษาความปลอดภัย รับอนุญาตให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องแบบของทหาร ตํารวจ หรือเครื่องแบบของเจ้าพนักงาน ซึ่งกฎหมายให้มีอํานาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามที่นาย ทะเบียนกลาง ประกาศกําหนดมิได้ (มาตรา 40)

9.ผู้ใดทําหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา63)

 

สำหรับอัตราใบอนุญาต

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยฉบับละ 50,000 บาท

ใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตฉบับละ 1,000 บาท

ใบแทนในอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยฉบับละ 3,000 บาท

ใบแทนใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตฉบับละ 100 บาท

การต่อใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียม สำหรับในอนุญาตแต่ละฉบับ



อ่านรายละเอียดพระราชบัญญัติได้ที่นี่

 

รูปและเนื้อหาบางส่วนจากสำนักข่าวอิศรา

 



06/Nov/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา